แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัด ผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

dc.contributor.authorสุบุญญา หุตังคบดีen_US
dc.contributor.authorSuboonya Hutangkabodeeen_US
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ศรีโกศลen_US
dc.contributor.authorจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรีen_US
dc.contributor.authorชาญชัย เอื้อชัยกุลen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:47Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:19Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:47Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:19Z
dc.date.issued2542en_US
dc.identifier.otherhs0678en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1607en_US
dc.description.abstractพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่มีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนาชุดดัชนี ขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือและการทดลองนำเครื่องมือไปใช้ โดยเริ่มจากคณะทำงานพัฒนาร่างดัชนีชี้วัดเชิงทฤษฎี (theoretical indicator) จากนั้นจัดทำเป็นแบบสอบถามสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเกี่ยวกับร่างดัชนีชี้วัดและตัวแทนผลิตภัณฑ์ และสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการ องค์กรเอกชนคุ้มครองผู้บริโภค และผู้บริโภค โดยการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มแต่ละกลุ่มแล้วนำผลมาวิเคราะห์ และนำไปเป็นปัจจัยนำเข้าในกลุ่มต่อไปตามลำดับ จนพัฒนาเป็นดัชนีชี้วัดเชิงประจักษ์ (Empirical indicator) จากนั้นสร้างเครื่องมือ คือแบบสอบถาม แล้วนำไปทดสอบต่อในขั้นตอนที่ 2 เพื่อทดสอบความถูกต้องและ ความน่าเชื่อถือ การทดสอบดำเนินการในพื้นที่ 12 อำเภอ 4 ภาคทั่วประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครเป็นกลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล หลังจากนั้น ปรับปรุงแบบสอบถาม แล้วนำไปทดลองใช้ในจังหวัดอ่างทองในกลุ่มผู้บริโภค ผลการศึกษามีดังนี้ชุดดัชนีที่สร้างขึ้นมีทั้งหมด 7 ชุด แต่ละชุดมีลักษณะเป็นดัชนีผสม (scale) ที่มีความเฉพาะเจาะจงในการวัด มีความเรียบง่าย สะดวกในการใช้และตลอดจนมีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ โดยมีความน่าเชื่อถืออยู่ระหว่าง 0.6784 - 0.9754 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้วัดคือ แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วยชุดดัชนีที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค 2 ด้านคือ ด้านประสิทธิผลของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ มีดัชนีผสม 4 ชุด คือ ดัชนีชี้วัดการรู้จักบริโภคของผู้บริโภค 11 ตัว ดัชนีชี้วัดการรู้จักพัฒนาตนเองของผู้บริโภค 8 ตัว ดัชนีชี้วัดความมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 8 ตัว และดัชนีชี้วัดความถูกต้องของการกระจายผลิตภัณฑ์ 10 ตัว สำหรับด้านความเป็นธรรมที่ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง มีดัชนีผสม 3 ชุด คือ ดัชนีชี้วัดความเหมาะสมของราคาผลิตภัณฑ์ 8 ตัว ดัชนีชี้วัดความเสมอภาคของการได้รับการคุ้มครอง 10 ตัว และดัชนีชี้วัดการได้รับการชดเชยเมื่อเกิดความเสียหายจากการบริโภค 3 ตัวen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectConsumer Product Safety--Indicatorsen_US
dc.subjectHealth Productsen_US
dc.subjectCustommeren_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพen_US
dc.subjectสิทธิผู้บริโภคen_US
dc.titleโครงการพัฒนาดัชนีชี้วัด ผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8en_US
dc.title.alternativeDevelopment of Indicators for the Achievement of consumer protection on health products according to the Eighth National Socio-economic Development Planen_US
dc.description.abstractalternativeDevelopment of indicators for the achievement of consumer protection on health products according to the eight National Socio-economic Development planThe objectives of this research were to develop reliable and valid set of indicators measuring the effectiveness and fairness of the health consumer protection activities as well as to develop tools to evaluate the practicality and of the designed indicators prior to their application. This activity is in accordance with the Eighth National Socio-economic Development Plan (1997-2001) on the Consumer Protection on Health Products. Sets of indicators were developed and subject to test of their validity and reliability in the field. Thus, the working group set the guideline of theoretical indicators. Suggestions from the chief of health consumer protection and pharmacy all aver the country of 76 provincial health offices regarding the indicators via questionnaire were made, after that brainstorming the stakeholders in health consumer protection and carried out empirical indicator. Then setting the questionnaire to test validity and reliability by health officers and health volunteer groups in twelve districts, of four regions and retest by consumer groups in Anything province. Effectiveness and fairness were the two areas of the seven sets of indicators which had been found. The reliability was between 0.6784 and 0.9754. The effectiveness indicators had four sets; skill to know how to consume (11 items), known how to develop themselves (8items), quality of products (8 items) and proper distribution of products (10 items). The fairness indicators had three sets; fair price (8 items), equality (10 items) and product liability (3 items). Tools for measuring were questionnaires, survey and data collection from.en_US
dc.identifier.callnoWA695 ค283ส 2542en_US
dc.subject.keywordแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8en_US
.custom.citationสุบุญญา หุตังคบดี, Suboonya Hutangkabodee, ฉวีวรรณ ศรีโกศล, จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี and ชาญชัย เอื้อชัยกุล. "โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัด ผลการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8." 2542. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1607">http://hdl.handle.net/11228/1607</a>.
.custom.total_download109
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0678.pdf
ขนาด: 7.471Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย