dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.contributor.author | Viroj Tangchroensathien | en_US |
dc.contributor.author | จงกล เลิศเธียรดำรง | en_US |
dc.contributor.author | ชลลดา สิทธิฑูรย์ | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:08Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:47:21Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:08Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:47:21Z | |
dc.date.issued | 2541 | en_US |
dc.identifier.other | hs0352 | en_EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1371 | en_US |
dc.description.abstract | ระเบียบพัสดุฯ และปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลระดับ จังหวัด ปี 2539 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 กำหนดให้สถานพยาบาลภาครัฐซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ที่องค์การเภสัชกรรมผลิต (โรงงาน เภสัชกรรมทหาร สำหรับส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม) ผลิตหรือมีจำหน่าย ถ้าราคาที่จำหน่ายนั้นสูงกว่าราคากลางไม่เกินร้อยละ 3 ต่อมาสภาอุตสาหกรรมและสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันเสนอผ่านคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน ให้มีการแก้ไขระเบียบพัสดุดังกล่าวข้อ 61 และ 62 เป็น "ให้สถานพยาบาลภาครัฐสามารถซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมหรือผู้ประกอบการภาค เอกชนที่ได้ GMP ได้" การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถ้ามีการแก้ไขระเบียบดังกล่าวตามที่ได้มีผู้เสนอ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดซื้อยาใน รพ.รัฐโดยใช้ รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวอย่างในการศึกษา การศึกษาใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นสัดส่วนตามจำนวน รพ. แต่ละระดับ การศึกษาใช้แบบสอบถามที่ไม่ระบุชื่อส่งไปยังรพ. เป้าหมายโดยถามข้อมูลการจัดซื้อยาในปี 2539 อัตราการตอบกลับโดยเฉลี่ยทุกกลุ่มโรงพยาบาลคือ ร้อยละ 67 ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่ามูลค่าการซื้อยารวมรพ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2539 มีมูลค่าประมาณ 5,710 ล้านบาท โดยที่รพ.ขนาดเล็กอาศัยเงินงบประมาณในการจัดซื้อยาเป็นสัดส่วนที่สูงคือ ร้อยละ 87 ในรพช.10 เตียง และลดลงเรื่อยๆ จนเป็นร้อยละ 37 ในรพศ. สัดส่วนของยาที่จัดซื้ออยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นร้อยละ 80 ในรพช. 10 เตียง สัดส่วนนี้ค่อยๆ ลดลงจนเป็นร้อยละ 43 ในรพศ. ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อยาของรพช. และรพศ./รพท. มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือพบว่า 3ปัจจัยแรกที่ได้รับคะแนนความสำคัญสูงสุดในการซื้อยาที่องค์การเภสัช กรรมผลิต คือ ปัจจัยเรื่องระเบียบพัสดุ, คุณภาพยา และราคา ในขณะที่ 3 ปัจจัยที่สำคัญสูงสุดสำหรับการซื้อยาที่เอกชนผลิตและนำเข้าคือ คุณภาพยา บริการและราคายา ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพยา รพ.ให้ความเห็นว่าข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพยาที่สำคัญ คือ ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ, ใบรับรองมาตรฐานการผลิต (Good Manufacturing Practice - GMP), ข้อมูลความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตและจำหน่าย, ข้อมูลการรักษาทางคลินิคโดยที่รพ.จะขอข้อมูลแตกต่างกันบ้างจากผู้ผลิต 3 แหล่ง (องค์การเภสัชกรรม, ผู้ผลิตภายในประเทศ และบริษัทนำเข้ายา) โรงพยาบาลขอข้อมูลคุณภาพยาจากองค์การเภสัชกรรมน้อยที่สุด และขอข้อมูลจากผู้ผลิตยาภายในประเทศมากที่สุดรพ.มีความเห็นว่าข้อมูลคุณภาพที่ได้รับจากบริษัทนำเข้ามามีปริมาณข้อมูลมากที่สุด และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในผู้ผลิตยา 3 แหล่ง ในขณะที่ข้อมูลคุณภาพจากผู้ผลิตยาภายในประเทศแม้จะมีปริมาณเป็นอันดับสอง แต่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุดรพ.ส่วนใหญ่ส่งตัวอย่างยาของผู้ผลิตยาภายในประเทศตรวจวิเคราะห์คุณภาพที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในขณะที่ส่งตัวอย่างยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตและยานำเข้าน้อยกว่า แต่พบว่ารายการที่ส่งตรวจวิเคราะห์นั้นน้อยกว่าร้อยละ 5 ของรายการยาที่สั่งซื้อในปี 2539เหตุผลในการไม่ส่งยาตรวจวิเคราะห์คุณภาพกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สำคัญ คือ ข้อจำกัดของกรมวิทย์ฯในการให้บริการตรวจวิเคราะห์, ความเชื่อมั่นในยาที่ทำการจัดซื้อและความเชื่อมั่นในการรับรองมาตรฐานการผลิต (GMP), ลักษณะบางอย่างของยาที่ทำให้ไม่ส่งตรวจวิเคราะห์ เช่น ยาที่ใช้บ่อย ยาที่ไม่เคยมีปัญหาในการใช้ และเหตุผลว่าส่งตรวจไปก็ไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจซื้อยา จึงไม่ส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพยาเหตุผลของการส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากับกรมวิทย์ฯ ที่สำคัญ คือ สงสัยในผลการใช้ยา, ยามีลักษณะบางอย่าง เช่น ลักษณะภายนอกไม่เรียบร้อย ยาที่ไม่คุ้นเคยและเป็นการส่งตามระเบียบ นโยบายการสุ่มตรวจคุณภาพยาของจังหวัด สำหรับความเชื่อมั่นในคุณภาพยา 3 กลุ่ม ได้แก่ ยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิต, ยาที่ผู้ผลิต ยาภายในประเทศ และยานำเข้า พบว่า รพ.ส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพยานำเข้าสูงสุด รองลงมา คือ ยาขององค์การเภสัชกรรม และยาผู้ผลิตภายในประเทศความเห็นต่อการผ่อนคลายระเบียบพัสดุข้อ 61 และ 62 พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เห็นด้วยกับการแก้ไขระเบียบ โดยมีเหตุผลที่สำคัญคือองค์การเภสัชกรรมมีปัญหาในการบริหารงานและราคายา ค่อนข้างสูงกว่าเอกชน การค้าเสรีจะทำให้ได้ยาดี ในราคาถูก และจะทำให้การบริหารจัดการทางด้านด้านการเงินและเวชภัณฑ์ของรพ.ทำได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้ความเห็นสำคัญว่า การควบคุมกำกับให้ยาของภาคเอกชนมีมาตรฐานที่ดีทำได้ยาก และการผ่อนคลายระเบียบไม่ได้หมายความว่าจะได้ยาดี ราคาถูกลง นอกจากนี้รพ.มีข้อเสนอว่าควรมีมาตรการควบคุมให้ยามีคุณภาพดีและองค์การเภสัชกรรมควรมีการปรับปรุงการบริหาร ควรมีการปรับราคากลางให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 433254 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Organization and Administration--Pharmacy Administration | en_US |
dc.subject | Drug Utilization | en_US |
dc.subject | Medication Systems, Hospital | en_US |
dc.subject | ระบบเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริหารเภสัชกิจ | th_TH |
dc.title | ระเบียบพัสดุฯ และปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลระดับ จังหวัด ปี 2539 | en_US |
dc.title.alternative | Purchase Regulation and Decision Making Factors of Drug Buying in Public and Provincial Hospitals, 1996 | en_US |
dc.identifier.callno | QV55 ว237ร 2541 | en_US |
dc.subject.keyword | การจัดซื้อยา | en_US |
dc.subject.keyword | ระเบียบพัสดุ | en_US |
dc.subject.keyword | คุณภาพยา | en_US |
dc.subject.keyword | ยา, การประเมินคุณภาพ | en_US |
.custom.citation | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, Viroj Tangchroensathien, จงกล เลิศเธียรดำรง and ชลลดา สิทธิฑูรย์. "ระเบียบพัสดุฯ และปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลระดับ จังหวัด ปี 2539." 2541. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1371">http://hdl.handle.net/11228/1371</a>. | |
.custom.total_download | 213 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |