แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การปฏิรูประบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : กรณีศึกษา ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

dc.contributor.authorวิลาวัณย์ เสนารัตน์th_TH
dc.contributor.authorWilawan Senaraten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:57Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:43:36Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:57Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:43:36Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1043en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1342en_US
dc.description.abstractสุขภาพในแนวคิดใหม่เน้นความเป็นองค์รวมของกาย จิต สังคม จิตวิญญาณ และระบบ สุขภาพคือสิ่งทั้งมวลที่มีผลต่อสุขภาพรวมทั้งพฤติกรรม วิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ระบบการบริการสุขภาพและรูปแบบการให้บริการสุขภาพจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและมีหลากหลายระดับ แต่ระดับที่เป็นด่านแรกที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุดคือระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิซึ่งเป็นระบบที่มุ่งให้บริการเชิงรุก การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพลังอำนาจให้แก่บุคคล รวมทั้งชุมชนให้สามารถรับผิดชอบและดูแลสุขภาพของตนเอง การบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเป็นระบบบริการขั้นพื้นฐานของระบบริการสุขภาพ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประชาชนกับระบบบริการสุขภาพ เป็นบริการสุขภาพที่จำเป็นและประชาชนสามารถเข้าถึงง่าย เป็นบริการที่จัดให้ประชาชนในทุกภาวะของสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่องตั้งแต่การมีสุขภาวะที่ดี ภาวะเสี่ยง ภาวะเจ็บป่วยและระยะสุดท้ายของชีวิต เป็นบริการแบบผสมผสานครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งการส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรับบริการที่เหมาะสม โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของประชาชนและครอบครัวในการดูแลตนเอง การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชน ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิตามสถานการณ์และบริบทของสังคมในภาคเหนือ รูปแบบของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ใช้โครงสร้างเดิมของสถานีอนามัยที่มีอยู่ในชุมชนในการดำเนินงาน โดยมีทีมสุขภาพจากโรงพยาบาลหางดงซึ่งเป็นหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิมาเสริมศักยภาพเป็นครั้งคราว ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในด้านบริการที่ทำให้เกิดความสะดวกต่อผู้รับบริการมากขึ้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต้องมีกระบวนการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ มากกว่าการซ่อมสุขภาพ ความเข้าใจในมิติทางสังคม เข้าใจความต้องการ ความคาดหวัง ความรู้สึกของประชาชนที่มาใช้บริการได้ดี เครื่องมือที่พัฒนาสำหรับช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือการศึกษาชุมชน การจัดทำแฟ้มครอบครัวเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้บริการ นอกจากนี้การสร้างความเข้าใจในกลุ่มผู้ใช้บริการ องค์กรท้องถิ่นต่างๆ ถึงการมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นบทบาทของบุคลากรพยาบาลจะต้องมีความสามารถในการจัดการประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์ให้เข้ากับสภาพความต้องการที่แท้จริงสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรมของประชาชนได้ สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันและกันได้ดี ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการร่วมดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม สามารถพึ่งตนเองและพึ่งระบบบริการได้อย่างมีดุลยภาพ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเพื่อประสานบริการ และส่งต่อไปรับบริการที่หน่วยอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในการให้บริการโดยตรงในทุกเรื่อง แต่ต้องสามารถจัดการกับสภาพปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของประชาชนได้ดี เงื่อนไขที่สำคัญที่จะทำให้หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมีประสิทธิภาพและให้บริการที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานนั้น มีดังนี้ โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิจะต้องให้การสนับสนุนและมีวิสัยทัศน์ในแนวคิดของการส่งเสริมสุขภาพและมีการสนับสนุนด้านบุคลากรให้เพียงพอ โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ ควรจะต้องพัฒนารูปแบบและวิธีการนิเทศติดตาม รวมทั้งมีระบบพี่เลี้ยงเพื่อการควบคุมคุณภาพบริการและสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีกระบวนการสร้างแนวความคิดและปรับกระบวนทัศน์ของผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของชุมชน เปิดโอกาสให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการหรือเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในทุกระดับของบริการ ตั้งแต่โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ และระดับปฐมภูมิ คือสถานีอนามัย มีการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการให้มีแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพแทนการซ่อมสุขภาพ ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาและเสริมศักยภาพในการทำงานร่วมกับชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะต้องเข้ามามีส่วนในการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับบริการที่จะเกิดขึ้น ทั้งด้านงบประมาณ เวชภัณฑ์และการจัดสรรบุคลากรทางสุขภาพในท้องถิ่น มีกระบวนการสร้างความเข้าใจและปรับแนวคิดของประชาชนด้านสุขภาพ การดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิข้อเสนอแนะ สถานการณ์การจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทสังคมภาคเหนือ ยังมีความไม่แน่นอนในการจัดรูปแบบโครงสร้างด้านกำลังคน การบริหารจัดการงบประมาณและการนิเทศติดตามเพื่อการควบคุมคุณภาพบริการ รูปแบบที่เกิดขึ้นในการศึกษาครั้งนี้ยังไม่มีความคงที่ แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทั้งระดับเครือข่ายและหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ รวมทั้งประชาชนในชุมชนมีความสำคัญมาก เพื่อสร้างความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาพ การมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านต่างๆ ยังมีน้อย เนื่องจากพื้นฐานความเข้าใจว่างานด้านสุขภาพจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านสุขภาพเท่านั้น รวมทั้งการเน้นถึงการพัฒนาโครงสร้างทางสังคม เช่น การสร้างถนน การจัดหาสิ่งสาธารณูปโภคยังเป็นประเด็นหลักในการทำงานของ อบต. ดังนั้น การเสริมสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการ อบต. และพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการดูแลตนเองด้านสุขภาพเป็นแนวทางที่ควรจะมีการพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อการเตรียมรับรูปแบบการบริหารที่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิจะต้องมีการวางแผนการนิเทศติดตามงาน โดยมีการกำหนดบุคคลที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ในระยะที่ผ่านมาพบว่าการขาดแคลนกำลังคนเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินงานไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านกำลังคน ควรจะได้พิจารณาในประเด็นนี้ด้วยเพื่อการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1302645 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Services Researchen_US
dc.subjectHeatlh Serviceen_US
dc.subjectChiang Maien_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพ -- วิจัย -- เชียงใหม่en_US
dc.subjectบริการสุขภาพ, การวิจัยen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการปฏิรูประบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : กรณีศึกษา ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of a Primary Care Model: A Case Study of Khun Khong Health Center, Hang-Dong District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.description.abstractalternativeThis participatory action research aimed to study and develop a primary health care service model based on the social and cultural context of the northern part of Thailand, roles of professional nurses and health teams as well as conditions that reflect the health outcome of people. This study was conducted in the area that is the responsibility of the Khun Khong health center, Hang-dong District, Chiang Mai Province. Data were collected from health care providers and clients, who were health personnel, community leaders, and villagers, by observation, interview and focus group discussion. Data were used to develop a primary health care service model. Data analysis was made by summarsing the developmental process and lessons learned. Results: It was found that the primary health care unit lacked support in term of human resources and health personnel lacked experience in providing proactive holistic health care services and primary medical care. Participation from villagers and the local community committee was limited. In terms of management, financial support from the primary health care contractor was delayed. From the findings, with cooperation from health personnel, community leaders and research team, a plan was developed to enhance the ability of health personnel and community leaders to be more understanding and confident of providing proactive holistic health services. The developmental process was done by reflecting on data and needs, training, learning from best practice communities and creating understanding among villagers in the communities. As a result, health personnel had more understanding and had more ability to provide care for the villagers. However, the guidelines and management of primary health care from the province health office was unstable therefore, the proactive health care services at the health center level was not well supported, which resulted in ineffective services.Regarding the roles of the health team in the primary health care unit, it was found that nurses had a major role in providing care because of the number of other health professionals was still limited even though all professions are needed at primary health care units. Therefore, nurses are the major professionals in providing holistic health care services.The results from the study suggested that for enabling primary health care service to be more effective, there was a need for clear policies for the development of health personnel in health promotion services by focusing on participation from the community, planning, implemention and continuing supervision by the primary health care contractor. Personnel development should have various activities such as training, reflecting and conducting forums, and learning from best practice communities.en_US
dc.identifier.callnoW84.6 ว719กต 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค061(2)en_US
dc.subject.keywordPrimary Health Careen_US
dc.subject.keywordHealth Care Systemen_US
dc.subject.keywordบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิen_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพen_US
.custom.citationวิลาวัณย์ เสนารัตน์ and Wilawan Senarat. "การปฏิรูประบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : กรณีศึกษา ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1342">http://hdl.handle.net/11228/1342</a>.
.custom.total_download288
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1043.pdf
ขนาด: 1.382Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย