• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมของผู้ดูแลกับภาวะการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสู่งอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

สมยศ ศรีจารนัย; Somyos Sricharanai; วารี สุดกรยุทธ์; อรวลิน เถาว์ชาลี; วิชิตา ธิธรรมา; มีฤทธิ์ ศรีประไหม;
วันที่: 2542
บทคัดย่อ
พฤติกรรมของผู้ดูแลกับภาวะการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้ข้อมูลในช่วงเวลาที่กำหนด (Cross-Sectional study) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้ดูแลกับภาวะการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนผู้ดูแลและผู้ป่วยกลุ่มละ 127 คน เก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 ถึงกุมภาพันธ์ 2542 จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, ค่าไคสแควร์, odd ratio ที่ความเชื่อมั่น 95% และ multiple logistre regression ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้ดูแลที่มีผลทำให้ภาวะการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อมีการควบคุมปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ ผู้ดูแลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ดูแลที่มีอายุระหว่าง 30-59 ปี 18 เท่า (95% CI = 1.4-136.3; p-value = 0.02)สถานภาพสมรส ผู้ดูแลที่เป็นโสดจะมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ดูแลที่สมรสแล้ว 1.9 เท่า (95% CI = 1.2-94.9; p-value = 0.03)รายได้ครอบครัว ผู้ดูแลที่มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 10,000 บาท จะมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ดูแลที่มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อปี 10,000 ถึง 90,000 บาท 7.4 เท่า (95% CI = 1.6-36.3; p-value = 0.01)เวลาที่อยู่กับผู้ป่วยในแต่ละวัน ผู้ดูแลที่มีเวลาอยู่กับผู้ป่วยมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวันจะมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ดูแลที่มีเวลาอยู่กับผู้ป่วยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 ชั่วโมงต่อวัน 9.6 เท่า (95% CI = 1.7-55.1; p-value = 0.01)ผู้ดูแลที่มีคะแนนทัศนคติสูงกว่าหรือเท่ากับค่าเฉลี่ยจะมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าผู้ดูแลที่มีคะแนนทัศนคติต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 4.8 เท่า (95% CI = 1.2-19.9; p-value = 0.02) และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่ากลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมีความรู้ในการควบคุมโรคเบาหวานไม่มากนัก โดยความรู้ที่ได้รับส่วนใหญ่จะมาจากตัวผู้ป่วยและเพื่อนบ้านที่เป็นเบาหวาน แต่อย่างไรก็ดีจะพบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจะให้การดูแลในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร, การออกกำลังกาย และการมาตรวจตามนัดได้ดีกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

บทคัดย่อ
Care-taker behavior and Glycemic control of elderly Non-Insulin Dependent diabetic patients , Amphur Khaowong , Kalasin Province This Survey Research was a Cross-Sectional study. The purpose was to study the relationship between care-taker behavior and glycemic control of elderly non-insulin dependent diabetic patients, Amphur Khaowong, Kalasin Province. Quantitative data and Qualitative data were collected from 127 elderly diabetic patients and 127 care takers during November 1998-February 1999. Percentage, Mean, Standard deviation, Chi-square test, Odd ratio at 95% and Multiple logistre regression were used to analyse quantitative data and qualitative data were analysed by content analysis. The results showed that the following five factors of care-taker had significantly related to glycemic control of elderly diabetic patients (p ( 0.05) :-Age : care-taker who 60 years old up had better glycemic control of elderly diabetic patient than care-taker who were 30-59 years old for 18 times (95% CI = 1.4-136.3; p-value = 0.02).Marriage status : the single care-taker had better glycemic control of elderly diabetic patient than the married person for 1.9 times (95% CI = 1.2-94.9; p-value = 0.03).Family annual incomes: the incomes less than 10,000 bath had better glycemic control of elderly diabetic patient than the incomes between 10,000-90,000 bath for 7.4 times (95% CI = 1.6-36.3; p-value = 0.01).Duration of daily care : the duration more than 12 hours had better glycemic control of elderly diabetic patient than the duration less than or equal 12 hours for 9.6 times (95% CI = 1.7-55.1; p-value = 0.01).Attitude scores : the scores equal or higher than Mean had better glycemic control of elderly diabetic patient than the scores lower than Mean for 4.8 times (95% CI = 1.2-19.9; p-value = 0.02). Deep interview showed that care-taker who take cared well and poorly controlled diabetic patients had inadequate knowledge about glycemic control in diabetic patients. Most of their knowledge were received from their diabetic patients and neighbourhoods. However, care-taker who take cared well controlled diabetic patients had better care-giving than care-taker who take cared poorly controlled diabetic patients especially dietary control, exercise and appointment with the doctor.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0756.pdf
ขนาด: 2.151Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 568
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV