บทคัดย่อ
การสร้างทีมงานสหวิชาชีพในการรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กรณีศึกษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วิธีสร้างทีมงานสหวิชาชีพในการเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน ADR ของผู้ป่วยใน โดยมุ่งเน้นที่การรายงาน ADR ที่มีความรุนแรงระดับปานกลางและมาก ทำการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experiment) วัดผลก่อนและหลังทำการศึกษาเปรียบเทียบกัน ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมในช่วงที่ศึกษา รวม 8 หอ ตัวแปร คือ สัดส่วนของจำนวนรายงาน ADR ที่ได้รับต่อจำนวนผู้ป่วยที่เกิดADR ใช้ Naranjo’s algorithm ประเมินการเกิด ADR วัดผล 3 ครั้งๆ ละ 1 เดือน คือ ก่อนทำการศึกษา หลังทีมงานสหวิชาชีพดำเนินการ 3 เดือน และ 8 เดือน เพื่อวัดความคงอยู่ของระบบ วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการศึกษา: พบว่าหลังทีมงานสหวิชาชีพดำเนินการ 3 เดือน ประสิทธิภาพการรายงาน ADR ที่มีความรุนแรงปานกลาง เพิ่มขึ้นจาก 0% (0/12) เป็น 75% (6/8) และรายงาน ADR ที่มีความรุนแรงมากเพิ่มจาก 0% (0/0) เป็น 100% (1/1) เมื่อระบบคงที่หลังทีมงานสหวิชาชีพดำเนินการ 8 เดือน พบว่ารายงาน ADR ที่มีความรุนแรงปานกลางเพิ่มเป็น 100% (6/6) แต่ไม่พบผู้ป่วยเกิด ADR ที่มีความรุนแรงมาก และพบว่าหลังมีทีมงานสหวิชาชีพจำนวนรายงาน ADR ที่มีความรุนแรงปานกลางเพิ่มเป็น 74 ฉบับ และรุนแรงมาก 16 ฉบับ นอกจากนี้มีรายงาน ADR ที่พบน้อย และADR จากยาใหม่เพิ่มขึ้นด้วย รายงาน ADR ที่ได้รับมีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น สามารถป้องกันผู้ป่วยเกิด ADR ซ้ำ โดยบันทึกในเวชระเบียนและมอบบัตรแพ้ยาให้ผู้ป่วยได้ 79 ราย จำนวนรายงานADR ของผู้ป่วยในทั้งหมดเพิ่มจาก 7 ฉบับ เป็น 149 ฉบับต่อปี สรุปผลการศึกษา: ทีมงานสหวิชาชีพสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรายงาน ADR ที่มีความรุนแรงปานกลางและมากได้ โดยมีแนวโน้มว่าระบบสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงควรนำมาเป็นแนวทางในการติดตาม ADR ให้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล และทดลองศึกษาในโรงพยาบาลอื่นต่อไป รวมทั้งมีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังแบบเชิงรับร่วมด้วย
บทคัดย่อ
The reporting system of adverse drug reaction in medicine unit of Sappasittiprasong hospital by multidisplinary approach The study intended to increase the efficiency of in-patient ADR reporting, that emphasized on moderate and severe cases. Multidisciplinary medical team had been established and run the quasi-experiment in 8 medicine wards. The variables were numbers of ADR case report compared with numbers of ADR case between before and after the experiment. ADR cases were assessed the causality by Naranjo’s Algorithm. The efficiency of ADR reporting was evaluated in 3 period time, followed at before study, 3 months and 8 months after implementation. The results were analyzed in descriptive statistics.Results: Moderate ADR reports increase in term of efficiency, 0 % (0/12) before study to 75 % (6/8) after 3 month and 100 % (6/6) after 8 month. Severe ADR reports increase from 0 % (0/0) before study to 100 % (1/1) after 3 month but not found any case after 8 month. The number of moderate ADR reports increased 74 reports and severe ADR reports increased 16 reports after implementation of multidisciplinary team. Rare ADR and ADR occurred from new drugs were reported too. 79 patients were notified ADR history in those patient drug profile and advised them to aware by themselves. In 2000, 149 ADR case reports have been reported compare with only 7 case reports in 1999.Conclusions: Multidisciplinary team could improve an efficiency of moderate and severe ADR case reports and showed that this developed system trend to run continuously. So multidisciplinary team should be used in full system of Sappasittiprasong Hospital and should be studied in another hospitals in the next time. ADR reporting in the hospital should be run in more proactive manner.