แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ระบบบริการสุขภาพชุมชน : โครงการ กรุงเทพ 7

dc.contributor.authorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์th_TH
dc.contributor.authorChulalongkorn University. Faculty of Medicineen_US
dc.contributor.authorสำนักอนามัย กทม. ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 (ลุมพินี)th_TH
dc.contributor.authorสภากาชาดไทย. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์th_TH
dc.contributor.authorสภากาชาดไทย. วิทยาลัยพยาบาลth_TH
dc.contributor.authorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคมth_TH
dc.contributor.authorBangkok Metropolitan Administration. Health Departmenten_US
dc.contributor.authorThe Thai Red Cross Society, King Chulalongkorn Memorial Hospitalen_US
dc.contributor.authorNursing Collage of the Thai Red Crossen_US
dc.contributor.authorChulalongkorn University. Social Research Instituteen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:58Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:00Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:58Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:00Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1069en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1495en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานการศึกษาระบบบริการสุขภาพชุมชน: โครงการ กรุงเทพ 7en_US
dc.description.abstractในศตวรรษที่ 21 สิ่งท้าทายใหม่ๆ ทางสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทยที่กำลังปรากฏให้เห็นคือ ความรวดเร็วของการสูงอายุของประชากร การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรคจากปัญหาโรคติดต่อที่เป็นปัญหาหลักทางสุขภาพมาเป็นโรคไม่ติดต่อ การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้พิการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ การขยายตัวของเขตเมืองอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนย้ายถิ่น ผู้หญิงประกอบอาชีพมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัวจากครอบครัวขยายมาสู่ครอบครัวเดี่ยว ด้วยเหตุของการขยายตัวของเขตเมืองอย่างรวดเร็วซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้การพัฒนาระบบการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพในพื้นที่เขตเมืองสมควรเป็นเป้าหมายแรกของการดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การบริการชุมชนและการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทยที่มีการพัฒนาขึ้นภายหลังการประชุม Alma-Ata ในปี พ.ศ. 2521 ได้ออกแบบเพื่อครอบคลุมองค์ประกอบจำเป็นอันรวมถึงการป้องกันโรคติดต่อ การส่งเสริมด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสม ความเพียงพอของน้ำสะอาดและการสุขาภิบาล การดูแลแม่และเด็ก การให้บริการยาที่จำเป็น และการจัดการปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 กลยุทธ์หลักของดำเนินการด้านการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทยเป็นการใช้กระบวนการเข้าถึงกลุ่มประชากร (Population-based approach) โดยใช้การรณรงค์หรือดำเนินกิจกรรมในระดับชุมชน การสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และการจัดตั้งสถานีอนามัยที่เน้นให้บริการแม่และเด็ก การให้วัคซีนป้องกันโรค และการรักษาพื้นฐาน อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะรองรับกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษนี้ โดยเฉพาะการขยายตัวของความชุกของกลุ่มโรคไม่ติดต่อและผู้พิการที่มาพร้อมกับภาวะประชากรสูงอายุ ฉะนั้น กลยุทธ์ใหม่เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ เหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ได้ความกระจ่างในกลยุทธ์ใหม่ จึงได้ดำเนินการวิจัยในรูปแบบของการศึกษาเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยเรียกว่า “ รูปแบบกรุงเทพ 7 ” ขึ้นในพื้นที่เขตเมืองของกรุงเทพมาหานคร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 โครงการนี้เป็นผลจากความร่วมมือของสามองค์กรคือ กรุงเทพมหานคร (สำนักอนามัย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์) และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยการสนับสนุนทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วัตถุประสงค์หลักของโครงการ รูปแบบกรุงเทพ 7 คือ การกำหนดรูปแบบการบริการด้านสุขภาพและสวัสดิการที่มีโครงสร้างพื้นฐานคือพนักงานสาธารณสุขชุมชนและบุคลกรวิชาชีพด้านสุขภาพต่างๆ ที่จะต้องให้บริการที่สอดประสานทั้งด้านสุขภาพและสังคม และปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพที่ไม่เป็นทางการ อาทิ ครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน และอาสาสมัครต่างๆ รูปแบบกรุงเทพ 7 ยังมุ่งที่จะแสดงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการสอดประสานระหว่างระบบการบริการที่บ้านที่ต้องการอาศัยความร่วมมือระหว่างสหสาขาวิชาชีพกับการดำเนินการกิจกรรมชุมชนที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วน/หน่วยงานต่างๆ (ระบบบริการสุขภาพชุมชน) จุดมุ่งหมายสำคัญจากการดำเนินการนี้คือ การนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่บูรณาการและสอดประสานเพียงพอที่จะตอบสนองและสนับสนุนระบบดูแลที่ไม่เป็นทางการ (Informal care) ให้ดำรงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมุ่งหวังให้ประชาคมในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการกำหนดแผนและดำเนินการจัดการด้านสุขภาพและสวัสดิการร่วมกัน ระบบบริการสุขภาพชุมชน เป็นรูปแบบที่ต่อเติมจากระบบการดูแลสุขภาพระดับชุมชนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังคงวางอยู่บนหลักสี่ประการของสาธารณสุขมูลฐานคือ (i) การเข้าถึงอย่างถ้วนหน้าและครอบคลุมความจำเป็นพื้นฐาน (ii) การมีส่วนร่วมของชุมชนและบุคคล และพึ่งพาตนเองได้ (iii) ความมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินการเพื่อสุขภาพ และ (iv) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีความคุ้มค่าในทรัพยากรที่มีอยู่ ระบบบริการสุขภาพชุมชนยังอาจพิจารณาว่าเป็นกลยุทธ์ที่สร้างเสริมโอกาสการเข้าถึงระบบสุขภาพของบุคคลและชุมชน โดยเป็นระดับแรกสุดภายใต้กรอบการสาธารณสุขมูลฐานที่เชื่อมต่อกับผู้รับบริการซึ่งก็คือบุคคลและชุมชน ระบบบริการสุขภาพชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่จัดเพื่อประชาชนทุกกลุ่มอายุ โดยเน้นการส่งเสริมให้มีการสอดประสานระหว่างการดูแลสุขภาพที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่ตอบสนองต่อสาระพื้นฐาน 8 ประการ ดังนี้ 1. การส่งเสริมสุขภาพและการให้การความรู้ 2. การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อและปัญหาสุขภาพจำเพาะในพื้นที่ เช่น การติดยาเสพติด อุบัติเหตุ การดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาอาชีวอนามัย 3. สิ่งแวดล้อม น้ำ และสุขาภิบาล 4. การดูแลแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว 5. อุปทานด้านอาหารและความปลอดภัยของอาหาร 6. การจัดการโรคเรื้อรัง 7. การรักษาขั้นพื้นฐานและการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับปัญหาทางสุขภาพที่รวมถึงภาวะทุพพลภาพ 8. การดูแลระยะยาว ระบบบริการสุขภาพชุมชนจะต้องจัดการบริการสุขภาพและสังคมที่สอดประสานกันและรุกเข้าถึงครัวเรือนสำหรับรายบุคคลและครอบครัว (การบริการที่บ้าน –Home-based services) และการดำเนินการกิจกรรม/รณรงค์ระดับชุมชน (Community-based services) ทั้งนี้ การบริการทั้งสองประเภทจะต้องประสานและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในขณะที่ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเป็นเงื่อนไขจำเป็นของความสำเร็จของการดำเนินการกิจกรรม/รณรงค์ระดับชุมชน ความร่วมมือระหว่างสหสาขวิชาชีพก็เป็นหัวใจสำคัญของการบริการที่บ้านและกิจกรรมบริการเพื่อการสนับสนุนรูปแบบกรุงเทพ 7 ได้รับการพัฒนาในพื้นที่สองแขวงที่เขตใจกลางของกรุงเทพมหานครและครอบคลุมประชากรในพื้นที่ทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 60,000 คน งานบริการด้านสุขภาพพื้นที่ทั้งสองแขวงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 16 ของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ศูนย์บริการสาธารรณสุข 16 ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพระดับชุมชนได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของรูปแบบกรุงเทพ 7 และดำเนินการการบริการสุขภาพในชุมชนให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นหน่วยรับการส่งต่อและร่วมสนับสนุนการพัฒนารูปแบบกรุงเทพ 7 รูปแบบกรุงเทพ 7 ประกอบด้วย “ระบบการบริการที่บ้าน” และ “ระบบการบริการชุมชน” ระบบการบริการที่บ้านประกอบด้วยกิจกรรมบริการที่หลากหลาย ดังนี้ บริการเยี่ยมบ้านประจำ การประเมินที่บ้าน การพยาบาลที่บ้าน การฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน การให้ความรู้/ให้คำปรึกษาที่บ้าน การบริการเพื่อความติดเนื่องต่อการรักษาโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง วัณโรค) การบริการสังคม การบริการประคับประคอง และการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต กิจกรรมการบริการที่บ้านเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากกิจกรรมการบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ได้แก่ การประชุมสหสาขาวิชาชีพ การบริการผู้ป่วยนอก การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ คลินิกเด็กดี คลินิกฝากครรภ์ บริการวางแผนครอบครัว คลินิกฝังเข็ม บริการสังคม และบริการดูแลทดแทน (Respite care)การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นสิ่งจำเป็นของทั้งระบบบริการที่บ้านและระบบบริการชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำชุมชนได้รับการเชิญให้เข้าร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินการและการวางแผน หลังจากหนึ่งปีของการพัฒนารูปแบบกรุงเทพฯ พบว่าได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนา โดยผลการดำเนินงานได้รับการนำเสนอแก่คณะผู้บริหารของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยและส่งต่อการบริหารจัดการระบบบริการของรูปแบบกรุงเทพ 7 ให้กับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ความสำเร็จดังกล่าวยังได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยผ่านสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ รูปแบบโครงการกรุงเทพ 7 และผลของการจัดบริการได้รับการบรรจุเป็นหัวข้ออภิปรายหลักในการประชุมวิชาการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามสัญญาณที่ชัดเจนแห่งความสำเร็จมาจากสำนักอนามัยที่ได้เริ่มประยุกต์เอารูปแบบกรุงเทพ 7 ไปใช้ดำเนินการในพื้นที่อื่นของกรุงเทพมหานคร จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบกรุงเทพ 7 ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบบริการสุขภาพชุมชนที่มุ่งให้เกิดการสอดประสานของระบบสุขภาพและสวัสดิการ เป็นกลยุทธ์ใหม่ในระบบบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาอันรวมทั้งประเทศไทย และสามารถดำเนินการได้จริงในพื้นที่เขตเมือง รูปแบบนี้ช่วยสร้างความเข้มแข็งของการเชื่อมโยงระบบที่เป็นทางการเข้ากับระบบที่ไม่เป็นทางการที่เป็นสิ่งจำเป็นของกระบวนการดูแลระยะยาว หลักการ รูปแบบระบบ และประสบการณ์ของการจัดการในการพัฒนา จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอื่นๆ ที่ มุ่งเน้นการสาธารณสุขมูลฐานและระบบสุขภาพและสวัสดิการ อย่างไรก็ตาม รูปแบบกรุงเทพ 7 ไม่ได้เป็นรูปแบบอุดมคติที่จะเหมาะสมกับทุกกลุ่มประชากรและทุกพื้นที่ในประเทศไทย ผู้บริหารและผู้ให้บริการในพื้นที่อื่นๆ ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทควรพิจารณาดำเนินการประยุกต์รูปแบบกรุงเทพ 7 อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการดำเนินการในแต่ละท้องถิ่นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherFaculty of Medicine Chulalongkorn Universityen_US
dc.subjectCommunity Health Servicesen_US
dc.subjectHealth Services Accessibilityen_US
dc.subjectUrban Health Servicesen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectอนามัยชุมชน, การบริการen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleระบบบริการสุขภาพชุมชน : โครงการ กรุงเทพ 7th_TH
dc.title.alternativeCommunity health service system: Bangkok 7 modelen_US
dc.description.abstractalternativeOf the 21st century, new challenges to health and well-being of the Thai society are rapid aging of the population, change of disease pattern i.e. a significant from communicable diseases to non-communicable diseases, increase in number of disabled and major social shifts such as rapid urbanization and dispersion of support systems, substantial migration, increasing work-force participation among women and family structure transformation from extended family to nuclear family. Because rapid urbanization is one of the major social shifts, which relates to increase of non-communicable diseases and other social changes, enhancement of health and welfare systems in the city area in the face of these challenges should be focused in the first place. Existing community services and primary health care approach, which has been implemented after the Alma-Ata conference in 1978, were designed for essential elements particularly preventive measures against communicable diseases, promotion of food supply and proper nutrition, adequate supply of safe water and basic sanitation, maternal and child care, provision of essential drugs and appropriate management of common health problems. Since 1978, the major strategies for implementing primary health care in Thailand are a population-based approach using community intervention/campaign, promoting community participation via community health volunteers and set up community health centres to provide services including maternal and child care, immunization and basic treatment. However, these strategies do not adequately meet new challenges from growing prevalence of non-communicable diseases and disability among the aging society, Hence, new strategies to meet new health challenges are needed. In order to work out a new strategy, a participatory action (operational) research, called the “Bangkok 7 model”, has been conducted in a city area of Bangkok since July 2002. This project is a result of collaboration among three institutes- the Bangkok Metropolitan Administration (BMA), the Chulalongkorn University (Faculty of Medicine) and the King Chulalongkorn Memorial hospital. It was fund by the Health Systems Research Institute and the King Chulalongkorn Memorial hospital. The main objective of the Bangkok 7model project was to establish a new model of health and welfare provision, founded on community health workers and professional health care workers who would integrate across functions of health and social care and work closely with all existing informal cares, whether family, friends or neighbors, and also with voluntary groups and individual volunteers. This model also was to demonstrate a practical way of integration between comprehensive home-based services. which requires interdisciplinary cooperation and community interventions, which requires intersectoral collaboration. (i.e. Community Health Service System) It was hoped that this would enable a system of comprehensive and integrated health care to develop, which was more sensitive and responsive to informal care and able to mesh in with and support it more efficiently and take account of the reciprocal nature of informal care. It was also hoped that such a system would be more amenable to a degree of control by local people and enable them to participate actively in the planning and running for the health and welfare system in the city area. The community health service system is viewed as an expansion model of conventional community-based health care in Thailand, which bases on four basic principles of the primary health care approach including-(i) universal accessibility and coverage on the basis of need, (ii) community and individual involvement and self-reliance, (iii) intersectoral action for health, and (iv) appropriate technology and cost-effectiveness in relation to the available resources. The community health service system is also viewed as the strategy of enhancing accessibility of individual and community to the health system. Thus it is the first level of contact of individual and community under the primary health care approach. The community health service system is comprised of various comprehensive activities for all ages, which promote integration between formal and informal care to serve eight basis elements including - (i) Health promotion and education (ii) Prevention and control of communicable diseases and other endemic health problems such as drug addiction, accidents and injuries, alcoholic intake, occupational health problems (iii) Environment, water and sanitation (iv) Maternal and child health care and family planning (v) Food supply and food safety (vi) Management of chronic diseases, which emphasizes on adherence to treatment (vii) Basic treatment and rehabilitation for health problems including disabilities (viii) Long-term care The community health service system has to provide integrated health and social services for needed individuals and families at their own homes (i.e. home-based services) and community interventions/activities (i.e. community-based services). These two kinds services must be integrated and complement to each other. While intersectoral collaboration is essential for success of community-based activities, interdisciplinary collaboration is vital for home-based care and its support activities. The Bangkok 7 model was developed in 2 districts at the heart of the Bangkok Metropolitan, of which total population was around 60,000. These 2 districts are the responsible areas of the 16th public health centre of the Health department, BMA. The 16th public health centre, a community health centre, is the principle organization of the Bangkok 7 model which provides the community health service for people in its catchments area. The King Chulalongkorn Memorial hospital joins the Bangkok 7 model as a referral centre and also as a partner of model development. The Bangkok 7 model composes of home-based service system and community-based service system. The home-based service system is comprised of activities including regular home visit, home assessment, home nursing, home rehabilitation, home education/counselling, service for treatment adherence of selected chronic diseases (diabetes mellitus, hypertension, tuberculosis), social service and palliative and end of life care. These home-based services are supported by activities/services in the 16th Public Health Centre including multidisciplinary team meeting, outpatient services, rehabilitation services, well baby clinic, ANC clinic, family-planning service, acupuncture clinic, social services and care. Community participation is vital for both home-based service system and community-based service system. Health volunteers and community leaders are invited and encouraged to join in every step of activities and planning. After on year, the Bangkok 7 model has been successfully developed. Its output is presented to the administrators of the BMA and the Health department. Its responsibility in term of management was fully transferred to the Health department of the BMA on the 1st October 2003 and the whole system was maintained and carried on. Its success was disseminated to the public through mass media such as newspapers and televisions. The Bangkok 7 model and its output was the main topic of several academic conferences in Thailand. However, the obvious sign of success comes from the Health department as it starts to adopt the Bangkok 7 model for implementation in other areas. This study demonstrates that the Bangkok 7 model, the innovative community health service system for achieving the integration of health and welfare systems is a new strategy in health service system to meet new health challenges in the city area of developing countries like Thailand. It provides strengthening of formal-informal link, which is essential for long-term care, and intersectoral collaboration. Its underlined principles, system design and development management would benefit for further development focuses on the primary health care and health and welfare systems. However, it is not the ideal model that benefits with all kinds of population and areas in Thailand. Administrators and health care providers of other areas, including both urban and rural areas, should workout how to adopt or apply the Bangkok 7 model into their own practice.en_US
dc.identifier.callnoW84.6 จ683ร [2546]en_US
dc.identifier.contactno45ค076en_US
dc.subject.keywordHome-based Servicesen_US
dc.subject.keywordCommunity-based Servicesen_US
dc.subject.keywordระบบบริการที่บ้านen_US
dc.subject.keywordระบบบริการชุมชนen_US
.custom.citationจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์, Chulalongkorn University. Faculty of Medicine, สำนักอนามัย กทม. ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 (ลุมพินี), สภากาชาดไทย. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สภากาชาดไทย. วิทยาลัยพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม, Bangkok Metropolitan Administration. Health Department, The Thai Red Cross Society, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Nursing Collage of the Thai Red Cross and Chulalongkorn University. Social Research Institute. "ระบบบริการสุขภาพชุมชน : โครงการ กรุงเทพ 7." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1495">http://hdl.handle.net/11228/1495</a>.
.custom.total_download273
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1069.pdf
ขนาด: 2.154Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย