แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

จัดการความรู้ จัดการเครือข่าย : ข้อเสนอปฏิรูประบบและกลไกภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ปิติพรth_TH
dc.contributor.authorSuphaporn Pitipornen_US
dc.contributor.authorดิสทัต โรจนาลักษณ์th_TH
dc.contributor.authorกรกนก ลัธธนันท์th_TH
dc.contributor.authorโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:32Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:51:34Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:32Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:51:34Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1304en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1430en_US
dc.description.abstractการอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ใหม่ด้านสุขภาพ ที่เกิดขึ้นในวงการสาธารณสุขโดยรวม และในหน่วยงาน องค์กร และบุคลากรที่ทํางานด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งมีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความพยายามปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และการทํางานร่วมกับเครือข่ายหมอพื้นบ้าน สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน ในกระบวนการนี้แนวคิดการจัดการความรู้ได้ถูกนําเสนอเป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญในการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ทัศนะใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาไปสู่ระบบการแพทย์พหุลักษณ์ แทนการพึ่งพาระบบการแพทย์สมัยใหม่เพียงอย่างเดียว ทําให้เกิดการยอมรับภูมิปัญญาการแพทย์นอกกระแสหลักที่หลากหลายว่ามีคุณค่าเช่นกัน ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นระบบความรู้ที่อยู่บนฐานชุมชน วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคม คนละชุดกับการแพทย์สมัยใหม่ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และมีการพัฒนาวิธีวิทยา การจัดการ ระบบงานขึ้นมารองรับการใช้ความรู้ดังกล่าว การพัฒนาองค์ความรู้อันเป็นภูมิปัญญาไทยเองจึงต้องตระหนักในอคติของความรู้ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างและสถาบันทางสังคมในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ในการกําหนดทิศทางการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้มีฐานความรู้ของตนเองที่เข้มแข็ง สามารถเสริมกับระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ไม่ถูกครอบงําจนไม่เติบโต จึงมีข้อเสนอโดยนักวิชาการการแพทย์แผนไทย ให้มีการพัฒนากลไกสร้างและจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของระบบการแพทย์นอกกระแสหลักเหล่านี้ เพื่อสร้างความรู้เพื่อประโยชน์สูงสุดในด้านสุขภาพของประชาชนและการพัฒนาของประเทศ ข้อเสนอเกี่ยวกับกลไกดังกล่าวพอสรุปได้ดังนี้ 1. การสร้างกลไกเชิงสถาบันด้านวิชาการนอกระบบราชการ เพื่อความเป็นอิสระและคล่องตัวในการสร้างและจัดการความรู้ สร้างชุมชนทางวิชาการโดยประสานเครือข่ายภาคีต่างๆ เข้ามาร่วมทํางานวิชาการและพัฒนาความรู้เชิงระบบ มีการเสนอกลไกนี้ในชื่อว่า สถาบันสุขภาพวิถีไท 2. การพัฒนากลไกหลักในระดับชาติที่ทําหน้าที่กําหนดและประสานนโยบายในการพัฒนาภูมิปัญญาสุขภาพของไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผลักดันการวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติที่ได้รับการขานรับจากกลไกของรัฐและเอกชน 3. การสนับสนุนให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการความรู้และฟื้นฟูภูมิปัญญาสุขภาพ โดยสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เชื่อมโยงกับเครือข่ายทางสังคมต่างๆ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์โดยอาศัยแนวคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาข้อเสนอในการปฏิรูปโครงสร้างและกลไกสร้างและจัดการความรู้ที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยใช้วิธีศึกษาจากการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้เน้นการสร้างและจัดการความรู้เฉพาะในส่วนของการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน มิได้ครอบคลุมถึงการแพทย์ทางเลือกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent258863 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAlternative Medicineen_US
dc.subjectMedicine--Traditional--Thailanden_US
dc.subjectMedicine--Herbalen_US
dc.subjectสุขภาพทางเลือกen_US
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System)th_TH
dc.titleจัดการความรู้ จัดการเครือข่าย : ข้อเสนอปฏิรูประบบและกลไกภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านth_TH
dc.title.alternativeKnowledge managment of uncoventional medicineen_US
dc.identifier.callnoWB925 ส837จ [2549?]en_US
dc.identifier.contactno49ค008en_US
dc.subject.keywordKnowledge Managementen_US
dc.subject.keywordUnconventional Medicineen_US
dc.subject.keywordการแพทย์แผนไทยen_US
dc.subject.keywordการแพทย์พื้นบ้านen_US
.custom.citationสุภาภรณ์ ปิติพร, Suphaporn Pitiporn, ดิสทัต โรจนาลักษณ์, กรกนก ลัธธนันท์ and โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. "จัดการความรู้ จัดการเครือข่าย : ข้อเสนอปฏิรูประบบและกลไกภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1430">http://hdl.handle.net/11228/1430</a>.
.custom.total_download118
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1304.pdf
ขนาด: 280.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย