บทคัดย่อ
จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีการจัดสรรงบประมาณสาธารณสุขใหม่ โดยใช้วิธีเหมาจ่ายรายหัวในผู้ป่วยนอก และจ่ายตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มโรคร่วมสำหรับผู้ป่วยใน อาจมีจุดอ่อน ผู้ให้บริการมี/รับความเสี่ยง เลือกเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ ปฏิเสธไม่ยอมรับผู้ป่วยเรื้อรัง เช่นจิตเวชไว้ในทะเบียน อาจลดความเสี่ยงด้วยการให้บริการต่ำกว่าที่ผู้ป่วยต้องการ รวมถึงอาจกระทบต่อคุณภาพบริการ การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบาย 30 บาท วิเคราะห์แบบแผนการให้และการใช้บริการจิตเวชของผู้ป่วยในของประเทศไทย และผลกระทบตลอดจนการปรับตัวของสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตในเขตภาคเหนือของประเทศไทยปีงบประมาณ 2544 และ 2545วิธีการศึกษา การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ทำการศึกษาย้อนหลัง ในปีงบประมาณ 2544-2545 ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ สถานพยาบาลภาครัฐทั้งหมดที่มีบริการผู้ป่วยในทางจิตเวช เครื่องมือที่ใช้ คือแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน ระบบฐานข้อมูล 12 แฟ้ม หรือระบบอื่นๆ ที่เหมือนกัน และแบบ รายงานการรับและจ่ายเงิน เงินงบประมาณ สจ.รง. 1031, เงินบำรุง สจ.รง. 1032 และเงิน สปร.ง. 102 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/FW, Visual Foxpro, Excel และ Are View ผลการศึกษาผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) การศึกษาแบบแผนการใช้และการให้บริการทางจิตเวชของไทย ปีงบประมาณ 2544 และ 2545 พบว่า ประเทศไทยมีสถานพยาบาล ภาครัฐทั่วประเทศที่ให้บริการผู้ป่วยในทางจิตเวชประมาณ 720 และ 985 แห่ง ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยในทางจิตเวชปีละกว่า 70,000 ราย ส่วนใหญ่ใช้บริการของสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ หรือ ทุติยภูมิสูงถึงร้อยละ 57 รองลงมาใช้บริการของสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต, สถานพยาบาลที่ให้บริการทางจิตเวชเป็นพิเศษ และโรงเรียนแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 36, และ 1 ตามลำดับ จิตแพทย์ของไทยในปี พ.ศ. 2544 มีจำนวนทั้งหมด 387 คน เป็นจิตแพทย์สังกัดภาครัฐประมาณร้อยละ 80 ที่เหลืออยู่ในภาคเอกชน จิตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของภาครัฐที่มีการให้บริการผู้ป่วยในมีจำนวน 211 คน คิดเป็นจิตแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 0.34 คน ต่อ 100,000 ประชากรการกระจายตัวของจิตแพทย์ไม่เท่าเทียม เห็นได้จากจำนวนจิตแพทย์มากกว่าครึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร การใช้บริการผู้ป่วยในทางจิตเวชมีการใช้บริการข้ามเขตระดับจังหวัดสูงร้อยละ 30 ในขณะที่มีการใช้ข้ามเขตระดับเขตสาธารณสุขและเขตมหาดไทยมีค่าใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 14 จังหวัดที่มีการใช้และให้บริการสูงมักเป็นจังหวัดที่ตั้งของสถานพยาบาลที่สามารถให้บริการทาง จิตเวชได้และ/หรือ มีจิตแพทย์อยู่ กลุ่มโรคทางจิตเวชที่พบมากที่สุด คือ โรคจิตชนิดจิตเภท (Schizophrenia and Acute psychotic disorders) รองลงมาเป็นความผิดปรกติจากการติดยาและสารเสพติดชนิดต่างๆ (Substance-Related disorders), โรคประสาทชนิดวิตกกังวล (Anxiety disorders) ตามลำดับ โดยสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิมีแนวโน้มจะมีจำนวนผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าบริการที่เรียกเก็บต่อรายเพิ่มขึ้น ในขณะที่สถานพยาบาล เฉพาะทาง สังกัดกรมสุขภาพจิตมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยลดลง และมีการลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายต่อรายลง ส่วนที่ 2) การศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของสถานพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2544-2545 พบว่า มีสถานพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ และศูนย์พัฒนาการเด็กภาคเหนือ สถานพยาบาลเหล่านี้มีสัดส่วนการใช้เงินงบประมาณสูงถึงร้อยละ 80-90 มีอัตราคืนทุนที่คิดจากค่าบริการที่เรียกเก็บได้จากค่าบริการที่เรียกเก็บทั้งหมดตั้งแต่ร้อยละ 14-37 โดยภาพรวมมีเงินบำรุงสุทธิเพิ่มขึ้น ในช่วงที่ทำการศึกษาสถานพยาบาลได้รับเงินงบประมาณไม่แตกต่างกัน สถานพยาบาลมีการปรับตัวต่อนโยบาย 30 บาท โดยจัดระบบติดตามเร่งรัดหนี้สินและลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยลง โดยเฉพาะการลดจำนวนวันนอนอภิปรายผล การบริการผู้ป่วยในทางจิตเวชมีการข้ามเขตบริการสูงมาก เนื่องจากการกระจายตัวของจิตแพทย์และสถานพยาบาลเฉพาะทางที่ไม่ทั่วถึง และชื่อเสียงของสถานพยาบาลเฉพาะทางที่มีมานาน การใช้นโยบาย 30 บาท มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการให้และการใช้บริการผู้ป่วยในทางจิตเวชคือ สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิมีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยใน, จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าบริการที่เรียกเก็บต่อราย ในขณะที่สถานพยาบาลเฉพาะทางสังกัดกรมสุขภาพจิตจะลดจำนวนผู้ป่วย, จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายต่อรายลง ส่วนกรณีศึกษาสถานพยาบาลเฉพาะทางในเขตภาคเหนือเห็นว่าสถานพยาบาลไม่ได้รับผลกระทบทางด้านการเงินมากนัก เนื่องจากแห่งเงินทุนใหญ่คือ เงินงบประมาณยังคงมีการจัดสรรเช่นเดิม (ปีงบประมาณ 2544-2545) แม้การเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโครงการ UC จะมีมูลค่าน้อยกว่าที่สถานพยาบาลเคยได้รับ จากโครงการสปร.เดิมก็ตาม เนื่องจากเงินส่วนนี้เมื่อเทียบสัดส่วนกับเงินงบประมาณแล้วเป็นสัดส่วนน้อย อนึ่งสถานพยาบาลได้มีการปรับตัวที่สำคัญมาก คือ การลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ทำให้สถานพยาบาลสามารถลดต้นทุนบริการลงได้เป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ทำการศึกษานี้ เป็นระยะเวลาสั้นๆ ของช่วงเปลี่ยนผ่านของการใช้นโยบาย ผลการศึกษาจึงอาจไม่ชัดเจนนัก ประกอบกับลักษณะของโรคไม่ได้ทำให้ถึงแก่ชีวิตในเวลาสั้นหรือเห็นผลรวดเร็ว จึงควรมีการศึกษาติดตามผลต่อไป รวมทั้งควรเน้นการศึกษาในมุมมองของผู้ใช้บริการคือผู้ป่วยด้วย
บทคัดย่อ
According to Thailand’s financial crisis many years ago, Thailand has dramatically developed new budgetary resources allocation system for public health finance through capitation payment for out-patient group and DRG relative weight to purchase inpatient care for in-patient group. However, this new system was likely to create moral hazards. For example, service providers give low quality medical service to patients, or accept only low-risk patients, and reject chronic patients like psychiatric patients. This study has a main purpose to analyze 30 baht service patterns provided by hospitals and taken by psychiatric patients in Thailand. Also, this research shall encompass to its continuing effects and adjustments by hospitals under health department of Thailand’s Northern region during budgetary year 2001-2002.Methodology This retrospective narrative study collected and collated information from in-patients in all public psychiatric hospitals during budgetary year 2001-2002. Studying tools consist of in-patient data report, 12 file database or other compatible systems, budgetary fund & use report (Sor Jor Ro Ngor 1031), supporting fund (Sor Jor Ro Ngor 1032), and fund from Sor Por Ro Ngor 102. Data have been analyzed by software programs e.g. SPSS/FW, Visual Foxpro, Excel, and Arc View. Results This study has been classified into 2 parts as follows: Part I: According to psychiatric Service Pattern during budgetary year 2001-2002, there were 720 and 985 public psychiatric hospitals which have in-patient services in 2001 and 2002, respectively, In each year, there were over 70,000 psychiatric in-patients which mostly use psychiatric services in primary hospitals approximately 57 %, followed by hospitals under mental health department (36%), other hospitals with psychiatric service (6%), and medical school (1%), respectively. In 2001, there were totally 387 Thai psychiatric doctors who approximately 80% have worked with public sector. Practical psychiatric doctors working with in-patient departments under public sector were only 211 which was accounted for MMM doctor to population ratio of 0.34:100,000 population. Our finding reveals that psychiatric doctors are imbalance distributed evidencing from over half lived and worked in Bangkok Metropolitan. Additionally, provincial cross services were as high as 30% as public health district cross services were only 14%. Provinces with high psychiatric service record usually the ones that have psychiatric hospitals in the area. Most found diseases are Schizophrenia and Acute Psychotic Disorders, followed by Substance-Related Disorders, Anxiety Disorders, and Mood Disorders, respectively. Part II: From effect & adjustment study of hospitals under mental health department in Thailand’s Northern region during year 2001-2002, there were a total of 3 public psychiatric hospitals: Suan Prung Psychiatric Hospital, Nakornsawan Psychiatric Hospital, and Northern Child Development Center. These hospitals had a proportion of using budgetary fund of 80%-90% as capital return from service change is approximately 14-37%. In board perspective, supporting fund is likely to increase, During this study, budgetary fund support was insignificantly different. Hospitals have been adjusting their systems to 30-Baht policy by tight debt-following policy and diminishing length of stay for in-patients.Discussion Currently, public health district cross services has recording high. This might come from the following reasons: an inequilibrium distribution of psychiatric doctors and hospital, reputation-lead-people to special hospitals. 30-Baht policy’s implementation drove changes on behavior of service use & take pattern by pattern by patients and by service providers as follows: primary and secondary hospitals increased number of in-patients, length-of-stay, and individual service charges. Contrarily, number of patients, length-of-stay, and individual service charges in hospitals under mental health department was declined. Evidenced from hospitals in Thailand’s Northern Region, financial difficulties have slightly affected due to stable budgetary fund supported in year 2001-2002 even service charges collected from UC program being less in comparison with previous level. More significantly, dig-to earth practical adjustments have been implemented. Minimizing length-of-stay effect has drastically reduced service costs and expenses. However, due to short-period data collection under this study and disease not lead to death soon or immediate cure, so this research cannot be totally concluded at this stage, Further study should be extended and further study in patient’s perspective is worthy for exploration.