แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : กรณีศึกษาในเขตภาคเหนือ

dc.contributor.authorวิลาวัณย์ เสนารัตน์th_TH
dc.contributor.authorWilawan Saenaraten_US
dc.contributor.authorวิจิตร ศรีสุพรรณth_TH
dc.contributor.authorประคิณ สุจฉายาth_TH
dc.contributor.authorวิภาดา คุณาวิกติกุลth_TH
dc.contributor.authorสุสัณหา ยิ้มแย้มth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:40Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:46Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:40Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:46Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0940en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1450en_US
dc.description.abstractการศึกษาเพื่อหารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กรณีศึกษาภาคเหนือนี้ ได้ใช้แบบวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยเน้นการมีส่วนร่วม (participatory action research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ สถานการณ์ด้านสุขภาพและระบาดวิทยาในภาคเหนือ ความต้องการทางด้านสุขภาพของประชาชน ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและบุคลากรทางด้านสุขภาพต่อระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การศึกษาทางระบาดวิทยา การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เจาะลึกและการนำเสนอข้อมูลเพื่อสะท้อนความคิดเห็นจากผู้นำชุมชนและบุคลากรสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้เลือกศึกษาชุมชน 6 ชุมชนที่ตั้งในภาคเหนือของประเทศไทย ชุมชนได้มาอย่างเจาะจงเพื่อเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตแบบต่างๆ ของประชาชนในภาคเหนือ โดยเป็นชุมชนในเมืองและชนบทที่มีการเดินทางสะดวกและมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่ผู้วิจัยปฏิบัติงาน จากผลการศึกษาดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้พิจารณารูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโดยพยาบาลวิชาชีพที่มุ่งเน้นการจัดบริการให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นและมีข้อเสนอแนะรูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิดังนี้ 1. พัฒนาความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพเดิม โดยจัดให้มีพยาบาลวิชาชีพประจำสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 2. มีระบบบริหารจัดการด้านบุคลากรให้เหมาะสม ทั้งทางด้านจำนวน คุณวุฒิและคุณภาพ 3. มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้สอดคล้องกับเป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ไม่เน้นด้านการรักษาอย่างเดียว นอกจากนี้ภาครัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 4. มีการเชื่อมประสานเครือข่ายความร่วมมือและการส่งต่อในการให้บริการสุขภาพทั้งในระดับปฐมภูมิและระดับเหนือขึ้นไป โดยอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางในการดำเนินงาน 1. เร่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนทุกคน 2. จัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตเพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพให้มีความรู้และทักษะสอดคล้องกับบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 3. จัดทำหลักสูตรระยะสั้นเป็นการเร่งด่วนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพยาบาลวิชาชีพเพื่อให้สามารถให้บริการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิได้อย่างมีคุณภาพ 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ระดับอำเภอและระดับจังหวัด 5. จัดบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิโดยพยาบาลวิชาชีพที่ได้ผ่านการเตรียมความพร้อม 6. มีระบบประเมินผลการให้บริการทั้งด้านการบริหารจัดการ คุณภาพการบริการ ความพึงพอใจ ความคุ้มค่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นตลอดจนแนวทางแก้ไขบทบาทของพยาบาลในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2222685 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectบริการปฐมภูมิ -- ไทย(ภาคเหนือ)en_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleรูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : กรณีศึกษาในเขตภาคเหนือth_TH
dc.title.alternativePrimary Health Care System : Case Study in Northern Regionen_US
dc.identifier.callnoW84.6 ว719ร 2544en_US
dc.identifier.contactno44ค021en_US
dc.subject.keywordระบบบริการสุขภาพen_US
.custom.citationวิลาวัณย์ เสนารัตน์, Wilawan Saenarat, วิจิตร ศรีสุพรรณ, ประคิณ สุจฉายา, วิภาดา คุณาวิกติกุล and สุสัณหา ยิ้มแย้ม. "รูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : กรณีศึกษาในเขตภาคเหนือ." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1450">http://hdl.handle.net/11228/1450</a>.
.custom.total_download327
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0940.pdf
ขนาด: 1.254Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย