แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ

dc.contributor.authorดรุณี ภู่ขาวen_US
dc.contributor.authorDarunee Phukaoen_US
dc.contributor.authorอินทิรา ยมาภัยen_US
dc.contributor.authorจอมขวัญ โยธาสมุทรen_US
dc.contributor.authorInthira Yamabhaien_US
dc.contributor.authorJomkwan Yothasamuten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:32Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:23:43Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:32Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:23:43Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1395en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1431en_US
dc.description.abstractพบว่าในหลากหลายประเทศและในองค์กรระดับนานาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ได้มีการริเริ่มในการพัฒนากรอบแนวคิดการประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพตลอดจนการพัฒนาตัวชี้วัด/เครื่องมือ/แบบประเมินสมรรถนะที่สอดคล้องกับกรอบแนวคิดดังกล่าว เพื่อนำมาใช้ในการกำกับ ประเมิน และจัดการสมรรถนะระบบสุขภาพ อย่างไรก็ตามยังไม่พบการศึกษาวิจัยที่ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อทบทวนสถานะองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความเหมือนและความแตกต่างของแบบประเมินที่พบทั้งในและต่างประเทศ วิธีการศึกษา: ใช้วิธีการทบทวนองค์ความรู้ (Literature Review) ที่เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดตัวชี้วัดและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการ นอกจากนั้นยังทบทวนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฎี และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการประเมินระดับความพึงพอใจและระดับความสุข ซึ่งอาจจะนำมาสู่การพัฒนาเครื่องมือที่สามารถใช้ในการประเมินความเปลี่ยนแปลงของสมรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองของผู้รับบริการ ผลการศึกษาพบว่านักวิจัยส่วนใหญ่พัฒนาแบบประเมินความพึงพอใจหรือเลือกใช้ข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจมาใช้ในวัตถุประสงค์ของการประเมินสมรรถนะการดูแลด้านสุขภาพจากมุมมองของผู้รับบริการ ซึ่งพบว่าการดูแลด้านสุขภาพนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในบรรดาหลายองค์ประกอบของระบบสุขภาพ และพบว่าข้อคำถามต่างๆ เหล่านั้นปรากฏในฐานข้อมูลหรือแบบสอบถามต่างๆ ยังไม่ปรากฏว่ามีการใช้แบบประเมินระดับความสุขในการนำมาใช้ประกอบการประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองของผู้รับบริการ จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดตลอดจนแบบประเมินความพึงพอใจที่ได้จากการทบทวนองค์ความรู้ที่ปรากฏในประเทศไทยและต่างประเทศ และแบบประเมินความสุขที่ใช้ในบริบททั่วไป พบว่าในขณะที่แบบประเมินความพึงพอใจนั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความต้องการของผู้รับบริการเพียง 4 มิติ แต่พบว่าแบบประเมินระดับความสุขนั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความต้องการของผู้รับบริการอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนั้นยังพบว่าตัวชี้วัดตลอดจนแบบประเมินความพึงพอใจดังกล่าวมิได้รับการออกแบบเพื่อประเมินองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพอย่างครอบคลุม ซึ่งนอกเหนือจากองค์ประกอบด้านการดูแลสุขภาพ เช่น องค์ประกอบในด้านผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ การนำในพื้นที่การวิจัยและสารสนเทศทางสุขภาพ เป็นต้น พบว่าแบบประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองของผู้รับบริการที่พบนั้นมิได้รับการออกแบบเพื่อครอบคลุมการประเมินประเภทของความต้องการของผู้รับบริการอย่างเป็นองค์รวมและไม่สามารถประเมินองค์ประกอบของสมรรถนะระบบสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นจึงควรที่จะพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ ระบบสุขภาพจากมุมมองของผู้รับบริการ โดยเฉพาะระดับความสุข โดยที่ควรจะมีการศึกษาวิจัยระยะยาวในการพัฒนาแบบประเมินดังกล่าว เพื่อสามารถมั่นใจได้ว่าองค์ประกอบของสมรรถนะระบบสุขภาพทุกองค์ประกอบ และครอบคลุมมุมมองในเรื่องความต้องการหรือเหตุผลที่มารับบริการ 4 หมวดหมู่ (คงไว้ซึ่งสุขภาพอันหายจากความเจ็บป่วย การอยู่กับโรคหรือความพิการและการดูแลในช่วงสุดท้ายของชีวิต) ได้รับการนำมาใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบ่งชี้ระดับสมรรถนะของระบบสุขภาพจากมุมมองของผู้รับบริการth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Systemsen_US
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศen_US
dc.title.alternativeA literature review and synthesis of the measurement tools of health system performance from customer perspectives : Thailand and international countriesen_US
dc.identifier.callnoW84 ด135ก 2551en_US
dc.identifier.contactno51-011en_US
.custom.citationดรุณี ภู่ขาว, Darunee Phukao, อินทิรา ยมาภัย, จอมขวัญ โยธาสมุทร, Inthira Yamabhai and Jomkwan Yothasamut. "การทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1431">http://hdl.handle.net/11228/1431</a>.
.custom.total_download206
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1395.pdf
ขนาด: 2.523Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย