• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลาง

วชิรา กสิโกศล; Wachira Kasikoosol; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; สมพร โชติวิทยธารากร; สุนทรี ภานุทัต; เฉลิมศรี นันทวรรณ;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ได้มีการจัดบริการสุขภาพในรูปแบบต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นบริการที่อยู่ใกล้บ้าน อยู่ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ และให้ประชาชนมีสุขภาพดีซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อลดลง แต่กลับไปป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ ตลอดจนถึงโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ระบบบริการที่มีอยู่นี้ยังไม่ครอบคลุมประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง มีความไม่เท่าเทียมกัน ขาดความสมดุลในการจัดสรรบุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ที่เพียงพอและมีคุณภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้จึงต้องการการปฏิรูปเพื่อให้ได้ระบบที่สามารถดูแลสุขภาพของประชาชนได้อย่างครอบคลุม มีคุณภาพ เป็นระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ เหมาะสมกับคนไทยทั้งประเทศ พยาบาลเป็นบุคลากรที่สำคัญในการทำให้การปฏิรูประบบบริการสุขภาพประสบความสำเร็จได้ส่วนหนึ่ง สภาการพยาบาลโดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน โดยทำการศึกษาในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาในชุมชนภาคกลาง โดยได้ทำการศึกษาชุมชนเมืองกึ่งอุตสาหกรรม ชุมชนเมืองกึ่งชนบท และชุมชนชนบทเกษตรกรรม การวิจัยได้แบ่งการดำเนินการหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากศึกษารูปแบบของการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีอยู่ในปัจจุบันของภาคกลาง ต่อจากนั้นจึงเป็นการศึกษาความต้องการและความคาดหวังเกี่ยวกับบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษาภาคกลางทั้งโดยวิธีการเชิงคุณภาพและปริมาณ การสะท้อนความคิดของชุมชนเกี่ยวกับรูปแบบของระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ การระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อสรุปหารูปแบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและทำประชาพิจารณ์กับตัวแทนกลุ่มประชาคมสุขภาพเพื่อร่างรูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชนภาคกลางและนำไปสู่การทดลองปฏิบัติต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1009.pdf
ขนาด: 1.283Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 7
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 195
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV