• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินพันธกิจสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ

สันติชัย อินทรอ่อน; Santichi Intaraoon; จริยา บุณยะประภัศร; สุขยืน เทพทอง; Suriya Bunyaphaphason; Sukyuen Tapthong;
วันที่: 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การประเมินพันธกิจสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ และ 2) เพื่อการวางแผนในการจัดทำยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2547-2548) กรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการใช้องค์ความรู้เรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1. การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis) 2. การกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ (Strategic Choice) และ 3. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategic Implementation) โดยในการวิเคราะห์กลยุทธ์เป็นการใช้เทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน (SWOT Analysis) เพื่อประกอบการวิเคราะห์บริบทของ (ร่าง) พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และการกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ใช้ SWOT Matrix เพื่อวิเคราะห์หายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับบริบทและนำเสนอมาตรการในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการทบทวนและสังเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย ผลการวิจัยผู้วิจัยได้อาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงลึก (In-depth Analysis) การวิเคราะห์เนื้อหาสาระจากเอกสาร (Content Analysis) และการสังเคราะห์ข้อมูล (Focus Synthesis) ผลการศึกษาเกี่ยวกับบริบทของ (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พบว่า จุดเด่นของสาระใน (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ คือ การบูรณาการทางความคิดเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบเน้นการสร้างนำซ่อมที่อยู่บนพื้นฐานของความพอดี พอเพียง ซึ่งการมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพ พ.ศ. 2543 รองรับการยกร่างกฎหมาย ความเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นอกจากนี้กระบวนการระดมความคิดเห็นเพื่อร่างพระราชบัญญัติที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและเกิดเครือข่ายสุขภาพในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบในการร่างพระราชบัญญัติ เป็นองค์กรซึ่งจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและมีภารกิจชัดเจน มีความเป็นอิสระสูง มีภาคีเครือข่ายที่หลากหลายเป็นผู้สนับสนุนและมีความพร้อมด้านทรัพยากร อย่างไรก็ตาม พบว่า (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ มีข้อจำกัดในหลายประเด็น ทั้งในส่วนของสาระของพระราชบัญญัติ กระบวนการในการระดมความคิดและองค์กรที่รับผิดชอบ กล่าวคือ เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติมีความครอบคลุมกว้างขวางเกินไป มีความเป็นนามธรรมสูง ความขัดแย้งทางความคิดกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม เน้นหนักสิทธิของผู้รับบริการ แต่ไม่ครอบคลุมสิทธิของผู้ให้บริการ และบางมาตรามีความขัดแย้งกับโครงสร้างอำนาจทางสังคมและกลุ่มผลประโยชน์ นอกจากนี้ในส่วนของกระบวนการในการระดมกับความคิดเห็นเพื่อร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าว พบว่า การร่างกฎหมายมีข้อจำกัดในการประยุกต์ความรู้ทางวิชาการ ขาดความเชื่อมโยงระหว่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐบาลและจุดด้อยในส่วนขององค์กรที่รับผิดชอบในการร่างพระราชบัญญัติ คือ ข้อจำกัดเรื่องประสบการณ์ในการร่างกฎหมายโดยวิธีการระดมความคิดเห็นจากประชาชน และข้อจำกัดในการสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งกระทำยังไม่เต็มที่สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกของ (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนของโอกาสนั้น คือ ความตื่นตัวของประชาชนจากผลการปฏิรูประบบสุขภาพทำให้สามารถสื่อสารเรื่องสุขภาพได้ไม่ยาก ในส่วนของภาวะคุกคามนั้น คือ มติของคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากมีกฎหมายฉบับอื่นอยู่ ประกอบกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองที่เข้มแข็งของฝ่ายรัฐบาล นโยบายประชานิยม ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและการค้าเสรี ตลอดจนความพร้อมและความตระหนักของประชาชนเรื่องสุขภาพยังมีจำกัดสำหรับข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์ในการผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาตินั้น คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และกำหนดออกเป็นทางเลือกกลยุทธ์ 4 ทางเลือก ได้แก่ 1) การผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฉบับเดิม โดยอาศัยยุทธศาสตร์การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 2) การปรับปรุง (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติและทำการผลักดันเข้าไปใหม่ โดยการปรับปรุงเนื้อหาบางมาตราที่มีปัญหา หรือการยกร่างเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับองค์กร และกลไกเพื่อการผลักดันเนื้อหาในส่วนอื่นต่อไป 3) การผลักดันให้เป็นรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่กฎหมาย โดยผลักดันเป็นนโยบายหรือแผนแม่บท และ 4) การขับเคลื่อนในภาคสังคม ซึ่งในทางเลือกที่สี่นี้สามารถดำเนินการพร้อมกับทางเลือกที่หนึ่งถึงสามได้ด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1105.pdf
ขนาด: 941.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 65
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV