บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง “กลไกการบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย” เป็นส่วนหนึ่ง
ในชุดโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการ
บริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย 2) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการบริหารระบบ
สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทยและ 3) ค้นหาและนําเสนอกลไกการบริหารระบบสวัสดิการผู้สูงอายุที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และนักวิชาการที่มีความรู้ ประสบการณ์และมีบทบาทในการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุไทย จํานวน 25 ท่าน ในการสัมภาษณ์เชิงลึกและจํานวน 31 ท่านในการจัดกลุ่มสนทนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจาก 1) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกและ 3) การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุมีความจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสนองตอบปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุและเพื่อให้สามารถนํานโยบาย แผน และมาตรการหลักไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล การศึกษาสถานการณ์การบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน พบว่ากลไกการบริหารทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการไม่สามารถทําหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม การดําเนินงานขององค์กรระดับชาติขาดความต่อเนื่อง โครงสร้างการบริหารงานผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐขาดความชัดเจน การดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและองค์การเอกชนที่ทํางานด้านผู้สูงอายุขาดเอก
ภาพ ไม่มีการประสานงาน แบ่งงานกันทําที่เหมาะสม การทํางานซํ้าซ้อน องค์กรประชาชนไม่เข้ม
แข็ง กลไกการบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทยจะต้องปรับปรุงให้เหมาะสม ดังนี้
1) กลไกระดับนโยบาย ควรเป็นองค์กรระดับชาติเป็นองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่หลักด้านนโยบาย ประสานงาน/ประสานทรัพยากร และกํากับดูแลการดําเนินงานขององค์กรต่างๆ ด้านผู้สูงอายุจะต้องมีกฎหมายรองรับ ต้องมีสํานักงานของตนเอง มีงบประมาณสนับสนุน และมีบุคลากรประจํา องค์กรดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้โดยการจัดตั้งขึ้นใหม่ หรือปรับโครงสร้างองค์กรที่มีอยู่เดิม และ
จะต้องประกอบด้วย คณะกรรมการ คณะทํางานหรืออนุกรรมการย่อยและสํานักงานเลขานุการ
2) กลไกระดับปฏิบัติการ : หน่วยงานภาครัฐจะต้องปรับลดบทบาทและให้แต่ละหน่วยงาน
มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยตรงเพียงด้านเดียว เพิ่มบทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง
โครงสร้างงานผู้สูงอายุให้ชัดเจนและสังกัดหน่วยงานที่เหมาะสม รับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่ด้อย
โอกาส สนับสนุน ส่งเสริมงบประมาณและวิชาการให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุกํากบดู
แลการดําเนินงานไม่ให้ผู้สูงอายุถูกเอารัดเอาเปรียบ สําหรับองค์การเอกชนและธุรกิจเอกชนควรเพิ่มบทบาทและมีส่วนร่วมในการจัดบริการทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี 3) กลไกระดับท้องถิ่น จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็ง ปรับโครงสร้างอบต. ให้รองรับการดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ องค์กรท้องถิ่นควรมีผู้สูงอายุและบุคคล
หลายวัยเข้าร่วมทําหน้าที่ในการดูแล จัดสวัสดิการ กิจกรรมให้ผู้สูงอายุ เป็นตัวแทนผู้สูงอายุในการทําหน้าที่พิทักษ์ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุในชุมชน นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เสนอแนะแนวคิดหลักของการบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย ได้แก่ การประสานงาน การกระจายอํานาจ การแก้ไขปัญหาโดยชุมชน การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และการสร้างอํานาจในตัวให้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ให้มีการผลักดันพรบ.ผู้สูงอายุ พัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุและมีงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทยด้านอื่นที่การศึกษาครั้งนี้ยังไม่ครอบคลุมถึง และการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาความต้องการเฉพาะด้านของผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย