บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมุนเวียนของบุคลากรในระบบบริการโดยเน้นในส่วนของภาครัฐบาลรวมทั้งประเด็นเรื่องการลาออกจากราชการของแพทย์ การศึกษาครอบคลุมบุคลากรสี่กลุ่มคือ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล โดยมีจุดเน้นที่แพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนมากเป็นพิเศษ ผลการศึกษาพบว่าในแต่ละกลุ่มมีปัญหาแตกต่างกัน อันได้แก่ กลุ่มแพทย์ การศึกษาเรื่องการลาออกของแพทย์ที่ผ่านมาสามารถประมวลผลและอาจกล่าวได้ว่า การลาออกของแพทย์ไม่ได้เกิดจากไม่ได้มีเพียงสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดที่ทำให้ลาออก สาเหตุพื้นฐานที่สำคัญได้แก่ ภาระงาน ค่าตอบแทน และโอกาสในการศึกษาต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่ต่างจากในอดีตมากนัก ปัจจัยเรื่องค่าตอบแทนในลักษณะสัมพันธ์มีส่วนกำหนดการตัดสินใจในการลาออกและกลับเข้ารับราชการ และปัจจัยเหล่านี้มักจะผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและประชากร ก็มีส่วนทำให้มีการลาออกมากขึ้นหรือเร็วขึ้น ทันตแพทย์เป็นอีกสาขาที่มีปัญหาขาดแคลนและยังมีข้อมูลและการศึกษาในเรื่องกำลังคนด้านทันตแพทย์น้อยมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจำนวนการผลิตทันตแพทย์แต่ละสถาบันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในช่วง 11 ปี ที่ผ่านมา จำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจาการที่สถาบันใหม่ๆ เปิดสอนมากกว่าที่จะเป็นการเพิ่มการผลิตของสถาบันเดิม โดยที่ผ่านมาสาธารณะและฝ่ายการเมืองเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์มากเท่ากับการขาดแคลนแพทย์ ทางด้านเภสัชกรในภาพรวมแล้ว จำนวนเภสัชกรในภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด โดยไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จึงพอจะกล่าวได้ว่าที่ผ่านมายังไม่มีปัญหาการลาออกจากราชการของเภสัชกรที่รุนแรงไม่ว่าจะก่อนหรือหลังโครงการ 30 บาท และทางด้านกลุ่มของพยาบาลนั้น เคยเป็นสาขาที่ขาดแคลนและมีการทำสัญญาใช้ทุนเช่นเดียวกัน แต่ก็ยกเลิกไปก่อนเภสัชกรเสียอีก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาภาระทางด้านการเงินของรัฐบาลและนโยบายลดจำนวนข้าราชการสรุปผลการศึกษาได้ว่าปัญหาความพอเพียงของบุคลากรในระดับที่สามารถให้บริการที่มีคุณภาพได้ ย่อมมีความสำคัญมากกว่าปัญหาการลาออกจากราชการ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่บุคลากรสาขาอาชีพหลักๆยังขาดแคลนอยู่ และโครงการ 30 บาทฯ ยังคงใช้วิธีการจ่ายเงินที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชนในต่างจังหวัดมีแนวโน้มถอนตัวออกจากโครงการมากกว่าจะเข้าร่วมโครงการนั้น การลาออกจากราชการของบุคลากรเหล่านี้ก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายเกี่ยวข้อง ควรต้องให้ความสนใจแก้ไขเป็นลำดับต้นๆ
บทคัดย่อ
The study looks upon recent changes of the health personnel situation in public hospitals in Thailand. The study covers four professions-physicians, dentists, pharmacists, and nurses. More emphasis is placed on physicians and dentists, the two scarcest health professionals, and those that public hospitals have faced the most problem retaining. The recent years have seen increasing number of resignation, and many blame this on the 30 Baht Scheme. A recent study found, however, that resignations usually determined by joint factor such as work burdens, remuneration, and further training opportunities-all of which are similar to determining factor in the past. The state of economy is important, as it affects the relative compensation between the private and public sectors. Not many physicians cited political induced factors such as the 30 Baht Scheme or Article 41-42 of the National Security Act as the main factor. However, it would be prudent not to dismiss the possibility that dissatisfaction with the 30 Baht scheme might add some weight that tip the scale on their final decisions. The number of dentist training has increased at a slower pace than those of physicians and, in most cases, is resulting from founding a new dentistry department in a new university rather expanding the existing departments. In most dentistry departments, the number of graduates fluctuates significantly from year to year. The main reason is that many first-year dentistry students would reapply to a medical school and would withdraw from the dentistry department if they were admitted to the medical school. Pharmacists used to be considered a scarce health profession in which graduates were required to work for the MOPH after graduation. Such a requirement was abolished years ago and the public hospitals usually do not have problem filling the pharmacist position, although the legal requirement to have pharmacists working in drugstores could still not be enforced. Like other health professions, Bangkok and the Central Region has more pharmacists per capita than the rest of the country, but their distribution is better than those of physician and dentists. Nurses were also considered a scarce profession in which the graduates were required to work for the MOPH after graduation. Such a requirement was abolished even before the pharmacist case, partly because the government was not willing to hire all graduated nurses. Although some public hospitals still complain that they don’t have a sufficient number of nurses, the issue isn’t of great concern for the public or politicians. If we compare the number of health personnel with the standard that was set for the Primary Care Unit (PCU) in the 30 Baht scheme, we would find dentists to be the scarcest profession. In the Northeastern Region, even if all dentists are spread evenly throughout the region (which is currently not the case), there still would not have enough dentists to satisfy the standard requirement. While other professions could meet such a standard, it should be kept in mind that the standard itself is a bare minimum. Under such a condition, and given the situation that the 30 Baht Scheme has not successfully attracted private providers, to retain a sufficient number of personnel in public hospitals would be crucial to the success of the universal health coverage program in Thailand.