dc.contributor.author | สุวจี กู๊ด | th_TH |
dc.contributor.author | Suvajee Good | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:22:10Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:45:17Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:22:10Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:45:17Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs0975 | en_EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1793 | en_US |
dc.description.abstract | การทบทวนความหมายของคำและนิยามทางวิชาการและในภาคปฏิบัติการของกลุ่มคำที่ใช้ในการร่างหลักการของ ร่าง พรบ. สุขภาพแห่งชาติ การศึกษานี้เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาตินั้น เป็นการศึกษาเพื่อเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและประเด็นที่ครอบคลุมในเรื่องนั้นๆ จากมุมมองทางวิชาการ จากข้อตกลงระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดคำนิยามและความหมายในร่างพ.ร.บ. คำที่นำมาศึกษาทั้งหมดมีสิบคำด้วยกันคือ สุขภาพ ระบบสุขภาพ ความมั่นคงทางสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ปัญหาคุกคามสุขภาพ การบริการสุขภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ซึ่งจากการศึกษาทบทวนก็พบว่า คำเหล่านี้ยังมีการระบุคาดเคลื่อนและไม่ครอบคลุมประเด็นอีกหลายๆ ประเด็นที่มีระบุไว้ในเอกสารสำคัญๆ เช่น จากองค์การอนามัยโลก ทั้งๆ ที่จะเห็นได้ว่า คำเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในลักษณะที่ยืมมาจากองค์การต่างประเทศโดยเฉพาะในองค์การอนามัยโลก แต่ยังมีการแปลที่คลาดเคลื่อนและไม่ครบตามประเด็น ในเนื้อหาสาระที่แท้จริงของคำ บางคำจะมีการแปลที่เฉพาะประเด็นที่ทำให้ตีความได้แตกต่างไป เช่น ความมั่นคงทางสุขภาพ นโยบายสาธารณะและปัญหาคุกคามสุขภาพ ซึ่งในหลักวิชาการและการใช้ในเวทีนานาชาติ เช่น สมัชชาสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (World Health Assembly) จะมีความหมายครอบคลุมอีกหลายๆ ประเด็นที่ยังไม่มีการพิจารณาในสังคมไทย เมื่อแปลเป็นคำดังกล่าว ผู้รับสารสามารถตีความและเข้าใจความหมายและความสำคัญของคำเหล่านี้ผิดพลาดไป โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางสุขภาพ ในบริบทสังคมไทยยังใช้ในเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง เมื่อนำมาใช้กับสุขภาพ จึงมีความเข้าใจผิดไปได้ว่ากำลังใช้คำที่เป็นการเมืองเพื่อลอกเลียนพระราชบัญญัติอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงและยังมีคำอีกหลายๆ คำที่สะท้อนแนวคิดที่แสดงถึงมุมมองเรื่องสุขภาพ ที่กว้างขวางกว่าคำนิยามที่ให้ไว้ในร่างพระราชบัญญัติ เช่น สุขภาพผู้หญิง ระบบบริการสุขภาพ ที่ไม่ใช่เพียงเรื่องการให้บริการทางสาธารณสุข เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้จึงพยายามศึกษาให้ลึกลงไปในความเป็นมาของคำที่บัญญัติในหลักสากลและทางวิชาการว่ามีบริบทของความเป็นมา เพื่อให้มีการประยุกต์ใช้กับบริบทของสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม ตามหลักการและอุดมการณ์ของการปฏิรูประบบสุขภาพต่อไป ในทุกๆ คำศัพท์จะมีบริบททางวิทยาการความรู้ ผสมผสานไปกับ แนวคิดทางการเมืองและการต่อรองทางอำนาจในสังคมต่างๆ ที่เป็นแม่บทในการร่างศัพท์เหล่านี้ไว้ด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 732338 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | สุขภาพ--คำศัพท์ | en_US |
dc.subject | ระบบสุขภาพ--ความหมาย | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การทบทวนความหมายของคำและนิยามในทางวิชาการและในภาคปฏิบัติของกลุ่มคำที่ใช้ในการร่างหลักการของร่างพรบ.สุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.title.alternative | Review of Definitions Used for Drafting National Health Act | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค068 | en_US |
.custom.citation | สุวจี กู๊ด and Suvajee Good. "การทบทวนความหมายของคำและนิยามในทางวิชาการและในภาคปฏิบัติของกลุ่มคำที่ใช้ในการร่างหลักการของร่างพรบ.สุขภาพแห่งชาติ." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1793">http://hdl.handle.net/11228/1793</a>. | |
.custom.total_download | 88 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |