• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินการใช้ยา Cefotaxime ในโรงพยาบาลโพธาราม

สุพรชัย กองพัฒนากูล; Supornchai KongPattakul; ปนิจ สมหอม; อุษา พาณิชปฐมพงศ์; ประดิษฐ์ วงษ์คณารัตนกูล; สมบูรณ์ นันทานิช;
วันที่: 2540
บทคัดย่อ
การประเมินการใช้ยา Cefotaxime ในโรงพยาบาลโพธารามCefotaxime เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม third generation cephalosporin มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อแกรมบวก แกรมลบ และเชื้อไม่พึ่งออกซิเจนบางตัว โดยเฉพาะการฆ่าเชื้อแกรมลบเหนือกว่ายาในกลุ่ม first และ second generation cephalosporin ทำให้มีการใช้ยานี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาได้ ถ้ามีการใช้อย่างไม่เหมาะ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการประเมินการใช้ยา (Drug use evaluation) ที่มีต่อลักษณะการสั่งใช้ cefotaxime ตลอดจนกำหนด criteria ที่เหมาะสมของการใช้ในโรงพยาบาลโพธาราม โดยดัดแปลงมาจาก criteria ของ ASHP (American Society of Hospital Pharmacy) เก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง 2 ปี (Pre-intervention period) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2536-ธันวาคม 2537 และแบบไปข้างหน้า (Prospective study) โดยแบ่งเป็นระยะที่มีการสร้าง criteria (Intervention period) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2538-กรกฎาคม 2538 และระยะหลังการประกาศใช้ criteria (Post-intervention period) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2538-มกราคม 2539 จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ยานี้คิดเป็น 104 ราย ในระยะ Pre-intervention 34 ราย ในระยะ Intervention และ 35 ราย ในระยะ Post-intervention หลังการประกาศใช้ criteria พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ยาเทียบกับระยะ Intervention ดังนี้ มีการใช้ยาแบบ Documented therapy ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33 ขณะที่การใช้ยาแบบ Empirical therapy มีความเหมาะสมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 มีการชั่งและบันทึกน้ำหนักผู้ป่วยลดลง ร้อยละ 47 ขณะที่มีการลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งในผู้ป่วยที่มีค่า creatinine clearance <20 ml/min เพิ่มขึ้น ร้อยละ 233.33 ขนาดยาที่สั่งใช้ในเด็กไม่เหมาะสม ไม่มีความแตกต่างกันทั้ง 2 ระยะ และการลดลงของไข้อย่างน้อย 1 องศาเซนเซียส หลังได้รับยาภายใน 3 วัน มีจำนวนลดลง ร้อยละ 14.3 และมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับทุก criteria ที่มีการเปลี่ยนแปลงผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการประเมินการใช้ยา cefotaxime มีผลต่อการสั่งใช้ยาให้เป็นไปในทางที่เหมาะสมในบาง criteria อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถบอกได้ว่าผลนี้จะอยู่นานเพียงไร
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0271.pdf
ขนาด: 831.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 93
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV