บทคัดย่อ
วิวัฒนาการของการควบคุมโรคเอดส์ในประเทศไทย : แบบอย่างของการพัฒนาแนวคิดส่งเสริมสุขภาพการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิวัฒนาการของการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคเอดส์จนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ.2540 วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวิเคราะห์เอกสารการศึกษา และวิจัยภารกิจ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในประเทศไทย โดยจำแนกการศึกษาออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ การศึกษาเพื่อสังเคราะห์วิวัฒนาการกระบวนทัศน์ส่งเสริมสุขภาพของกระบวนการจัดการกับปัญหาเอดส์ การศึกษากลไกทางข้อมูลข่าวสารในการนำเสนอสถานะการณ์ของปัญหาเอดส์ การศึกษาการรวมตัวทางประชาสังคมเพื่อรวมพลังจัดการกับปัญหาเอดส์ การศึกษาพัฒนาการทางนโยบายสาธารณะในการตอบสนองต่อปัญหาเอดส์ การศึกษาวิวัฒนาการของมาตรการทางสุขภาพและสังคมในการแก้ไขและป้องกันปัญหา เอดส์ หลังจากนั้นจึงใช้กรอบการสร้างกระบวนทัศน์ส่งเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์กรอบแนวคิดส่งเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการกับปัญหาเอดส์ของประเทศไทยผลการศึกษาการพัฒนานโยบายสาธารณในการจัดการกับปัญหาเอดส์ได้ก่อตัวเพื่อสร้างสรรค์ โครงสร้างทางนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยมียุทธวิธีหลักที่ใช้ได้แก่ การสร้างสิ่งแวด-ล้อมทางสังคม สร้างศักยภาพของบุคคล และชุมชนให้เข้มแข็งพอที่จะจัดการกับปัญหาเอดส์ได้ด้วยตนเอง และได้ปรับมาตรการทางสุขภาพและสังคมให้มีสมรรถนะพอที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้ ในกระบวนการดังกล่าวใช้กลวิธีทางข้อมูลข่าวสารและการวิจัย เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาคีต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นแนวร่วมทางยุทธศาสตร์ มีการให้ข้อมูลเพื่อชี้นำและกำหนดกรอบนโยบายของรัฐให้เป็นแกนกลาง ประสานให้องค์กรทุกภาคส่วนดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ ตลอดจนมีการใช้กลไกของทุกภาคส่วนใหญ่ในการพัฒนามาตรการในการเสริมสร้าง ทักษะของบุคคล และชุมชนจนเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ลดลง สรุปผลการศึกษา วิกฤตการณ์จากโรคเอดส์สามารถปลุกประชาคมไทยให้ตื่นตระหนัก และเข้าใจปัจจัยของปัญหาทาง สุขภาพที่มีผลมาจากเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ตลอดจนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าในการที่รัฐบาลไทยใช้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จนประสบผลสำเร็จอย่างชัดเจน
บทคัดย่อ
Evolution of Thailand's HIV/AIDS Preventive and Alleviative National ProgrammedObjectives : To study evolution of Thailand's HIV/AIDS Preventive and Alleviative National Programmed from the advent of HIV/AIDS epidemic until the end of 1997. Subjects and methods : Researchers revised and analyzed the HIV/AIDS related studies to illustrate Thailand 's missions and activities to prevent and control HIV/AIDS epidemic. To conceptualize AIDS paradigm shift the studies were subcategorized into 6 parts : AIDS paradigm development, evolving HIV/AIDS information system for good governance, HIV/AIDS catalytic role for civil society, AIDS public policy development, as well as evolution of the HIV/AIDS social and health services. Then the conceptual frame work for Health Promotion from the Ottawa Charter was employed to analyze the emerging Thailand's societal AIDS response.Results : HIV/AIDS public policy have been developed to create up the strategic infrastructure for HIV/AIDS prevention and alleviation. The crucial strategic areas which was the main finding are social environment, personal and community empowerment as well as social and health measure reorientation. To achieve these societal evolution, the well developed information system to intercommunicate all the strategic alliances have been undertaken and an effective advocacy had been continually worked out so that the government can play their central role to collaborate the participatory function all the sectors. The individual and community empowerment have been turned to be the major tooldeveloped to change the people's life style so that the epidemic of HIV/AIDS is under control and the HIV incidence have declined to a lower rate than last 5 years ago.Conclusions : AIDS crisis is so serious and complex that it can alert Thai society to learn and understand the intertwined health causal determinants which have its roots from social, economic, cultural and political infrastructure. The way its government develop a sounded health promotion strategy is the valuable lesson learnt then apply to other kind of health problems.