บทคัดย่อ
สรุปผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงปฏิบัติงานของระบบงานสารสนเทศที่เหมาะสมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เล่มที่ 6/6 สรุปได้ดังนี้ หลักวิชาการในการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ มีหลักการอยู่ 7 ขั้นตอน คือ การศึกษาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมของระบบงาน การพิจารณาเลือกใช้สถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย การออกแบบระบบงาน การพัฒนาระบบงาน การทดสอบ การติดตั้งและประยุกต์ใช้งาน และ การประเมินผลการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ หลักวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Application Software Development and Software Engineering) อยู่ในระดับ “ไม่ยาก” แต่การประยุกต์ใช้ “ยากกว่า” (หรืออาจเขียนง่ายๆ ว่า “เทคนิคไม่ยาก ยากที่การบริหาร การจัดการ”) ระบบงานสารสนเทศที่เหมาะสมนั้น จำเป็นต้องมี “มาตรฐาน” ของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น มาตรฐานของกระบวนการปฏิบัติงาน มาตรฐานด้านระบบข้อมูล มาตรฐานการใช้เทคนิคและเครื่องมือการพัฒนาระบบงาน เป็นต้น การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทยที่ผ่านมา (ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2526 – 2543) พบว่าไม่ได้ใช้ (ไม่มี/ไม่ยอมรับ) แผนแม่บทการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นแผนงานฯ หลักในการพัฒนาระบบงานฯ อย่างจริงจังให้เกิดผลในทางปฏิบัติ (กระทรวงสาธารณสุขไทย มีแผนแม่บทสารสนเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538) ทำให้เสมือนขาด “การวางแผนงาน กลยุทธ์ นโยบาย และ ทิศทางในภาพรวม”ไม่ได้ใช้มาตรฐานร่วมกันในการพัฒนาระบบงานฯ ทำให้การเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยงาน เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพขาดบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม เรียนรู้วิชาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบ (ที่ผ่านมา เป็นการเรียนรู้แบบ “ตามอัธยาศัย” ตามความต้องการ ตามความใฝ่รู้ของบุคลากรทางการแพทย์ด้วยตัวเอง) ขาดการกำหนดตำแหน่ง อำนาจ หน้าที่ โครงสร้างบุคลากรพร้อม Job Description ทางด้านสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพ (ที่เหมาะสม) ในการบริหารการจัดการ (คน งาน เงิน) โรงพยาบาล หน่วยงานทางการแพทย์และสาธารณสุข อยู่ในลักษณะการพัฒนาระบบงานแบบ “ตัวใครตัวมัน” หน่วยงานไหนมี “คนเก่ง คนสนใจ” ก็พัฒนาได้มากกว่า หน่วยงานที่ขาด “คนเก่ง คนสนใจ”สรุป สถานภาพในปัจจุบันของระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในลักษณะที่ต้อง “ทบทวน กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ มาตรฐาน และ เร่งรีบดำเนินการ” ก่อนที่จะ “ปรับปรุงได้ยากกว่านี้”ผู้บริหาร (ทุกระดับ) มีความต้องการในการใช้ระบบข้อมูลและระบบสารสนเทศ แต่ปัญหาที่พบคือ “ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ” สาเหตุหลัก เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ไปจนถึงการพัฒนาและการนำไปใช้แนวคิดเกี่ยวกับ “คุณสมบัติเชิงปฏิบัติการของระบบงานสารสนเทศที่เหมาะสมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” สามารถดำเนินการได้ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ศึกษาภาพรวมของงาน กิจกรรม การดำเนินงานทั้งหมดของโรงพยาบาล วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานของแต่ละระบบงานวิเคราะห์ ปรับปรุง และออกแบบระบบงานใหม่ กำหนดคุณสมบัติเชิงปฏิบัติการของระบบงานสารสนเทศที่เหมาะสมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้เทคนิคอย่างเช่น Data Flow Diagram, Entity Relationship Diagram, System Flow Diagram, Process Flow Diagram, Unify Modeling Language และ อื่นๆ เป็นต้น ทางด้าน “ต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้าน IT” จากรายงานวิจัยฯ พบว่า โรงพยาบาลลงทุนด้าน IT โดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับรายรับของโรงพยาบาล เป็น 0.44 % (อธิบายได้ว่า รายรับของโรงพยาบาล 100 บาท โรงพยาบาลลงทุนด้าน IT ประมาณ 0.44 บาท) โดยที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ (500-1038 เตียง) มีการลงทุนต่ำสุด (0.23 %)รายจ่ายด้าน IT ต่อผู้ป่วย 1 คน โดยเฉลี่ยประมาณ 2.54 บาท โดยที่โรงพยาบาลขนาดกลาง (120 –499 เตียง) มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด (2.12 บาท/คน) และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (499-1038 เตียง) มีค่าใช้จ่ายสูงสุด (3.37 บาท/คน)