บทคัดย่อ
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่มีความก้าวหน้ามากในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะในทางการแพทย์ การเกษตร หรือแม้กระทั่งด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีที่ว่านี้ได้ถูกนำมาสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมากมาย เช่น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะพืช ซึ่งมีทั้งพืชที่มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พืชที่มีคุณสมบัติต้านทานแมลงศัตรูพืช ซึ่งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เหล่านี้เป็นสิ่งที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยได้แสดงความห่วงใยไว้โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 8 (ช) ที่กำหนดให้มีการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และการปล่อยสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย ซึ่งประเทศไทยเองก็ยังไม่มีกฎหมายที่จะอนุวัติการพันธกรณีนี้ แต่ในระดับนานาชาตินั้นได้มีพิธีสารคาร์ตาเฮน่าว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพขึ้นมาเป็นแม่แบบในการดำเนินงานตามมาตรา 8 (ช) อีกทั้งหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย ก็ได้มีกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพไว้แล้ว ดังนั้นเราจึงอาศัยกฎหมายเหล่านี้เป็นตัวอย่างเพื่อร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของไทย
บทคัดย่อ
Modern biotechnology has developed to a very high extent, nowadays. It was widely used in many fields of practices, such as medicine, agriculture, or environment. This technology has assisted in creating many innovative creations, e.g., various kinds of genetically modified organisms (GMOs), especially GM plants, for example, herbicide-resistant and pest-resistant plants. The advancement of biotechnology in terms of producing genetically modified organisms has been a subject of concern of the Convention on Biological Diversity, which Thailand is one of its members. Article 8 (g) of the Convention stipulates that there shall be a means to regulate, manage or control the risks associated with the use and release of living modified organisms resulting from biotechnology which are likely to have adverse environmental impacts that could affect the conservation and sustainable use of biological diversity, taking also into account the risks to human health. In this respect, Thailand has not yet had a particular legal instrument to regulate living modified or genetically modified organisms, whereas on the international level there has been an establishment of the Cartagena Protocol on Biosafety to oversee aspects under Article 8(g) of the CBD, and many countries, such as the USA, European Union, and Australia have already enacted laws that govern biosafety issues. Thailand, therefore, is on the way of utilizing those existing laws as models or patterns to establish the law on biosafety of the country.