บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและวิเคราะห์กระบวนการกำหนดค่ามาตรฐานต่างๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดทำค่ามาตรฐานที่ดีและเหมาะสมสำหรับประเทศไทย รูปแบบการศึกษา ได้แก่ การทบทวนเอกสารจากงานวิจัยและการค้นคว้าจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านการจัดทำมาตรฐานในหน่วยงานต่างๆ และการจัดเวทีระดมสมองผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าหน่วยงานในต่างประเทศมีแนวทางในการกำหนดค่ามาตรฐานที่คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยเครื่องมือที่สำคัญ ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงสุขภาพร่วมกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ค่ามาตรฐานที่หน่วยงานต่างๆ กำหนดขึ้นมักจะถือว่าเป็นค่าแนวทางที่แต่ละท้องถิ่นสามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและมีผลในการบังคับใช้ สำหรับการกำหนดค่ามาตรฐานในประเทศไทย พบว่า มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยอาศัยอำนาจภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่มีรูปแบบการกำหนด การแก้ไขทบทวน และการติดตามตรวจสอบที่แน่นอน จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะมีหน่วยงานกลางระดับชาติที่เป็นอิสระทำหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดค่ามาตรฐาน การทบทวนแก้ไข และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาเลือกค่ามาตรฐานที่อาจจำเป็นต้องมีการศึกษาในคนไทยและทำการศึกษาเพื่อให้ได้ค่ามาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และอาจต้องพิจารณาการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดค่ามาตรฐานให้กับท้องถิ่นในอนาคต รวมทั้งการกำหนดประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดทำค่ามาตรฐานไว้ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
บทคัดย่อ
The objectives of this study are to review and analyze the standard setting processes both in Thailand and overseas, in order to propose recommendations regarding the appropriate and practical process for Thailand. The methodology included literature reviews both in relevant documents and Internet searching, in-depth interviews with the concerned officials responsible for standard setting in various organizations, and a workshop to brainstorm the involved experts. The results showed that many countries and organizations have the similar process, i.e., they use health risk assessment as a pivotal tool including scientific evidences to set the standards. Most of the standards are intended to be the guidelines for local authorities to modify in order to fit the public’s needs and to be enforceable. In Thailand, it was found that there are a variety of standard-setting agencies authorized under the different acts resulting in an inharmony of standard setting process, amendments, and monitoring. It is suggested that a national independent organization be set up to lay criteria and guidelines of standard setting, standard review and amendment, and people participation process and to select the standards that should be necessarily set in the Thai context in terms of studies in order to obtain an appropriate standard of Thailand. In addition, the decentralization of decision-making process of standard setting to the local areas should be considered in the future, including that the people participation in standard setting process should be imposed in the National Health Act.