บทคัดย่อ
โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ครอบคลุมประชากรไทยร้อยละ 75 อยู่ แต่ได้รับการงบประมาณอุดหนุน ด้วยอัตราเหมาจ่ายรายหัวที่จำกัดต่ำกว่าข้อเท็จจริงของอัตราการใช้ และต้นทุนบริการ และมีปัญหาความยั่งยืนทางการเงินระยะยาวของโครงการ การศึกษานี้วิเคราะห์และเสนอแนวทางการปฏิรูปการเงินการคลังของโครงการฯ โดยการประมาณการรายจ่ายสุขภาพระยะยาวของประเทศไทยระหว่าง ปี 2547-2563 โดยใช้แบบจำลอง (model) สี่แบบ ได้แก่ แบบจำลองด้านประชากรและแรงงาน แบบจำลองด้านเศรษฐกิจ แบบจำลองค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และแบบจำลองงบประมาณของรัฐบาล โดยใช้ฐานข้อมูลประชากรและเศรษฐกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถิติแรงงาน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ข้อมูลงบประมาณประจำปี จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง นอกจากนี้ อาศัยสมมติฐานต่างๆที่คาดว่าน่าจะเป็น พร้อมทั้งการสร้างฉากทัศน์ทั้งการลดรายจ่าย และ/หรือ การเพิ่มงบประมาณที่แน่นอนของโครงการฯ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจุบันรายจ่ายสุขภาพทั้งประเทศ เท่ากับร้อยละ 3.50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี 2547 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.64 และ 3.88 ในปี 2553 และ 2563 ตามลำดับ ฉากทัศน์ที่ 1 กำหนดให้โครงการฯ มีรายได้เฉพาะที่แน่นอนจากการเก็บภาษีสุขภาพ (Personal health tax) การปรับเพิ่มภาษีบุหรี่ สุรา และเบียร์แล้วกันเงินภาษีส่วนหนึ่งให้แก่โครงการฯเป็นประจำ (Earmarked sin tax) โครงการฯจะมีความต้องการเงินอุดหนุนจากงบประมาณประจำปีของรัฐลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสภาพปัจจุบัน ฉากทัศน์ที่ 2 กำหนดให้จำนวนผู้มีสิทธิ์ในโครงการฯ ลดลง โดยการขยายความคุ้มครองประกันสังคมไปสู่คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตน ทำให้รายจ่ายของโครงการฯ ลดลง 9,210 ล้านบาทในปี 2548 ฉากทัศน์ที่ 3 เป็นควบรวมฉากทัศน์ที่ 1 และ 2 ทำให้มีการลดรายจ่าย (โดยการขยายการคุ้มครองของประกันสังคม) พร้อมกับการเพิ่มรายรับที่แน่นอนเข้ามาในโครงการ ทำให้โครงการฯ เกือบไม่มีความต้องการเงินอุดหนุนจากงบประมาณประจำปีเลย ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการปฏิรูปการเงินการคลังโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีความยั่งยืน และมีความเป็นไปได้ มี 3 มาตรการ มาตรการที่หนึ่ง การตัดโอนภาษีสรรพสามิตที่รัฐจัดเก็บได้มาให้โครงการฯเป็นการประจำตามจำนวนที่กำหนดไว้ (Earmarked sin tax) โดยไม่ต้องปรับเพิ่มภาษี หรืออาจจะปรับเพิ่มภาษี ซึ่งทำให้สามารถจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ มาตรการที่สอง การลดรายจ่ายของกองทุนฯโดยให้ระบบประกันสังคมขยายการคุ้มครองไปสู่คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตน ซึ่งอาจกระทำได้โดยไม่ต้องปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบจากผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล มาตรการที่สาม ปฏิรูปพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยมอบให้กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เป็นผู้จัดเก็บเบี้ยประกันภัย พร้อมกับการเก็บภาษีประจำปีจากเจ้าของรถตามกฎหมาย หรือขณะทำการจดทะเบียนรถใหม่ ทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เต็มที่ โดยผู้ประสบภัยจากรถทุกรายไม่ว่าเกิดจากรถ ที่มีหรือไม่ พ.ร.บ. การใช้เงินของ พรบ. นี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทคัดย่อ
Universal health care coverage (UC) is an important policy by the Thai government, 75% of population covered by the Scheme, but capitation rate did not adequately match with the utilization rate and cost of services. While rely totally on government annual budget, its long-term fiscal sustainability is a worrying problem. This study was conducted in order to provide financial reform options for UC Scheme. Long term projection of total national health expenditure of Thailand between 2004 and 2020 was constructed using four models namely Demographic and Labour Model, Economic Model, National Health Expenditure Model and Government Model. Several information from various sources were retrieved for example; population and economic information from National Economic and Social Development Board, Labour statistic from National Statistical Office, National Health Account of Thailand 1994-2001 and Government expenditure from the Comptroller General’s Department, Ministry of Finance. Moreover, many possible assumptions were applied in these models and three scenarios of reducing UC expenditure and/or ensuring adequate budget for UC were created in order to illustrate financial implication. The model estimates showed that the total national health expenditure was around 3.50% of GDP in 2004, it would increase to 3.64 and 3.88 % of GDP in 2010 and 2020, respectively. The first scenario simulated the effects of the suggested revenue increases by introducing personal health tax and additional excise tax on tobacco, alcohol and beer which some proportion automatically earmarked to UC Fund. This scenario resulted in substantial reductions in the government budget subsidy to the Scheme compared to status quo. The second scenario was produced based on assumptions that Social Security Office would expand its coverage to non-working spouse and dependents of the contributors. Its effects were that the expenditure of UC reduces by around 9,210 million baht in 2005. The first and second scenarios. when combined together into the third scenario suggested, it showed that UC almost fund by itself with few budget subsidy from government. Three policy recommendations on the Scheme financial reform was provided. First, an earmarked sin tax with or without increase in the sin tax rate. Second, the expansion social security scheme health benefit to non working spouse and dependents of the contributors. This could be done without increasing contribution. The last was the reform of Traffic Accident Protection Act (TAP). The Department of Land Transport would be outsourced to collect premium from car owners, during the mandatory annual renewal of car license, this would enhance law enforcement. The scheme would cover all victims by either insured and uninsured cars.