บทคัดย่อ
มาตรการหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมโรคเบาหวานคือ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ณ สถานบริการสุขภาพ จากจำนวนผู้ป่วยที่มีรายงานต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ ของหมู่บ้านสนามแจ้ง ตำบลไพร อำเภอขุนหาญ โรงพยาบาลขุนหาญจึงได้ทำการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ในหมู่บ้านสนามแจ้ง ระหว่างเดือนมีนาคม 2544 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2545 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างแท้จริง ตั้งแต่การวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อกำหนดปัญหาให้ชัดเจน กำหนดกิจกรรม และวางแผนการดำเนินการ ตลอดจนดำเนินกิจกรรมตามแผน และสรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ด้วยการสนับสนุนขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีเวทีในการสนทนาร่วมกันเป็นระยะ โดยผู้เข้าร่วมที่เป็นแกนหลักประกอบด้วย ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 3 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน ตัวแทนประชาชนกลุ่มอายุระหว่าง 25-60 ปี จำนวน 8 คน รวมเป็น 14 คน ทั้งนี้ มีบุคลากรสาธารณสุขทั้งจากสถานีอนามัยซึ่งเป็นสถานบริการด่านหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่โดยตรง และโรงพยาบาลขุนหาญ จากการจัดกระบวนการสนทนากลุ่มทำให้ชุมชนสามารถกำหนดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้ดังนี้ คือ ขาดความตระหนัก เนื่องจากการรับรู้ และความเข้าใจต่อโรคเบาหวานไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องของคนในชุมชนส่วนหนึ่ง ว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ ทำให้รู้สึกกลัว และหากรู้ว่าเป็นแล้วจะรับไม่ได้ หรือ ร่างกายแข็งแรงดี ไม่ต้องไปตรวจ เป็นเหตุให้คนส่วนหนึ่งไม่มารับบริการตรวจคัดกรอง เป็นต้น ตลอดจนทัศนคติที่ว่าเป็นโรคเบาหวานที่มีอาการแทรกซ้อนจะทรมานมาก รักษาไม่หาย ตายอย่างเดียว ส่วนความรู้ด้านการรักษา บางส่วนยังเชื่อว่าการใช้สมุนไพรบางชนิด เช่น น้ำต้มใบขี้เหล็กสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานที่ผ่านมา คือ การให้บริการไม่ต่อเนื่องเนื่อง จากการสนับสนุนแถบตรวจปัสสาวะจากหน่วยงานสาธารณสุขไม่เพียงพอ ผู้มารับบริการขาดความเชื่อต่ออาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ตรวจ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว กลุ่มได้กำหนดกิจกรรมการดำเนินการซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการประชาสัมพันธ์รณรงค์การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชน โดยใช้สื่อบุคคล แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ และสื่อหอกระจายข่าว กิจกรรมให้ความรู้ โดยเปลี่ยนรูปแบบจากการปฏิบัติเดิมที่ให้บุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้ให้ความรู้ โดยมีรูปแบบการถ่ายทอดในลักษณะการอบรมหรือการสอน เป็นการให้ชุมชนมามีส่วนร่วม มีอาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งเป็นคนในชุมชนบอกเล่าเรื่องราว ร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานมาเล่าถึงประสบการณ์ตรงกับโรค เปิดเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนร่วมกันหาคำตอบที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ทั้งนี้มีภาคส่วนต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัย และโรงพยาบาลชุมชน ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ หลังจากการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักต่อโรคเบาหวานแล้ว กิจกรรมที่ดำเนินการต่อมาคือ การรณรงค์การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ซึ่งมีกลุ่มเสี่ยงที่มาเข้ารับการตรวจจำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 72.9 ของจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและมีความเสี่ยงทั้งหมด 96 คน ผลการตรวจคัดกรองพบว่า มีผู้ให้บวกในการตรวจคัดกรองด้วยแถบตรวจน้ำตาลในปัสสาวะจำนวน 17 คน ซึ่งได้ตรวจยืนยันด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า จากจำนวนที่ส่งต่อ 17 คน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยืนยันจากผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 1 คน หลังจากการรณรงค์ การตรวจคัดกรองและมีการค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ดังกล่าว ทำให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว และตระหนักต่อปัญหาเรื่องโรคเบาหวานมากขึ้น โดยกลุ่มได้มีการกำหนดให้มีกิจรรมการให้บริการตรวจคัดกรองทุกวันเสาร์ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชน อบรมฟื้นฟูความรู้ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน ตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงปีละ 1 ครั้ง เสนอของบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดต่อองค์การบริหารส่วนตำบล จากการดำเนินโครงการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้เกิดทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และชุมชนปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานด้านสุขภาพ ชุมชนรับรู้ และตระหนักว่า เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของชุมชนด้วย ไม่ใช่ให้เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรับรู้ถึงศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหาด้านต่างๆ
บทคัดย่อ
Diabetes Mellitus(DM) is a chronic disease which needs long term care. Main problems happened to the patient are complication causing decreasing in quality of life. Early deteetion can result in controlling disease. One of the main measures used is screening for DM both at peripheral health facility, so called ‘health center’, and primary health care community center (PHCC). However, the effective of this measure would rely on the number of client attending the service which is no voluntary basis. According to low reported DM cases in comparison with others, Khun Han hospital conducted a research to investigate community participation on screening for DM from March 2001 to February 2002 which place emphasis on ‘real participation’ at all step of the intervention program including situation analysis, identifying activities, implementing identified activities and conclusion and evaluation. This program involved related organizations and units. By convening group discussion, the core participants included village leaders 2 persons, representatives of village health volunteers 3 persons, member of Tambon Administrative Organization (TAO) 1 person, representatives of villagers aged 25-60 years old 8 persons facilitating by health personnel both from health center and hospital. According to the group discussion, identified obstacles or problems of low attending screening test were insufficient or wrong perception, knowledge and understanding on DM as well as wrong attitude toward the disease. For instance, ‘DM can not be cured’ so they are afraid to know or ‘we are so strong and healthy. It’s not necessary to be tested’. Furthermore, some thought that complications of diabetes are so severe. Patient will die soon. Regarding in-corrected knowledge, some villagers believe that some kind of herbs can cure the disease. Apart from the client side, problems on services were insufficient of urine strip for testing urine sugar in addition to villagers did not trust on the capability of the village health volunteers who provided service. Based on the findings, the group defined the necessary activities including announcement of campaign of screening for DM via person to person and broadcasting on village loud speakers. To provide knowledge and activate the awareness of the villagers, a meeting were convened at the village hall. The main contributors were village health volunteers and the one who has direct experiences on caring the diabetes patients. The session was organized as group discussion and sharing experiences among the participants and ended with ‘question & answer’. This differs from the former health education activities which was mostly done by health personnel. After being motivated the awareness, campaign of screening for DM was conducted. Out of 96 risk group, 70 villagers (72.9%) were tested for DM. There were 17 persons having positive results with urine strip. These positive cases were confirmed by fasting blood sugar determination. Out of 17 cases, one was diagnosed as DM. After finding new case, the community was aware of DM. Following activities were identified, namely, providing weekly service on screening for DM at PHCC, organizing refreshing course on diabetes mellitus to village health volunteer, registering DM cases living in the community, screening test for diabetes in risk group at least once a year, submitting request to TAO for blood glucose testing equipment.Being conducting research emphasizing on community participation has effects on attitude of health personnel and community regarding to health matter. The community perceive that health is their own matter not the matter for health personnel only. In addition, health personnel realize on the potentials and capacity of the community in managing problem solving.