• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อส่งเสริมการวิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพ

ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์; Nathon Chaiyakunaprik; ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลระบบบริการสุขภาพ และประเมินศักยภาพของฐานข้อมูลต่อการนำไปใช้วิจัยเพื่อประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ (health outcomes research) ความเป็นธรรมทางสุขภาพเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ระเบียบวิธีวิจัย ทบทวนวรรณกรรมในและต่างประเทศ ทบทวนฐานข้อมูลสุขภาพในประเทศไทย และประเมินความเป็นไปได้ของการใช้ฐานข้อมูลข้อมูลทุติยภูมิในการวิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพ ผลการศึกษาการพัฒนาฐานข้อมูลประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพในต่างประเทศให้ความสําคัญกับการพัฒนาแฟ้มเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ แต่วางเป้าหมายประสบผลสำเร็จอีกนานถึง 10 ปี ข้างหน้าแสดงถึงความยากของการพัฒนาประเทศที่มีระบบบริการสุขภาพแห่งชาติมีความครอบคลุมของข้อมูลสุขภาพเพื่อประเมินผลลัพธ์มากกว่าประเทศที่เจริญทางเทคโนโลยีสารสนเทศทัดเทียมกันแต่ไม่มีระบบนี้ ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพจึงเป็นแหล่งข้อมูลสําคัญสําหรับประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ สถานการณ์ในประเทศไทยหลังมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีระบบข้อมูลสุขภาพที่ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน การส่งข้อมูลผ่านสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ ทําให้การรวบรวมข้อมูลรวดเร็วขึ้น แต่คุณภาพของข้อมูลเพื่อนําไปสู่การประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพยังไม่ดีนักและยังมีข้อมูลสําคัญไม่เพียงพอต่อการประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ การเชื่อมข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและระดับโรงพยาบาลภายในจังหวัด เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายปีทําให้สามารถประเมินอัตราการเข้าถึงบริการแต่ละระดับเปรียบเทียบระหว่างประชาชนในหลักประกันสุขภาพต่างชนิดกัน หรือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโรคที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังใช้ติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสถานะสุขภาพ ว่ามีโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด สรุปและข้อเสนอแนะฐานข้อมูลในประเทศไทยควรมีการพัฒนามาตรฐานให้ครอบคลุมถึงระดับบริการขั้นปฐมภูมิและควรพัฒนาชุดข้อมูลมาตรฐานให้สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทางสุขภาพที่สําคัญ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1285.pdf
ขนาด: 769.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 5
รวมทั้งหมด: 151
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV