Show simple item record

[Health Status and Its Trend of the Aged]

dc.contributor.authorเยาวรัตน์ ปรปักษ์ขามth_TH
dc.contributor.authorYawarat Porapakkhamen_US
dc.contributor.authorสุพัตรา อติโพธิth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:05Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:47:06Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:05Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:47:06Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0718en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1363en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสภาวะสุขภาพและแนวโน้มประชากรสูงอายุไทยและแสดงภาพลักษณ์ของประชากรสูงอายุในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อประกอบการเสนอแนะระบบสวัสดิการและบริการที่เหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว วีธีการศึกษาส่วนแรกเป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องครอบคลุมการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในมิติสถานะสุขภาพ และการสังเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญถึงภาพลักษณ์ของประชากรสูงอายุไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ส่วนใหญ่จะอยู่ช่วง 60-70 ปี หลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วทั้งสองเพศและเหลือน้อยที่สุดในกลุ่มอายุสูงสุด การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรสูงอายุในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า พบว่าด้านสถานภาพสมรส มากกว่าร้อยละ 90 เคยสมรสมาแล้ว ร้อยละ 2 ที่ยังโสด โดยผู้หญิงครองความเป็นโสดมากกว่าชาย ด้านการศึกษาปัจจุบันมีผู้สูงอายุร้อยละ 30 ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นหญิงมากกว่าชาย ในอนาคตมีแนวโน้มมีระดับการศึกษาสูงขึ้น ด้านจำนวนบุตรจะลดลงเพื่อเพิ่มคุณภาพบุตรให้มากขึ้น ด้านการย้ายถิ่นในผู้สูงอายุจะมีน้อยกว่าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เป้าหมายหลักของการพัฒนาสุขภาพประชากรคือ การมีชีวิตยืนยาว แม้จะมีโรคเรื้อรังหรือพิการก็ควรมีชีวิตอย่างอิสระและเสียชีวิตเมื่ออายุคาดเฉลี่ย (ประมาณ 85 ปี) ภาวะสุขภาพของประชากรสูงอายุประกอบไปด้วย การประเมินสุขภาพตนเอง การเกิดโรคเฉียบพลันและอุบัตเหตุ โรคเรื้อรัง สภาพจิตผิดปกติ การตาย ผู้สูงอายุเกิน 75 ปี ที่เสียชีวิตด้วยภาวะชราภาพ อายุคาดหวังทางสุขภาพของประชากรสูงอายุ อายุคาดหวังที่ยังดูแลตนเอง (ALE) จะสูงกว่าอายุคาดหวังที่ปราศจากภาวะทุพพลภาพระยะยาว (LDFLE)พฤติกรรมสุขภาพ ในเรื่องอาหารและโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมคือวันละ 3 มื้อและได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และให้มีอาหารหลากหลายประมาณ 30 ชนิดต่อวัน การพักผ่อน ผู้สูงอายุจะต้องการพักผ่อนมากขึ้น โดยจะนอนหลับ 5-8 ชั่วโมง การออกกำลังกาย ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันร้อยละ 40.3 ในชนบทออกกำลังกายมากกว่าในเมือง หรือมีกิจกรรมเดินเล่นเป็นประจำ 8) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่อยู่อาศัยจะเป็นสถานที่ที่ผู้สุงอายุดำเนินชีวิตเป็นส่วนใหญ่ แบบของบ้านจะไม่แตกต่างกันมากระหว่างกลุ่มคนที่มีอายุหรือเพศต่างกัน แต่มีความแตกต่างกันระหว่างเมืองและชนบทคือผู้สูงอายุในชนบทส่วนใหญ่อยู่ในเพิงพักชั่วคราว กระท่อมและบ้านไทยยกพื้น ในเมืองมักอาศัยในบ้านตึกแถว9) สภาพแวดล้อมทางสังคม ผู้สูงอายุร้อยละ 98 อาศัยอยู่กับครอบครัว ร้อยละ 71 อยู่บ้านเดียวกับบุตร ร้อยละ 4 อยู่ลำพังคนเดียวที่เหลืออยู่กับคู่สมรสหรือญาติพี่น้องอื่นๆ การเยี่ยมเยียนจากบุตร/หลาน/พี่น้องหรือญาติที่แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกันมีสัดส่วนสูง เกี่ยวกับนโยบายและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุเห็นว่า บริการด้านสังคมและสุขภาพที่รัฐจัดสรรให้ที่ผ่านมายังไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานและไม่ครอบคลุมกลุ่มอายุในพื้นที่ต่างๆอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.format.extent8321087 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Statusen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆth_TH
dc.titleสภาวะสุขภาพและแนวโน้มของประชากรผู้สูงอายุth_TH
dc.title.alternative[Health Status and Its Trend of the Aged]en_US
dc.identifier.callnoWB141.1 ย546ร 2543en_US
dc.subject.keywordสภาวะสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordสุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subject.keywordผู้สูงอายุth_TH
dc.subject.keywordพฤติกรรมสุขภาพth_TH
.custom.citationเยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, Yawarat Porapakkham and สุพัตรา อติโพธิ. "สภาวะสุขภาพและแนวโน้มของประชากรผู้สูงอายุ." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1363">http://hdl.handle.net/11228/1363</a>.
.custom.total_download1681
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs0718.PDF
Size: 8.251Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record