Show simple item record

การศึกษาแหล่งทุนและการกำหนดยุทธศาสตร์งานวิจัยสุขภาพสำหรับประเทศไทย

dc.contributor.authorพินทุสร เหมพิสุทธิ์en_US
dc.contributor.authorบุษราวรรณ ศรีวรรธนะen_US
dc.contributor.authorงามจิตต์ จันทรสาธิตen_US
dc.contributor.authorภสิณี ฟูตระกูลen_US
dc.contributor.authorสุริสา รีเจริญen_US
dc.contributor.authorอรพินท์ มุกดาดิลกen_US
dc.contributor.authorสุวรรณี อัศวกุลชัยen_US
dc.contributor.authorกัญจนา ติษยาธิคมen_US
dc.contributor.authorเพ็ญศรี ตรามีคุณen_US
dc.contributor.authorจารุณี จันทร์เพชรen_US
dc.contributor.authorหทัยรัตน์ คงสืบen_US
dc.contributor.authorสายชล สู่สุขen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:23Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:03Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:23Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:03Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.otherhs1356en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1413en_US
dc.description.abstractงานวิจัยถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการที่จะช่วยแสวงหาหนทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสภาวะการณ์ที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง สำหรับประเทศไทย มีข้อจำกัดในการส่งเสริมการวิจัยในด้านต่างๆ ทั้งปริมาณและงบประมาณ รวมไปถึงขาดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ความสอดคล้องและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาในครั้งนี้เป็นความพยายามที่จะเข้าใจบทบาทขององค์กรต่างๆ ที่มีบทบาทสนับสนุนทุนวิจัยสุขภาพ เพื่อให้เห็นภาพของระบบการจัดสรรทรัพยากรวิจัยสุขภาพในภาพรวม และศึกษาความเป็นไปได้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรเหล่านี้ในการพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยสุขภาพของประเทศไทยต่อไป โดยหน่วยงานที่ศึกษาประกอบด้วย คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ซึ่งคณะทำงานศึกษาฯ ได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้มีบทบาทในการตัดสินใจอนุมัติงบประมาณวิจัยสุขภาพ และทบทวนเอกสารบัญชีรายจ่ายเพื่อสนับสนุนงานวิจัยสุขภาพย้อนหลัง อย่างน้อย 5 ปีหรือย้อนหลังมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และบันทึกในแบบบันทึกข้อมูลที่คณะทำงานฯ กำหนดผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รูปแบบการตัดสินใจ และการวิเคราะห์งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยด้านสุขภาพขององค์กรที่ศึกษาข้างต้นในฐานะแหล่งให้ทุนเพื่อการศึกษาวิจัยสุขภาพ ซึ่งบางแหล่งทุนมีฐานะทั้งเป็นหน่วยงานทำวิจัยเอง และทำหน้าที่เป็นตัวกลางบริหารจัดการทุนให้เกิดงานวิจัยอีกต่อหนึ่ง รูปแบบการตัดสินใจขององค์กรที่ศึกษา มี 4 รูปแบบได้แก่ (1) องค์กรให้อิสระให้นักวิจัยเสนอหัวข้อ ได้โดยไม่ได้กำหนดกรอบล่วงหน้า และนำโครงการที่เสนอมาพิจารณาจัดสรรทุน (2) องค์กรกำหนดกลุ่มประเด็นสำคัญหรือกรอบโครงการกว้างๆ ที่จะให้การสนับสนุน แล้วประกาศให้นักวิจัยนำเสนอโครงการที่สอดคล้องกับกลุ่มประเด็นหรือกรอบโครงการแล้วจึงพิจารณาอนุมัติ (3) องค์กรกำหนดประเด็นวิจัยและหานักวิจัยมาดำเนินการในโครงการวิจัยที่กำหนด และ (4) ใช้รูปแบบผสมผสาน โดยมีกรอบกว้าง ๆ แต่ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้เสนอโครงการที่มีความน่าสนใจสูงแต่ไม่ได้อยู่ในกรอบโครงการเข้ารับพิจารณาโดยตรงได้ด้วย ในส่วนของการกำหนดยุทธศาสตร์งานวิจัยของแต่ละองค์กร พบว่าองค์กรแหล่งทุนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่เป็นองค์กรสนับสนุนจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์งานวิจัยขององค์กรเป็นหลัก ก่อนจะมีการกำหนดกรอบหรือกลุ่มโครงการที่สำคัญเป็นหลักในการให้การสนับสนุน ในส่วนขององค์กรที่ไม่ได้มีงานวิจัยเป็นภารกิจหลัก การกำหนดประเด็นวิจัยจะอ้างอิงแผนยุทธศาสตร์และพันธกิจขององค์กรเป็นหลัก หรืออาจกำหนดให้หัวหน้าส่วนย่อยขององค์กรเป็นผู้กำหนดประเด็นวิจัยเอง โดยไม่ได้มีแผนงานวิจัยหลักของทั้งองค์กรเป็นแนวทาง และการจัดลำดับความสำคัญส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรหรือแผนวิจัยขององค์กร (ถ้ามี) โดยส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุชัดเจน เป็นเพียงหลักการคร่าวๆ และเน้นที่ในส่วนการกำหนดชุดหรือกลุ่มโครงการ ไม่ได้หลักการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยแต่ละชิ้น ผลของการศึกษาปริมาณเงินสนับสนุนวิจัยสุขภาพ ทำให้เห็นได้ว่าชนิดของงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนค่อนข้างหลากหลายยกเว้นแต่ในส่วนของงานวิจัยคลินิกที่ยังได้รับการสนับสนุนค่อนข้างน้อย และหากพิจารณาความสอดคล้องกับโรคที่มีภาระโรคสูงในประเทศไทยพบว่า องค์กรที่ปฏิบัติงานสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพหรือองค์กรที่มีงานวิจัยสุขภาพเป็นหลักให้ทุนสนับสนุนที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพและภาระโรคในปัจจุบันมากกว่า เช่น โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ไข้หวัดนก ซึ่งพิจารณาเชิงปริมาณในภาพรวมตลอดทั้ง 5 ปี หากคำนวณเชิงปริมาณ พบว่าประเทศไทยยังคงลงทุนด้านการวิจัยน้อยกว่าที่ควรหลายเท่าและรวมถึงมีความไม่แน่นอนสูง ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ รัฐควรให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดย การกำหนดให้สุขภาพเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหลักในการกำหนดแผนพัฒนาประเทศ การให้ความสำคัญกับงานวิจัยในฐานะเครื่องมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพและสังคม การเสริมสร้างความสามารถและสมรรถนะของนักวิจัยและสถาบันวิจัยเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในสังคม และ การส่งเสริมให้นักวิจัยทั้งในและนอกประเทศได้มีโอกาสประสานงานหรือทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาทางสุขภาพ ในประเด็นของความไม่สม่ำเสมอของการสนับสนุนวิจัย คือควรส่งเสริมให้องค์กรทุนร่วมกันวางแผนและกำหนดบทบาทขององค์กรในการให้น้ำหนักในการสนับสนุนทุนให้สอดคล้องและสม่ำเสมอ และสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศงานวิจัยที่สามารถตรวจสอบและใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนได้อย่างเป็นระบบen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectStrategy--Researchen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาแหล่งทุนและการกำหนดยุทธศาสตร์งานวิจัยสุขภาพสำหรับประเทศไทยen_US
dc.identifier.callnoWA525 ป621ก 2550en_US
dc.identifier.contactno50ข005en_US
dc.subject.keywordStrategyen_US
dc.subject.keywordHealth Researchen_US
dc.subject.keywordยุทธศาสตร์en_US
dc.subject.keywordงานวิจัยสุขภาพen_US
.custom.citationพินทุสร เหมพิสุทธิ์, บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ, งามจิตต์ จันทรสาธิต, ภสิณี ฟูตระกูล, สุริสา รีเจริญ, อรพินท์ มุกดาดิลก, สุวรรณี อัศวกุลชัย, กัญจนา ติษยาธิคม, เพ็ญศรี ตรามีคุณ, จารุณี จันทร์เพชร, หทัยรัตน์ คงสืบ and สายชล สู่สุข. "การศึกษาแหล่งทุนและการกำหนดยุทธศาสตร์งานวิจัยสุขภาพสำหรับประเทศไทย." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1413">http://hdl.handle.net/11228/1413</a>.
.custom.total_download120
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1356.pdf
Size: 1.127Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record