แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorSamrit Srithamrongsawatsen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:11Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:44:23Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:11Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:44:23Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0739en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1381en_US
dc.description.abstractประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศในเอเชียประเทศแรกที่สามารถให้หลักประกันสุขภาพกับประชาชนได้อย่างทั่วหน้า และมีวิวัฒนาการมากว่า 70 ปี ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นก่อนระบบประกันสังคม ทั้งนี้ในระยะแรกของการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก โดยเริ่มจากการจัดบริการด้านสุขภาพให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานในโรงงานก่อนแล้วจึงมีกฏหมายประกันสุขภาพขึ้น ซึ่งในช่วงแรกก็จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุต-สาหกรรม ในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองระบบประกันสุขภาพได้มีการขยายตัวมากขึ้นสืบเนื่องจากรัฐบาลตระหนักว่าภาคการผลิตเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนยุทโธปกรณ์และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับกองทัพ ภายหลังสงครามยุติลงระบบประกันสังคมจึงกำเนิดขึ้นด้วยเหตุที่หลังภาวะสงครามประเทศจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูและประชาชนประสบกับปัญหาความทุกข์ยาก การพัฒนาระบบประกันสุขภาพและระบบประกันสังคมของญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยสรุปแรงผลักดันในการปฏิรูประบบสุขภาพของญี่ปุ่นในระยะแรกจึงเป็นปัจจัยด้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มแรงงาน ปัจจัยด้านการเมือง ส่วนในช่วงที่มีการขยายตัวของระบบประกันสุขภาพมากคือปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ส่วนในระยะหลังคือปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและภาระค่าใช้จ่ายของระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลไกสำคัญของการปฏิรูปคือการออกกฎหมาย ระบบบริการต่างๆของญี่ปุ่นนั้นถูกกำหนดด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือระบบบริการสุขภาพ ทั้งนี้มาตรการที่ใช้มีทั้งการปรับโครงสร้างของระบบประกัน ระบบบริการ และมาตรการในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ กล่าวโดยสรุปญี่ปุ่นสามารถให้หลักประกันกับประชาชนทุกคน โดยประชาชนมีส่วนร่วมจ่ายร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่าย มีปัญหาด้านการขาดการเกื้อหนุนและการกระจายความเสี่ยงระหว่างระบบประกันต่างๆและรัฐต้องเข้ารับดำเนินการสำหรับกลุ่มที่ยากในการเข้าถึงและมีความเสี่ยงสูงภาระในการสนับสนุนสูง มีปัญหาด้านการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข ขาดประสิทธิภาพอันสืบเนื่องจากวิธีการจ่ายเงิน ความซ้ำซ้อนของบริการ การแข่งขันกันระหว่างสถานพยาบาล การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้จัดบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับมาตรการในการควบคุมรายจ่ายด้านสุขภาพ มีการควบคุมราคายา การควบคุมจำนวนเตียงในแต่ละพื้นที่ และการเพิ่มส่วนร่วมจ่ายกับประชาชน เป็นหลัก ส่วนมาตรการควบคุมพฤติกรรมของสถานพยาบาลมีน้อย ความสำเร็จของการปรับโครงสร้างและการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของญี่ปุ่นข้อมูลที่มีอยู่จนถึงปี 1997 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุแสดงชัดเจนว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นความพยายามรักษาความเป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจของโลกก็ยังคงเป็นมูลเหตุหลักหนึ่งในความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปนอกจากปัญหาภายในของระบบเองen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Systems Reform--Japanen_US
dc.subjectHealth Care Reform--Japanen_US
dc.subjectการปฎิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectญี่ปุ่นen_US
dc.titleการปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่นen_US
dc.title.alternativeHealth care reform in Japanen_US
dc.identifier.callnoWA540.JJ3 ส616ก 2543en_US
dc.subject.keywordการปฏิรูประบบสาธารณสุขen_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพen_US
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ and Samrit Srithamrongsawats. "การปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1381">http://hdl.handle.net/11228/1381</a>.
.custom.total_download1002
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year55
.custom.downloaded_fiscal_year8

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0739.pdf
ขนาด: 530.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย