บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ต้องการศึกษากระบวนการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขปัญหาชุมชน วิธีการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยนักวิจัยเข้าไปทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาข้อมูลชุมชน การวางแผนพัฒนาตำบล โดยใช้แนวคิดของ AIC และ FSC ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2544 – สิงหาคม พ.ศ.2544 การเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละขั้นตอนใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล เน้นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเป็นหลัก และนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลของการวิจัยพบว่า การใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม สามารถทำให้สมาชิกอบต. มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยประเมินจากความสามารถในการมองเห็นปัญหา ความเข้าใจสาเหตุของปัญหา ทักษะในการแก้ไขปัญหา การมีมุมมองที่กว้างขึ้น มองเห็นจุดดี จุดด้อย ของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งทำให้เกิดการยอมรับผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ในประเด็นของการปรับวิสัยทัศน์ พบว่าการใช้กรณีศึกษา การศึกษาดูงานและการมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สมาชิกอบต. ได้มองเห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูล เข้าใจชุมชนมากขึ้น เห็นความสำคัญที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็นของกลุ่มมากขึ้นและที่สำคัญที่สุดก็คือ สมาชิกอบต. ได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองชัดเจนขึ้น ข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูประบบสุขภาพ ควรที่จะได้มีการขยายแนวคิดนี้ออกไปในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในวงกว้าง ในแง่ของการปรับเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทในการทำงาน ปรับมุมมองในมิติสุขภาพให้กว้างกว่าเรื่องโรค มองชุมชนเป็นองค์รวม มองว่าชุมชนมีศักยภาพ ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงต้องปรับบทบาทเป็นผู้สนับสนุน ผู้ประสานทรัพยากร เรียนรู้จากชุมชนแทนการชี้นำ รวมทั้งเข้าใจ แนวคิดการศึกษาชุมชน และการทำงานร่วมกับชุมชน นอกจากนี้ นโยบายจากเบื้องบน และระบบการจัดสรรงบประมาณควรจะต้องเอื้อด้วย 2. ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา ในทางปฏิบัติกระบวนการนี้ไม่มีรูปแบบสำเร็จรูปที่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ เพราะสภาพการทำงานจะขึ้นอยู่กับสภาพบริบทของแต่ละชุมชน นอกจากนี้กระบวนการสร้างความเข้มแข็งต้องอาศัยเวลา และต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง 3. ข้อเสนอสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ศึกษาความสามารถของสมาชิกอบต.ในการนำไปกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและควบคุม กำกับงาน
บทคัดย่อ
The objective of this study is to empower subdistrict administrative committee (SAC). The concept of empowerment is interpreted as ability to solve community problems. Through the process of participatory action research (PAR), the researchers worked with the studied SAC to develop 5-year subdistrict plan on which community participation was emphasized. AIC (Appreciation, Influence and Control) and FSC (Future Search Conference) concepts were applied. Additionally, case study analysis method and study visits were conducted. Qualitative data collection techniques and were used content analysis was used in data analysis. The study period was during January – August 2001. The result showed that by using participation concept the SAC could be empowered which was assessed by improvement of their ability in; understanding their problems and needs, causes of such problems, problem solving skill, analysis skill and self determination. Consequently, they developed positive self – esteem, self and other- acceptance and self –confidence. Case study method, dialogue, and field study facilitated the SAC to broaden their vision as well as to realize the necessary of data. Most of all, they became aware of listening to people, getting people to participate in solving community problems led to better understanding of their roles and functions. Recommendations are made in two folds. Firstly, this empowerment process goes in line with the national health care reform policy. It helps those who are involved to be reoriented about broader concept of health, holistic view of approaching community problems and community competence. Such orientation requires changing roles of health personnel working with community. The new roles should concentrate on facilitator concept, resource coordinator. Health personnel should work with and learn from community rather than imposing. However, clear guidelines to bring policy into practice as well as changing budgeting policy are needed. Secondly, it is aware that here is no one empowerment process to fit all situations. Such process is highly context-bound. Furthermore, this process needs them and continuity of activity. Suggestion for further study is on application of PAR to be implemented in monitoring the subdistrict plan.