แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาอนาคตระบบสุขภาพช่องปากไทย

dc.contributor.authorแพร จิตตินันทน์th_TH
dc.contributor.authorPhaer Chaitinunen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:06Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:05Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:06Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:05Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1221en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1506en_US
dc.description.abstractการศึกษาอนาคตระบบสุขภาพช่องปากไทยศึกษาโดยใช้เทคนิคการศึกษาภาพอนาคต forsight study นักวิจัยซึ่งประกอบด้วยทันตบุคลากร และนักวิจัยระบบจากหลายภาคส่วน ได้ร่วมกันเก็บข้อมูลปฐมภูมิ สืบค้นและสอบถามข้อมูลทุตยภูมิจากประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมข้อมูลเป็นเอกสารประกอบการประชุม “การมองอนาคตระบบสุขภาพช่องปากของคนไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเด็นสำคัญ (key issues) เกี่ยวกับระบบได้แก่ 1) การพึ่งตนเองในการดูแลทันตสุขภาพของประชาชน 2)การสนับสนุนโครงสร้างระบบริการสุขภาพช่องปาก 3) การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพและการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน 4) การจัดการองค์ความรู้และทางเลือกของเทคโนโลยีทางทันตกรรม 5) การพัฒนาทันตบุคลากรในกระบวนทัศน์ใหม่และบทบาทของกลุ่มวิชาชีพอื่น ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าระบบสุขภาพช่องปากที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทวัฒนธรรมไทย สร้างภาวะพึ่งพิงทันตบุคลากรให้กับประชาชน แทนที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในพัฒนาระบบ ไม่มีความเสมอภาค ไม่มีการประเมินความเหมาะสมทางเทคโนโลยีทันตกรรมเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพทำให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายของระบบได้ ไม่มีความหลากหลายเเละต่อเนื่องพอที่จะสร้างทางเลือกในการรับบริการที่มีคุณภาพให้เเก่ประชาชน ทำให้ความครอบคลุมของการบริการต่ำทั้งในภาครัฐเเละเอกชน และระบบสุขภาพช่องปากสมัยใหม่ที่ถูกต้องตามกฎหมายที่มีระบบเดียว ไม่สามารถควบคุมสภาวะโรคในช่องปากและฟันของประชาชนไทยได้ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการและการระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ ได้กำหนดกรอบคิดในการวางเป้าหมายยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพช่องปากในอนาคต ดังนี้ “ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการระบบสุขภาพช่องปากได้อย่างเท่าเทียมกันและมีความสามารถในการพึ่งพิงตนเองของประชาชนด้านสุขภาพช่องปาก ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า” หากได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะเห็นว่า ความหมายของสุขภาพช่องปากที่กำหนดในเป้าหมาย (oral health) ตามกรอบความหมายของสุขภาพ จะต้องครอบคลุมถึงภาวะของการปราศจากโรคในช่องปากหรือสภาวะที่มีผลบั่นทอนหรือจำกัดการทำหน้าที่ตามปกติของอวัยวะในช่องปากของปัจเจกบุคคล การทำหน้าที่ทางสังคม ด้านจิตใจ และด้านเศรษฐกิจ และการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการใช้ภูมิปัญญาไทยประสานเข้ากับภูมิปัญญาสากล แผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางตามกรอบดังข้างต้น แบ่งเป็น 6 แผนหลัก ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะ การเงิน การคลังด้านสุขภาพและกฎหมาย 2) ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของระบบบริการสุขภาพช่องปาก 3) ด้านการศึกษาวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อสนองตอบต่อจุดหมายระยะยาวทันตสุขภาพที่ดีทุกช่วงอายุขัยของประชากรไทย 4) การสร้างรูปแบบบริการงานพื้นฐานที่หลากหลาย สอดคล้องกับความจำเป็นของชุมชนและพื้นที่ 5) การส่งเสริมการพึ่งตนเองของภาคประชาชน โดยเพิ่ม dental literacy 6) การพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์หลักth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Systemsen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectOral Healthen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยช่องปากen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาอนาคตระบบสุขภาพช่องปากไทยth_TH
dc.title.alternativeThe study of thai oral health systemen_US
dc.identifier.callnoWU113 พ961ก 2547en_US
dc.identifier.contactno46ข030en_US
dc.subject.keywordOral Health Systemen_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพช่องปากen_US
.custom.citationแพร จิตตินันทน์ and Phaer Chaitinun. "การศึกษาอนาคตระบบสุขภาพช่องปากไทย." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1506">http://hdl.handle.net/11228/1506</a>.
.custom.total_download265
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1221.pdf
ขนาด: 1.111Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย