บทคัดย่อ
แหล่งการเงินของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในขณะนี้มาจากการจัดทำคำขอจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลโดยเลือกใช้การจัดทำงบประมาณปลายปิดด้วยอัตราเหมาจ่ายรายหัวคูณกับจำนวนประชากรที่ขึ้นทะเบียน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า กระบวนการนี้ต้องลงทุนลงแรงในการจัดทำอย่างมาก โดยที่ไม่มีหลักประกันใดๆว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณอย่างเพียงพอตามอัตราเหมาจ่ายที่เหมาะสมกับต้นทุนและอัตราการใช้บริการในแต่ละปี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและประชาชนควรต้องจัดให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นตาม พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีแหล่งเงินหลักที่ไม่ผูกขาดอยู่กับเงินงบประมาณประจำปีของรัฐบาลเพียงแหล่งเดียวดังเช่นที่เป็นอยู่การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อดีและข้อจำกัดของแหล่งเงินต่างๆของกองทุนจำนวน 8 แหล่งเงินตามที่ระบุในมาตรา 39 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้วยสองวิธีการ ได้แก่การระดมสมองนักวิจัยในทีมงาน และ การสอบถามความเห็นจากผู้สันทัดกรณีด้วยแบบสอบที่สร้างขึ้นใหม่โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการศึกษาจากการระดมสมองของนักวิจัยพบว่า มาตรา 39 (2) เงินจากองค์กรปกครองท้องถิ่น, (3) การเก็บเงินจากผู้ใช้บริการ และ (8) การเก็บเงินสมทบ มีศักยภาพในการที่จะเป็นแหล่งการเงินของกองทุนฯได้ แต่มีข้อจำกัดของแต่ละแหล่งเงินที่ยากในการเป็นแหล่งเงินหลักของกองทุนฯ ผลจากแบบสอบถามความคิดเห็นผู้สันทัดกรณีจำนวน 20 ชุด พบว่า ความเป็นไปได้ทางการเมืองเป็นประเด็นสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งการเงินให้กองทุน ปัจจัยรองลงมา ได้แก่ ความยั่งยืนของแหล่งการคลัง ความเสมอภาคในสังคม ความเป็นไปได้ในทางปฎิบัติ ส่วนการยอมรับของสังคมเป็นประเด็นที่ได้รับความเห็นว่ามีความสำคัญน้อยที่สุด ผลจากการให้ค่าคะแนนความเป็นไปได้ตามประเด็นทั้งห้าข้างต้นในแต่ละแหล่งการคลังที่ถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญของแต่ละประเด็นแล้ว พบว่า การเพิ่มภาษีบุหรี่ เหล้า และเบียร์ เป็นแหล่งที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด จากความเป็นไปได้ทางการเมืองมีมาก การยอมรับทางสังคมสูง มีความยั่งยืนในการเป็นแหล่งเงิน และ การดำเนินการทำได้ง่าย ในทางกลับกัน การเก็บเงินสมทบจากผู้มีสิทธิ์มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด เนื่องจากการยอมรับของสังคมน้อย และ ความยุ่งยากในการดำเนินการ นอกจากนี้ยังพบว่าการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความเป็นไปได้น้อยที่สุดในทางการเมืองและเป็นทางเลือกที่แย่ที่สุดในด้านความเสมอภาค แบบสอบถามที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่จากพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย กระบวนการตอบแบบสอบถามเลือกใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีการให้ข้อมูลแก่ผู้ตอบแบบสอบถามอย่างรอบด้าน เพราะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ได้ตัวอย่างแบบสอบถามจำนวนจำกัด แต่ก็เป็นตัวอย่างที่มาจากนักวิชาการหลากหลายสถาบันทั้งในองค์กรวิชาการและภาคปฏิบัติ ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ให้ความรู้เชิงประจักษ์ในเรื่องทางเลือกแหล่งการเงินการคลังของกองทุนฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้ใหม่อย่างหนึ่งของแหล่งการเงินการคลังในระบบสุขภาพไทย นอกจากความรู้ใหม่ทางวิชาการที่ได้แล้ว ผลการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการศึกษาแหล่งการคลังของกองทุนฯ ในระยะยาวต่อไปด้วย
บทคัดย่อ
Presently Universal Health Care Coverage in Thailand is nearly fully financed by government general budget. UC has adopted close ended budget which come from capitation rate multiply with number of registered members. Refer to past experience, budgeting process for UC faces with annual administrative hurdle without any guarantee on adequate budget according to capitation rate calculated by cost of service and use rate. National Health Security Fund should be established by National Health Security Office and Thai citizen according to National Health Security Act B.E.2545. Major source of finance for NHSF should not be solely relied on government general budget as existing situation.Objectives of this study are to provide advantage and limitation of eight sources of finance for UC according to Article 39 in National Health Security Act B.E.2545. This study applies two methods which are brain storming of researcher team and self answering questionnaire by 20 key informants in one day workshop. The result from brainstorming of researchers indicates that contributions by local government, co-payment by patients and contributions by beneficiaries have potential to be financial sources for UC with some limitation of each source. The result from the workshop of 20 key informants reveals that political feasibility is the most important domain to decide the source of finance for UC. Other less important domains are sustainability, equity, programmatic feasibility and social acceptance the least important. The key informant workgroup have preference on Additional Taxes from Tobacco, Alcohol and Beer and clearly earmark to the fund as long as it get high score on political feasibility, social acceptance, sustainability and programmatic feasibility. On the other hand, contributions by beneficiaries are the least feasible source and it appears to be judged as social unacceptable and administrative infeasible. Increases in the VAT are deemed politically infeasible and the worst for equity reason. Questionnaires used in the workshop were originally created by researchers with foundation of knowledge and thoroughly understanding in financing of Thai health system. All key informants were fully informed in the workshop in order to have the same understanding which leads to limitation in number of valid questionnaires. However, these key informants are heath experts in Thailand from several institutions both of academic and practical organization. This study contributes new knowledge of health care financing in Thailand. Moreover, it provides fundamental information for financing the UC scheme in long run.