บทคัดย่อ
การประเมินโครงการอบรมวิทยากรที่ปรึกษาด้านการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินการอบรม ปัจจัยนำออก และผลลัพธ์ ของโครงการอบรมวิทยากรที่ปรึกษาด้านการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลายโครงการย่อยในโครงการสร้างสรรค์สุขภาพในสถานประกอบการ ที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2544-2545 วิธีการประเมินผลประกอบด้วยการประเมินก้าวหน้า และการประเมินรวบยอด กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยสำนักงานประกันสังคม จาก 4 จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ประกอบด้วย วิทยากรที่ปรึกษาจำนวน 60 คน จาก 20 โรงพยาบาล ผู้บริหารและแกนนำด้านการส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 44 คน พนักงานและลูกจ้าง ในสถานประกอบการ 4,400 คน จาก 44 สถานประกอบการ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก และข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธี Focus Group Interview และ In-depth interview ร่วมกับการสังเกต ผลการศึกษาพบดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า หลักสูตรการอบรม 5 วัน มีความเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่การสร้างเจตคติต่อการทำงานกับสถานประกอบการและการประยุกต์หลักการสู่การปฏิบัติยังไม่ชัดเจน ด้านกระบวนการดำเนินการอบรม มีความเหมาะสมทั้งด้านเนื้อหา วิทยากร กิจกรรมการอบรม ระยะเวลาการอบรม แต่หัวข้อกลุ่มสัมพันธ์ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมสู่แนวคิดที่ต้องการให้เรียนรู้และใช้เวลามากเกินไป ด้านปัจจัยนำออก ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และการรับรู้บทบาทของวิทยากรที่ปรึกษาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้ารับการอบรม แต่พบว่าการดำเนินงานตามบทบาทวิทยากรที่ปรึกษาในการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ยังไม่ปรากฏกิจกรรมชัดเจน เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินงานสั้น และวิทยากรที่ปรึกษาส่วนใหญ่มีภาระงานประจำมาก ด้านผลลัพธ์ จากการติดตามผลในระยะ 6 เดือนต่อมา ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานตามโครงการทั้งในระดับนโยบาย สภาพแวดล้อม และการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของพนักงานและลูกจ้าง แต่พบว่ามีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะจากการประเมินโครงการอบรมวิทยากรที่ปรึกษาด้านการสร้างเสริมสุขภาพเป็นโครงการที่มีประโยชน์ควรดำเนินการต่อไป โดยรูปแบบการทำงานควรเป็นความร่วมมือระหว่าง สถานประกอบการ วิทยากรที่ปรึกษาจากโรงพยาบาล สำนักงานประกันสังคมจังหวัดควรเป็นผู้ประสานและกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ควรมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และมีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจนในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
บทคัดย่อ
Training workplace health promotion Training workplace health promotion (WHP) was a part of the national "Workplace Health Promotion" project implemented in 2001-2002 by various partners .The aimed of this study was to evaluate the input, process, output, and outcome of the training project. Progressive and summative evaluation was used as a design of this project evaluation. The sample was recruited from four provinces with major industrial parks by the Social Security Office. Subjects were composed of 60 WHP facilitators from 20 hospitals, 44 managers and worker's representatives, as well as, 4,400 employees form 44 workplaces. Quantitative data was collected by using questionnaire, interview and reviewing record. Qualitative data was gathered by using focus group, In-depth interviewed, and observation The results indicated that, for input evaluation, a comprehensive and integrative five day-long training contents was relevant to the project objectives, but it lacked the content of building attitudes toward working with workplace. Process evaluation showed that the participants satisfied all of learning contents, instructors, activities, and duration of training. However, the group process was viewed as time-consuming activities and could not sufficiently link to learning outcome concepts. For output evaluation, the knowledge and perceived WHP skill of the participants were significantly improved (p<0.05); but the activities according to WHP facilitator’s roles were not clearly performed. Most of them had more routinely workload and reported shortage of implementation time. For outcome evaluation at 6 months follow up, workplace policy, environment, and health promotion activities were not significantly improved. Changes in health behaviors as well as health status of employee were not significantly observed. However, increases in understanding and awareness in workplace health promotion were found.Findings suggest that the training project was useful for workplace health promotion and should be implemented further with cooperation between workplace and hospital's facilitators. The Social Security Office at provincial level should also act as coordinator and motivator to assure sustainability of the project. Meeting for sharing the learning experience should also be set up. Financial support and regulation for workplace health promotion should also be provided.