dc.contributor.author | สุรเดช บุณยเวทย์ | en_US |
dc.contributor.author | Suradet Boonyawet | en_US |
dc.contributor.author | จิราพร มงคลประเสริฐ | en_US |
dc.contributor.author | Chiraphorn Mongkhonprasoet | en_US |
dc.contributor.author | รัตนา งามบุณยรักษ์ | en_US |
dc.contributor.author | Rattana Ngamboonyarak | en_US |
dc.coverage.spatial | น่าน | en_US |
dc.coverage.spatial | Nan province | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-09-24T11:43:18Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:55:44Z | |
dc.date.available | 2008-09-24T11:43:18Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:55:44Z | |
dc.date.issued | 2551 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,2(เมย.-มิย. 2551), (ฉบับเสริม 5) : 1231-1241 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/145 | en_US |
dc.description.abstract | การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย, ภาวะเลือดจาง, แรงดันเลือดสูง และการคลอดก่อนกำหนด ปัจจุบันการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ การที่จะแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้ได้ผล ต้องทำการศึกษาถึงเหตุและผลของปัญหาตามสภาพที่แท้จริงของพื้นที่ การการศึกษาเชิงวิทยาการระบาดของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เพื่อเปรียบเทียบผลของการตั้งครรภ์ในสตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี และอายุ 20-29 ปี คลอดที่โรงพยาบาลเวียงสา, โดยทำการศึกษาผลของการตั้งครรภ์แบบภาคตัดขวางย้อนหลัง และในส่วนวิทยาการระบาดแบบพรรณนา กลุ่มศึกษา ได้แก่ สตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี และกลุ่มเปรียบเทียบอายุ 20-29 ปี กลุ่มละ 146 คน เป็นผู้ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเวียงสาในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2550 คัดเฉพาะผู้ตั้งครรภ์แรก ครรภ์เดียว มีภูมิลำเนาในอำเภอเวียงสา. ข้อมูลได้จากเวชระเบียน, นำมาวิเคราะห์ผลของการตั้งครรภ์, ศึกษาข้อมูลวิทยาการระบาด และติดตามสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาการระบาดจากกลุ่มศึกษา 43 คน ที่ยังอยู่ในพื้นที่ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มศึกษาร้อยละ 39.04 มีอายุ 13-17 ปี ระยะก่อนคลอด กลุ่มศึกษามีอายุครรภ์เฉลี่ยเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกสูงกว่า มีอัตราผู้จำวันระดูได้แม่นยำน้อยกว่า, มีจำนวนครั้งเฉลี่ยของการฝากครรภ์น้อยกว่า, มีอัตราผู้มาฝากครรภ์น้อยกว่า 4ครั้งมากกว่า, มีน้ำหนักตัวขึ้นช่วงมีครรภ์เฉลี่ยน้อยกว่า, มีอัตราผู้ที่มีภาวะเลือดจางและมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์มากกว่า ข้อมูลระยะคลอดของกลุ่มศึกษามีอัตราผลประเมินเบื้องต้นเชิงกรานแคบมากกว่า, มีอัตราการผ่าท้องคลอดโดยเฉพาะจากข้อบ่งชี้การผิดสัดส่วนของศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดาสูงกว่า เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่มักพบเพิ่มขึ้นในการศึกษาอื่นๆ โดยเฉพาะการคลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักตัวน้อย ข้อมูลวิทยาการระบาดของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น พบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบว่ามีอายุน้อยลง ความอ่อนแอลงของสถาบันครอบครัวและสังคมน่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญ | th_TH |
dc.format.extent | 211435 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | วิทยาการระบาดและการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน | en_US |
dc.title.alternative | Epidemiology and outcome of teenage pregnancy in Wiangsa district, Nan province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Teenage pregnancy is considered a high-risk situation that increases the likelihood
of adverse obstetric and perinatal outcomes, such as those associated with low birth weight,
anemia, hypertensive disorder in pregnancy and preterm delivery. The trend in teenage
pregnancy has increased. To effectively solve the problem of teenage pregnancy, currently
a global and nationwide problem (including in Wiangsa district as well), it is necessary
to study the real causes and results before implementing local, specific strategies.
The purposes of this study were to study the epidemiology of teenage pregnancy in
Wiangsa district and to compare the pregnancy outcome of teenage pregnancy with adult
pregnancy in Wiangsa Hospital. The research design for comparing the pregnancy outcome
was a retrospective cross-sectional study; that used for studying the epidemiology
was a descriptive study.
The study and the control groups (teenage and adult mothers respectively) each
consisting of 146 singleton primigravida females aged <20 and 20-29 years, respectively,
who were Wiangsa district citizens and who delivered at Wiangsa hospital between October
1, 2004 and September 30, 2007. The data were extracted from medical records and
analyzed for pregnancy outcomes. Then 43 teenage mothers who were still available in
the province were studied for epidemiology and interviewed in-depth (under informed
consent) to determine the factors causing them to become pregnant.
Results: In the study group 39.04 percent were 13-17 years of age. Antepartum period:
the study group had a significantly higher average gestational age at the first antenatal
care visit, a lower average number of antenatal visits, a lower average weight gain,
a higher rate of those who received inadequate antenatal care (<4 times), those who were
unsure about their last menstrual period, those who developed anemia and premature
membrane rupture. Intrapartum period: the study group had a significantly higher rate
of inadequate pelvis measarements (crudely evaluated by nurses during admission), caesarean
section, especially when indicated by cephalopelvic disproportion. Postpartum
period: the study group had a significantly higher rate of urinary tract infections. There
was no increase in significant complications commonly found in other studies, especially
preterm labor, and low birth weight. Epidemiology: the trend in the teenage pregnancy
rate in Wiangsa district increased, especially in younger teens. Weaker families and
society seem to be the major root causes of this problem.
Conclusions: Teenage pregnancy in Wiangsa district had poor outcomes, especially
antepartum and intrapartum. The trend of this situation is getting worse, mainly because
of weaker family and socialties. | en_US |
dc.subject.keyword | การตั้งครรภ์ | en_US |
dc.subject.keyword | วัยรุ่น | en_US |
dc.subject.keyword | ผลการมีครรภ์ | en_US |
dc.subject.keyword | Pregnancy | en_US |
dc.subject.keyword | Teenage | en_US |
dc.subject.keyword | Pregnancy Outcome | en_US |
.custom.citation | สุรเดช บุณยเวทย์, Suradet Boonyawet, จิราพร มงคลประเสริฐ, Chiraphorn Mongkhonprasoet, รัตนา งามบุณยรักษ์ and Rattana Ngamboonyarak. "วิทยาการระบาดและการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/145">http://hdl.handle.net/11228/145</a>. | |
.custom.total_download | 1327 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 24 | |
.custom.downloaded_this_year | 301 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 36 | |