Show simple item record

Public and Private Dental Care Mix : Feasibility Study

dc.contributor.authorอดิเรก ศรีวัฒนาวงษาth_TH
dc.contributor.authorAdirek Sriwattanawongsaen_US
dc.contributor.authorแพร จิตตินันท์th_TH
dc.contributor.authorสุธี สุขสุเดชth_TH
dc.contributor.authorจันทนา อึ้งชูศักดิ์th_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:33Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:27:21Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:33Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:27:21Z
dc.date.issued2545en_US
dc.identifier.otherhs0937en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1434en_US
dc.description.abstractปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาเรื่องความเหมาะสมและบทบาทของทันตกรรมภาคเอกชนในการร่วมจัดบริการกับภาครัฐในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความเป็นไปได้และรูปแบบการจัดบริการทันตกรรมร่วมรัฐ-เอกชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทันตสาธารณสุขตามนโยบายจากทุกภาคบริการ การวิจัยนี้ดำเนินการโดยการสำรวจที่ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ เก็บข้อมูลจากทันตแพทย์ที่เป็นสมาชิกทันตแพทยสมาคมฯทั้งสิ้น 4,700 ชุด (ร้อยละ 12.9) มีข้อมูลสมบูรณ์ใช้วิเคราะห์ 544 ชุด (ร้อยละ 11.58) นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มแบบ focus groups รวม 9 ครั้ง 46 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ทันตแพทย์หัวหน้างานทันตสาธารณสุขประจำจังหวัด ทันตแพทย์ภาคเอกชน โดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ในพื้นที่ 6 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สระบุรี จันทบุรี และตรัง และสัมภาษณ์ผู้บริหารสาธารณสุข 2 คน คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการศึกษาพบว่า ทันตแพทย์ภาคเอกชนมีความพร้อมในการจัดบริการทันตกรรมร่วมรัฐ-เอกชน โดยปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ค่าตอบแทน เงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน และรูปแบบการตรวจสอบ ผู้บริหารสาธารณสุขเห็นว่า การจัดบริการทันตกรรมร่วมรัฐ-เอกชน มีความเป็นไปได้ แต่ต้องการความชัดเจนในประเด็น การแยกงบประมาณทันตกรรมออกจากงบประมาณรักษาพยาบาล ค่าบริการทันตกรรมเฉลี่ยต่อครั้ง และกฎเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการบริการ การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดบริการทันตกรรมร่วมรัฐ-เอกชนต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent981384 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectทันตกรรม, บริการen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleบริการทันตกรรมร่วมรัฐ เอกชนในประเทศไทย : การศึกษาความเป็นไปได้th_TH
dc.title.alternativePublic and Private Dental Care Mix : Feasibility Studyen_US
dc.identifier.callnoWU20.5 อ127บ 2545en_US
dc.identifier.contactno45ค025en_US
.custom.citationอดิเรก ศรีวัฒนาวงษา, Adirek Sriwattanawongsa, แพร จิตตินันท์, สุธี สุขสุเดช and จันทนา อึ้งชูศักดิ์. "บริการทันตกรรมร่วมรัฐ เอกชนในประเทศไทย : การศึกษาความเป็นไปได้." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1434">http://hdl.handle.net/11228/1434</a>.
.custom.total_download105
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs0937.pdf
Size: 1.032Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record