แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาประสิทธิผลการจัดการองค์กรร่วมสร้างกระบวนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจรในชุมชนจังหวัดยโสธร

dc.contributor.authorชฎาภรณ์ สุขนิรันดร์en_US
dc.contributor.authorChadaporn Suknirandren_US
dc.contributor.authorเยาวดี ชาญศิลป์en_US
dc.contributor.authorยุพาภรณ์ อุปยโสธรen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ แก้วคูณen_US
dc.contributor.authorมณีวรรณ เจริญen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:52Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:52Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0807en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1630en_US
dc.description.abstractอุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดองค์กรร่วมสร้างกระบวนการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน ต่อปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้ออำนวย ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจรของผู้เดินถนน ผู้ขับเคลื่อนรถจักรยานยนต์และผู้ขับเคลื่อนรถยนต์ โดยมีกลุ่มดำเนินการ 101 หมู่บ้าน ที่จัดองค์กรร่วมแก้ปัญหาในหมู่บ้านระหว่างเดือนพฤษภาคม 2540 - พฤษภาคม 2541 และกลุ่มควบคุมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 101 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลก่อนและหลังดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ผู้เดินถนน กลุ่มละ 330 คน รวม 660 คน ผู้ขับเคลื่อนรถจักรยานยนต์และรถยนต์กลุ่มละ 300 คน รวม 1,200 คน สุ่มสังเกตพฤติกรรมในชุมชนเดือนเว้นเดือนเดือนๆ ละ 4 ครั้ง ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ รวม 5 เดือน และสอบถามเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรชุมชนที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/pc+ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา โดยผู้เดินถนนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้ต่อครอบครัวเฉลี่ย < 5,000 บาท ต่อปี ส่วนผู้ขับเคลื่อนจักรยานยนต์และรถยนต์เป็นเพศชาย มีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว > 30,000 บาท ต่อปี ผลการศึกษาปัจจัยนำ พบว่า หลังดำเนินการจัดตั้งองค์กรฯ ผู้เดินถนน ผู้ขับเคลื่อนจักรยานยนต์และผู้ขับเคลื่อนรถยนต์ มีความรู้เรื่องกฎและเครื่องหมายจราจรและมีการรับรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุถูกต้องเพิ่มขึ้น ยกเว้นในกลุ่มผู้ขับเคลื่อนจักรยานยนต์มีการรับรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุถูกต้องลดลง การศึกษาปัจจัยเอื้ออำนวยพบว่า หลังดำเนินการ ทั้งในกลุ่มผู้ขับเคลื่อนรถจักรยานยนต์และผู้ขับเคลื่อนรถยนต์ มีอุปกรณ์นิรภัย ได้แก่ หมวกกันน็อค และเข็มขัดนิรภัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) อย่างไรก็ตามในอุปกรณ์อื่นๆ นั้นไม่พบความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดําเนินการ ส่วนการศึกษาปัจจัยเสริม พบว่า กลุ่มผู้เดินถนนและกลุ่มผู้ขับเคลื่อนรถจักรยานยนต์ กลุ่มดําเนินการ ทั้งก่อนและหลังดําเนินการ พบว่า ส่วนมากแหล่งที่ได้รับความรู้เรื่องกฎและเครื่องหมายจราจร และแหล่งที่ได้รับคําแนะนําเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ คือ ทีวี ส่วนในกลุ่มผู้ขับเคลื่อนรถยนต์พบว่า ส่วนมากได้รับความรู้เรื่องกฎและเครื่องหมายจราจรจากการสอบใบขับขี่และแหล่งที่ได้รับคําแนะนําเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุคือจากการดูทีวี จากการศึกษาพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มดําเนินการและ กลุ่มควบคุม พบว่า พฤติกรรมผู้เดินถนนรายบุคคลเกี่ยวกับการเดินถนนชิดขอบทางด้านของทิศทางสวนกับรถ การข้ามถนนโดยมองขวา มองซ้าย และมองขวาอีกครั้งก่อนข้าม การสวมเสื้อโทนสีสว่างขณะเดินถนนเวลากลางคืนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p – value < 0.01) โดยกลุ่มดําเนินการมีพฤติกรรมถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนพฤติกรรมผู้ขับเคลื่อนในการเปิดไฟเลี้ยวขวาเมื่อต้องการเลี้ยวขวา การเปิดไฟเลี้ยวซ้ายเมื่อต้องการเลี้ยวซ้าย สวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่ของผู้ซ้อนท้าย ชะลอความเร็วเมื่อถึงทางแยก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p – value < 0.01) โดยกลุ่มดําเนินการปฏิบัติถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนพฤติกรรมในผู้ขับเคลื่อนรถยนต์ในการเปิดไฟเลี้ยวขวาเมื่อต้องการเลี้ยวขวา การเปิดไฟเลี้ยวซ้ายเมื่อต้องการเลี้ยวซ้าย การคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถยนต์ของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร การชะลอความเร็วเมื่อถึงทางแยก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p – value < 0.01) โดยทุกพฤติกรรมกลุ่มดําเนินการปฏิบัติถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1171024 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectAccident--Preventive and Controlen_US
dc.subjectYasothonen_US
dc.subjectอุบัติเหตุ--การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectยโสธรen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการศึกษาประสิทธิผลการจัดการองค์กรร่วมสร้างกระบวนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจรในชุมชนจังหวัดยโสธรen_US
dc.title.alternativeThe study on the effectiveness of participatory organization in preventive measure of a traffic accident in the community, Yasothon provinceen_US
dc.identifier.callnoWA275 ช114ก 2544en_US
.custom.citationชฎาภรณ์ สุขนิรันดร์, Chadaporn Suknirandr, เยาวดี ชาญศิลป์, ยุพาภรณ์ อุปยโสธร, จุฑารัตน์ แก้วคูณ and มณีวรรณ เจริญ. "การศึกษาประสิทธิผลการจัดการองค์กรร่วมสร้างกระบวนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจรในชุมชนจังหวัดยโสธร." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1630">http://hdl.handle.net/11228/1630</a>.
.custom.total_download99
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0807.pdf
ขนาด: 619.4Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย