Show simple item record

Study on family's ability to pay and financially catastrophic illness(FCI) among out-of-pocket in patients: Songkhla province

dc.contributor.authorAnupong Suchariyakulen_US
dc.contributor.authorอนุพงค์ สุจริยากุลen_US
dc.contributor.authorVeeresak Jongsoowiwatwongeen_US
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์en_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:24Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:18Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:24Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:18Z
dc.date.issued2542en_US
dc.identifier.otherhs0764en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1416en_US
dc.description.abstractStudy On Family’s Ability To Pay And Financially Catastrophic Illness (FCI) Among Out-of-Pocket In-Patients: Songkhla Province This current research aims to develop basic knowledge about family’s ability to pay and financially catastrophic illness (FCI). The objectives of the study are: 1) to describe family’s ability to pay for hospital charges, 2) to find out the relationship between family’s ability to pay and socio-demographic determinants, 3) to analyse financial coping strategies for the costs of illness, 4) to study disease profiles, hospital charges, length of stay, affordable out-of-pocket expenses, and clinical outcome in the current admission and, to estimate the incidence of financially catastrophic illness among out-of-pocket in-patients in Songkhla Province. Methodology includes both quantitative and qualitative methods. This research is divided into two studies: FCI-1 Study and FCI-2 study. FCI-1 Study (sample are out-of-pocket Songkhla in-patients) comprises of a hospital-based survey and a time-series study, while FCI-2 Study (sample are out-of-pocket Songkhla in-patients asking for fee exemption) comprises of a hospital-based survey and a qualitative in-depth interview. FCI-1 Study , hospital-based study results: A total of 1731 inpatients was recruited from November 1998 to April 1999 in 6 types of hospitals. There was no inability-to-pay problem among those who sought care at private hospital while those who sought care at government hospitals such problem varied from 23.8-36.8 percent. Ability to pay was highly associated with education level, occupation, and family income. Approximately 15 percent of total subjects had their family income less than 2800 Baht / month. Life-table method revealed that half of the sample (50%) could afford hospital charges at expense of 14700 Baht. 89 percent used cash or mobilized savings for paying the first bill while 8 percent had to borrowed cash. About 21 percent of total used borrowing as one of finance sources in the current admission. Our findings show that family income, patient’s education and occupation in unable-to-pay cases were lower than those in able-to-pay. Charge as percent of income in unable-to-pay was 3 times higher than able-to-pay group. Case-mix index, length of hospital stay and charges were statistically different between able vs. unable-to-pay group. Orthopaedics, paediatrics and surgical cases stayed longer than others with a tendency to be unable-to-pay cases. On average, affordable out-of-pocket expenses paid for one episode of admission were about 6 percent of gross annual income. The hospitals, on average, subsidized 58 percent of total charges to unable-to-pay cases. The incidence of FCI was 7.5 percent of total out-of-pocket admissions if defined FCI as out-of-pocket greater than 15% of income. The incidence of FCI events was 3.6 per 1000 out-of-pocket admissions and 48.5 per 1000 out-of-pocket admissions if considered school leaving of the children and indebtedness as criterion of financial catastrophe respectively. Time-series study results: A sample of 144 cases was sub-selected from FCI-1 hospital-based study. Sixty-one percent used intra-household resources to pay for all hospital bills. Ten percent paid by intra-household resources first and then asked for discount at the discharged day. Nearly 5 percent postponed the bill and then used intra-household resources to pay all. Five percent used intra-household resources to pay some parts and asked for fee exemption for the remaining. FCI-2, hospital-based study results: 300 inpatients who asked for exemption in Hat-Yai and PSU Hospital between May and June 1999 were studied. Index patients had rather low family income, low education, and poor employment status. They tended to be old male, and resided in rural area. Approximately 22 percent of total subjects had their family income less than 2800 Baht / month. 36 percent borrowed cash to pay the first bill. 62% of total used borrowing as one of finance sources in current admission. Orthopedics and surgical case were more costly while paediatric cases had longer hospital stay as compared to others. OBGYN and pediatric cases had a good clinical outcome while surgical cases had rather poor outcome. On average, affordable out-of-pocket expenses paid for one episode of admission among study cases were about 11 percent of gross annual income. The hospitals, on average, subsidized 63 percent of total charges to unable-to-pay cases. FCI qualitative findings: 38 in-patients who were Songkhla residents, whose admission incurred medical expenses above 40000 Baht, and declared not being able to pay the bills were in-depth interviewed between April and June 1999. Several patterns of resource mobilization to pay for the bills were captured. Cash / savings was the most common resource use. Usually, more than one strategies were used to cope with the costs of illness. Family networks played an important role if cash / savings was not available. Additional resources from assets sale, loans, and community support were also sought. Taking a loan was limited because economic crisis led to difficulty to earn money or lose confidence of capacity to pay back. The patient / family who got community support should be guaranteed as a good socialized person. If any resources were exhaustive, asking support from the hospitals were the last option. However, exemption policies were not well known by general population. A large number of families did not know whether the fee exemptions existed until they were notified by medical social workers. Not only the financial implication, but also some social impacts hit to the families. Current illness led to loss of income earning capacity in the families, in particular, financial consequences were more severe if principal income earner was a case. In conclusion, out-of-pocket patients are mixtures of upper, middle, and lower socioeconomic status. Family’s ability to pay depends not only on SES but also on coping strategies adopted to deal with the costs of illness. Higher SES and strong kinship and social networks are better ability to pay for the bills. The incidence of FCI varied depending on the definitions. Financial requirements for protection against FCI among out-of-pocket admissions in Songkhla were computed. Current hospital subsidization for those who were unable to pay was about 3.45 million Baht per year. If the expenses were considered that the patients should not pay more than15 percent of gross annual income for a single admission, the government or the hospitals had to subsidise 6.56 million Baht per year.To raise 7 million to protect FCI, every currently uninsured should contribute about 20 Baht for yearly premium and pay user charges of not more than 15 percent of annual family income as deductible amount for each admission.en_US
dc.description.sponsorshipHealth Systems Research Instituteen_US
dc.format.extent897790 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherHealth Systems Research Instituteen_US
dc.subjectEconomics -- Cost and Cost Analysisen_US
dc.subjectHealth Care Costsen_US
dc.subjectSongkhlaen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขen_US
dc.subjectสงขลาen_US
dc.titleความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสภาวะเจ็บป่วยจนล้มละลายของผู้ป่วยในที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ในจังหวัดสงขลาen_US
dc.title.alternativeStudy on family's ability to pay and financially catastrophic illness(FCI) among out-of-pocket in patients: Songkhla provinceen_US
dc.description.abstractalternativeความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสภาวะเจ็บป่วยจนล้มละลาย ของผู้ป่วยในที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ในจังหวัดสงขลา การศึกษานี้มุ่งวิจัยเพื่อนำผลการศึกษาไปสู่การพัฒนาการจัดระบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองการเจ็บป่วยจนถึงขั้นล้มละลายทางเศรษฐกิจของครอบครัว (Financially catastrophic illness- FCI)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณาถึงความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลของครัวเรือนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ หรือ ครัวเรือนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง (pay out of the pocket) หาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กับปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และประชากร วิเคราะห์พฤติกรรม วิธีการจัดการทางการเงินของครัวเรือนเมื่อประสบกับภาระในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และผลกระทบของการเจ็บป่วย และภาระการเงินต่อครอบครัว ศึกษาลักษณะโรคที่พบบ่อย ค่ารักษาพยาบาล วันนอนโรงพยาบาล วงเงินสูงสุดที่ครัวเรือนสามารถจ่ายได้ของผู้ป่วยที่ต้องจ่ายค่ารักษาด้วยเงินในกระเป๋าของครัวเรือน ในภาวะทั่วไป และเมื่อเผชิญกับภาระค่ารักษาที่เข้าข่ายสภาวะเจ็บป่วยจนล้มละลาย คาดประมาณอุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยจนล้มละลายในจังหวัดสงขลา การวิจัยนี้ ได้ออกแบบโดยแบ่งเป็น 2 งานวิจัยย่อย งานวิจัยแรก เรียกว่า FCI-1 Study เป็นการสำรวจเก็บข้อมูลผู้ป่วยในรายใหม่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา ที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเอง เป็นผู้ป่วยที่มานอนรักษาในโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชนในจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 จนถึงเดือนเมษายน 2542 โดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบแล้ว งานวิจัยที่สอง เรียกว่า FCI-2 Study เป็นการสำรวจผู้ป่วยในอาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลาที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเอง และมีปัญหาในการจ่ายค่ารักษา ต้องขอรับการสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลภาครัฐสองแห่งที่เลือกอย่างเจาะจง ระยะเวลาที่ศึกษาคือ เดือนพฤษภาคม และมิถุนายน 2542 ในการวิจัยทั้งสอง ใช้ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจัดการกับภาระค่ารักษาที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ และความสามารถในการจ่ายของครอบครัว โดย เจาะลึกถึงแหล่งที่มาของเงินที่ครอบครัวใช้ในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในการศึกษาวิจัย ได้ออกแบบเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เสริมการวิจัยเชิงปริมาณ ดังนี้คัดเลือกผู้ป่วยในรายใหม่ที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ประมาณ 10% ของตัวอย่างในแต่ละโรงพยาบาลที่คัดเลือกในการวิจัยเชิงปริมาณใน FCI-1 Study แล้วติดตามผู้ป่วย ตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาลจนถึงวันจำหน่าย สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการจ่ายค่ารักษาในระหว่างที่นอนโรงพยาบาล วิธีวิจัยเก็บข้อมูลนี้ เรียกว่า time-series data collection เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประมาณ 40 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ป่วยในที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง และมีปัญหาในการจ่าย ต้องขอสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)ในหอผู้ป่วย ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน เพื่อเสริมกับข้อมูลเชิงปริมาณใน FCI-1 Study งานวิจัยแรก: การสำรวจความสามารถในการจ่ายของครัวเรือนที่ต้องจ่ายเงินเอง (FCI-1 Study) การวิจัยเชิงปริมาณนั้น พบว่า ผู้ป่วยที่ต้องจ่ายเงินเองที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา และเข้าหลักเกณฑ์ในการศึกษา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4-38 ของผู้ป่วยในทั้งหมดที่นอนโรงพยาบาลในช่วงที่ทำวิจัย แสดงว่า ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ในจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่มีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมอยู่แล้ว เพียงส่วนน้อยที่ครัวเรือนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ในการศึกษานี้สามารถเก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด 1731 ตัวอย่าง ความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วยมีความแตกต่างกันในระหว่างโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชน เกือบไม่มีปัญหาว่าจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่ได้เลย ขณะที่โรงพยาบาลรัฐ พบว่าผู้ป่วยที่มีปัญหาในการจ่าย คือไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ทั้งหมดหรือบางส่วน แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 23.8 จนถึง 36.8 โดยร้อยละที่พบจะแปรผันไปตามศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมหลายตัวแปร มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการจ่าย ได้แก่ ระดับการศึกษาของผู้ป่วย อาชีพ รายได้ของครอบครัว และจำนวนผู้ที่ก่อรายได้ให้แก่ครัวเรือน เมื่อวิเคราะห์ว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถจ่ายค่ารักษาได้มากน้อยเพียงไรด้วยวิธี life-table method ปรากฏ ว่า ณ ค่ารักษาที่ 14,700 บาท ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรกลุ่มตัวอย่างจะประสบกับปัญหาจ่ายค่ารักษาไม่ได้ ครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 89 จะใช้เงินสด หรือเงินออม เป็นแหล่งเงินแรกที่สำคัญในการจ่ายค่ารักษา ขณะที่ประมาณร้อยละ 8 ต้องใช้การหยิบยืมเงินเป็นแหล่งเงินแรกในการจ่ายค่ารักษา และร้อยละ 21 ของประชากรในกลุ่มตัวอย่างต้องใช้แหล่งเงินจากเงินยืม เป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลครั้งปัจจุบัน และพบว่าร้อยละ 1 ของตัวอย่าง ต้องให้เด็กออกจากโรงเรียน สืบเนื่องจากจ่ายค่ารักษาในการเจ็บป่วยคราวนี้งานวิจัยที่สอง: การสำรวจผู้ป่วยที่มีปัญหาการจ่ายค่ารักษาต้องขอสังคมสงเคราะห์ (FCI-2 Study) สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 300 คน มาจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ 201 คนและโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 99 คน ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมหลายตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษาของผู้ป่วย อาชีพ อยู่ในสถานภาพต่ำ รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่ปานกลางถึงยากจน และพบชัดเจนว่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุมาก แหล่งเงินแรกที่ใช้ในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กว่าร้อยละ 36 มาจากการหยิบยืมเงิน และร้อยละ 62 ของกลุ่มตัวอย่างต้องใช้แหล่งเงินจากเงินยืม เป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลครั้งนี้ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ จากตัวอย่าง เพศชาย 26 คน เพศหญิง 12 คน ครึ่งหนึ่งมีอายุ ระหว่าง 31-59 ปี และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป ส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 3000 บาท (9/38) รองลงมา คือรายได้อยู่ระหว่าง 3000-4999 บาท (8/38) และไม่มีรายได้ (8/38) ตามลำดับ แหล่งรายได้ ส่วนใหญ่มาจากการรับจ้าง (20/38) ไม่มีเงินออม (30/38) และที่ดิน หรือบ้านเป็นของตนเอง (29/38) โรคที่เจ็บป่วย เรียงตามลำดับคือ โรคที่เกิดจากอุบัติเหตุ (15/38) โรคติดเชื้อ (9/38) และโรคมะเร็ง (8/38) ผลการรักษา เรียงตามลำดับคือ หาย (18/38) ไม่หาย หรือพิการ (13/38) และเสียชีวิต (7/38) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ใช้เงินสด หรือเงินออม เป็นแหล่งเงินแรกในการจ่ายค่ารักษา ก่อนที่จะหาเงินจากแหล่งอื่น เมื่อเงินสดหรือเงินออมไม่พอ การขาย / จำนำ / จำนองทรัพย์สิน การกู้ยืม และขอรับการช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง รวมถึงนายจ้าง จะเป็นแหล่งเงินอันดับถัดไปที่มีบทบาทสำคัญต่อความสามารถในการจ่ายเงินสรุปผลการศึกษาและอภิปรายผลงานวิจัยแรกพบว่า ความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วยมีความแตกต่างกันตามประเภทของโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเลือกใช้บริการกล่าวคือ ผู้ป่วยที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน เกือบทั้งหมดไม่มีปัญหาการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขณะที่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐ มีปัญหาจ่ายค่ารักษา ร้อยละ 23.8 -36.8 โดยร้อยละของผู้ป่วยที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ทั้งหมดหรือบางส่วน จะแปรผันไปตามศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐ รายได้ของครอบครัว เป็นปัจจัยที่กำหนดว่า ครอบครัวจะมีความสามารถในการจ่ายค่ารักษาเพียงไร ส่วนค่ารักษาพยาบาล วันนอนโรงพยาบาล และความซับซ้อนชองโรคที่เจ็บป่วย ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ขณะที่สัดส่วนของค่ารักษาที่โรงพยาบาลเรียกเก็บต่อรายได้ทั้งปีของครอบครัว น่าจะเป็นดัชนีที่สำคัญในการคาดคะเนว่า เมื่อไร ครัวเรือนเริ่มไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้อีก กลุ่มที่จ่ายค่ารักษาได้นั้น นอกจากมีความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าแล้ว ยังมีรายได้ครัวเรือน การศึกษา และสถานภาพอาชีพสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่จ่ายค่ารักษาไม่ได้ เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาในงานวิจัยทั้งสอง พบว่า ผู้ป่วยซึ่งจ่ายค่ารักษาไม่ได้บางส่วน หรือทั้งหมด มีฐานะยากจน ร้อยละ 15 (FCI-1 Study) และ ร้อยละ 22 (FCI-2 Study) มีรายได้ครัวเรือนต่ำกว่า 2800 บาทต่อเดือน แหล่งเงินแรกที่ใช้จ่ายในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล มาจากการหยิบยืมเงินถึง ร้อยละ 8 (FCI-1 Study ) และ 36 (FCI-2 Study) ตามลำดับ สัดส่วนค่ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐ ต้องช่วยเหลืออุดหนุน สูงถึงร้อยละ 58 และ 63 ของค่ารักษาที่โรงพยาบาลเรียกเก็บในงานวิจัยทั้งสองตามลำดับ กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis-Related-Group: DRG) ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการรักษามาก มีแนวโน้มพบบ่อย ในกลุ่มผู้ป่วยที่จ่ายค่ารักษาไม่ได้ แต่ไม่พบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมใดที่เกิดขึ้นบ่อย หรือเป็นสาเหตุของปัญหาการจ่ายค่ารักษาไม่ได้en_US
dc.identifier.callnoW74 A637S 1999en_US
dc.identifier.contactno42ค006en_US
dc.subject.keywordIn-Patientsen_US
dc.subject.keywordFanancially Catastrophic Illness(FCI)en_US
dc.subject.keywordFamily's Abilityen_US
dc.subject.keywordค่ารักษาพยาบาลen_US
dc.subject.keywordสวัสดิการรักษาพยาบาลen_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยในen_US
dc.subject.keywordค่าใช้จ่ายen_US
.custom.citationAnupong Suchariyakul, อนุพงค์ สุจริยากุล, Veeresak Jongsoowiwatwonge and วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. "ความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสภาวะเจ็บป่วยจนล้มละลายของผู้ป่วยในที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ในจังหวัดสงขลา." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1416">http://hdl.handle.net/11228/1416</a>.
.custom.total_download188
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs0764.pdf
Size: 580.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record