• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์; Samrit Srithamrongsawats;
วันที่: 2543
บทคัดย่อ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศในเอเชียประเทศแรกที่สามารถให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชนได้อย่างทั่วหน้า และมีวิวัฒนาการมากว่า 70 ปี ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นก่อนระบบประกันสังคม ทั้งนี้ในระยะแรกของการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยเริ่มจากการจัดบริการด้านสุขภาพให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานก่อนแล้วจึงมีกฏหมายประกันสุขภาพขึ้น ซึ่งในช่วงแรกก็จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุต-สาหกรรม ในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองระบบประกันสุขภาพได้มีการขยายตัวมากขึ้นสืบเนื่องจากรัฐบาลตระหนักว่าภาคการผลิตเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนยุทโธปกรณ์และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับกองทัพ ภายหลังสงครามยุติลงระบบประกันสังคมจึงกำเนิดขึ้นด้วยเหตุที่หลังภาวะสงครามประเทศจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูและประชาชนประสบกับปัญหาความทุกข์ยาก การพัฒนาระบบประกันสุขภาพและระบบประกันสังคมของญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยสรุปแรงผลักดันในการปฏิรูประบบสุขภาพของญี่ปุ่นในระยะแรกจึงเป็นปัจจัยด้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มแรงงาน ปัจจัยด้านการเมือง ส่วนในช่วงที่มีการขยายตัวของระบบประกันสุขภาพมากคือปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ส่วนในระยะหลังคือปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและภาระค่าใช้จ่ายของระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลไกสำคัญของการปฏิรูปคือการออกกฎหมาย ระบบบริการต่างๆของญี่ปุ่นนั้นถูกกำหนดด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือระบบบริการสุขภาพ ทั้งนี้มาตรการที่ใช้มีทั้งการปรับโครงสร้างของระบบประกัน ระบบบริการ และมาตรการในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ กล่าวโดยสรุปญี่ปุ่นสามารถให้หลักประกันกับประชาชนทุกคน โดยประชาชนมีส่วนร่วมจ่ายร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่าย มีปัญหาด้านการขาดการเกื้อหนุนและการกระจายความเสี่ยงระหว่างระบบประกันต่างๆและรัฐต้องเข้ารับดำเนินการสำหรับกลุ่มที่ยากในการเข้าถึงและมีความเสี่ยงสูงภาระในการสนับสนุนสูง มีปัญหาด้านการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข ขาดประสิทธิภาพอันสืบเนื่องจากวิธีการจ่ายเงิน ความซ้ำซ้อนของบริการ การแข่งขันกันระหว่างสถานพยาบาล การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้จัดบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับมาตรการในการควบคุมรายจ่ายด้านสุขภาพ มีการควบคุมราคายา การควบคุมจำนวนเตียงในแต่ละพื้นที่ และการเพิ่มส่วนร่วมจ่ายกับประชาชน เป็นหลัก ส่วนมาตรการควบคุมพฤติกรรมของสถานพยาบาลมีน้อย ความสำเร็จของการปรับโครงสร้างและการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของญี่ปุ่นข้อมูลที่มีอยู่จนถึงปี 1997 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุแสดงชัดเจนว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นความพยายามรักษาความเป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจของโลกก็ยังคงเป็นมูลเหตุหลักหนึ่งในความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปนอกจากปัญหาภายในของระบบเอง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0739.pdf
ขนาด: 530.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 27
ปีพุทธศักราชนี้: 8
รวมทั้งหมด: 915
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2191]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [529]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [87]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [274]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [91]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [129]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1101]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [207]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [19]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV