บทคัดย่อ
ด้วยเหตุผลที่โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นของประเทศ และในขณะที่งานรังสีรักษามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะสุดท้าย แต่สภาพปัญหาในปัจจุบันพบว่า ระบบบริการรังสีรักษามีความไม่เหมาะสมในการกระจายทรัพยากรเครื่องมือและบุคลากร รวมทั้งขาดการประสานงานและการวางแผนในการลงทุน ทำให้เกิดสถานการณ์ที่หน่วยรังสีรักษาบางแห่งไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของการจัดระบบบริการด้านรังสีรักษา ทั้งในด้านเครื่องมือและบุคลากร เปรียบเทียบกับความต้องการและการเข้าถึงบริการด้านรังสีรักษาของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์เพื่อแสวงหาแนวทางในการลงทุนและการกระจายทรัพยากรสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรด้านรังสีรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถเข้าถึงบริการรังสีรักษาได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น โดยรูปแบบการวิจัยใช้วิธีการศึกษาทั้งแบบ quantitative และ qualitative research ทำการศึกษาในหน่วยรังสีรักษาทั้ง 25 แห่ง แพทย์รังสีรักษาทั่วประเทศจำนวน 72 รายและสัมภาษณ์ผู้ป่วยจำนวน 1,555 รายในหน่วยรังสีรักษา 20 แห่งผลการศึกษาพบว่า หน่วยรังสีรักษาในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 10 แห่ง ไม่มีหน่วยรังสีรักษาใดผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนแพทย์รังสีรักษา และมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของจำนวนนักฟิสิกส์การแพทย์ เมื่อนำเกณฑ์ของทั้งสองวิชาชีพมาประเมินหน่วยรังสีรักษาทั้ง 25 แห่ง พบว่า มีหน่วยรังสีรักษาเพียง 7 แห่งจากทั้งหมด หรือร้อยละ 28 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านบุคลากรทั้งสองประเภท ในด้านเครื่องมือรังสีรักษาพบว่า หน่วยรังสีรักษาภาครัฐมีเครื่องมือครบตามเกณฑ์ขั้นต่ำเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะตกเกณฑ์ในกรณีไม่มีเครื่องฝังแร่ ในด้านการเข้าถึงบริการรังสีรักษา พบว่ามีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการรังสีรักษา กล่าวคือผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่หน่วยรังสีรักษาตั้งอยู่และจังหวัดใกล้เคียงมีแนวโน้มในการเข้าถึงบริการรังสีรักษามากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในจังหวัดห่างไกล นอกจากนี้ อุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านรังสีรักษาทั้งในด้านกายภาพ ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีระบบประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงบริการด้านรังสีรักษา ในขณะที่สภาพส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้าถึงบริการจะเป็นผู้สูงอายุ มีเศรษฐานะค่อนข้างยากจนและไม่ได้ประกอบอาชีพ การแก้ไขปัญหาทางด้าน supply side ควรมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในด้านความปลอดภัยในการให้บริการรังสีรักษาที่เกิดขึ้นจากสภาพปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะแพทย์รังสีรักษาและนักฟิสิกส์การแพทย์ในหน่วยรังสีรักษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวควรมีการประสานงานเพื่อวางแผนในภาพรวมระดับประเทศว่า หน่วยรังสีรักษาใดจะมีการพัฒนาไปสู่ระดับใด? และควรมีสัดส่วนตลอดจนการกระจายอย่างไร? นอกจากนี้ ควรมีการวางแผนในการผลิตบุคลากรที่ขาดแคลนและสร้างแรงจูงใจในการให้บริการรังสีรักษาอย่างเหมาะสม ทางด้าน demand side การกำจัดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านรังสีรักษา เช่น การกระจายระบบประกันสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคมะเร็ง การอุดหนุนภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อรับบริการรังสีรักษา เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการรังสีรักษาที่มีคุณภาพได้อย่างเป็นธรรม
บทคัดย่อ
Radiation therapy, an essential treatment for cancer, has been concerned over the recent years due to its enormous investment in both high technology medical devices and various specialists. Anecdotal observation found inappropriate distribution of radiation therapy resources across the country which led to inefficient use of health care resources and possibly under-standard treatment in some radiation therapy units (RTUs). A lack of evidence-based planning on health care services is supposed to be the major cause. Thus, this study aims to demonstrate the current situation of radiation therapy comparing with expressed health needs and access to radiation therapy services of cancer patients. This will bring about the policy recommendations on how to invest and distribute health care resources according to health needs. The goal of this study is to improve efficiency of health resource utilization and equitable access to health services by using radiation therapy as the case study. Both quantitative and qualitative methods were employed in this research. A census of 25 RTUs and 72 radiation therapists were conducted. Cancer patients and some radiation therapists were interviewed by using semi-structured questionnaires. Moreover, document and content analysis were also used.The results reveal that lacking of human resources, both radiation therapists and medical physicists, are more serious problems of the MOPH radiation therapy services than the shortage of radiation therapy devices. The finding illustrates that no radiation therapy unit of MOPH passes the minimal standard amount of radiation therapists, whilst only 20% of them passes the minimal standard amount of medical physicists. Moreover, access to radiation therapy services are inequitable among cancer patients. Cancer patients in remote provinces tend to have poorer access to health care than those in RTUs neighboring provinces. Factors influencing not access to radiation therapy services are physical barriers, and financial barriers in terms of medical care costs and transportation expenditure. For socio-economic status, most cancer patients are the elderly and poor without doing any jobs. Quality improvement on radiation therapy services as well as adequate vital human resources (radiation therapists and medical physicists) are urgent issues which the MOPH has to solve. In the long run, the national plan of radiation therapy system which determines the amount, proportion and distribution of principle, advanced, and excellent radiation therapy centers have to be made. For improving access to care, the improvement of health insurance coverage and the provisions of financial support for transportation are better policy than investment in the new radiation therapy units.