• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและภาพพันธกิจในทศวรรษหน้า

ไพโรจน์ ภัทรนรากุล; Pairote Pathranarakul; วีระวัฒน์ ปันนิตามัย; Weerawat Phannitamai;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริหารราชการและภาพพันธกิจในทศวรรษหน้า มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอภาพทัศน์ (Scenario) การเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และโครงสร้างระบบบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุขที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมุ่งศึกษาถึงผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานโดยเฉพาะเรื่องการบริหารยุทธศาสตร์ กำหนดกรอบวิสัยทัศน์ ภาพพันธกิจ และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขที่เชื่อมโยงกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เพื่อเสนอบทบาทและหน้าที่ใหม่ และเสนอรูปแบบโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม ตลอดจนเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ และกรอบทิศทางกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อสนองต่อบทบาทใหม่แนวทางการศึกษาวิจัยอาศัยแนวทางเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคในการศึกษาวิจัยผสมผสานหลายรูปแบบ รวมถึง การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึกผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารในกระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การระดมความคิดร่วมกับที่ปรึกษาการวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นวิสัยทัศน์และภาพพันธกิจในอนาคต โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม และแผนกำลังคนด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหาร รวมถึงการจัดทำสนทนากลุ่ม การสำรวจความคิดเห็นและการศึกษาดูงานภาคสนามโดยเลือกพื้นที่ตัวแทนจาก 5 ภาค รวม 13 จังหวัด ผลการศึกษาวิจัยที่สำคัญสรุปเป็น 4 ประเด็น คือ ประการแรก ความก้าวหน้าของการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงยุทธศาสตร์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงมองว่า ในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสับสน เนื่องจากมีหลายเรื่องที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงจะไปในทิศทางใด ภาพการเปลี่ยนแปลงนั้นมีการจัดกลุ่มภารกิจทำให้เกิดการบูรณาการและการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ขณะที่หลายท่านมีทัศนะว่าโครงสร้างยังคงเหมือนเดิม เนื่องจากมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการโยกย้ายกลุ่มงานเท่านั้น ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคาดหวังว่าในอนาคตกระทรวงสาธารณสุขควรมีโครงสร้างที่เล็กลงแต่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ประการที่สอง วิสัยทัศน์และพันธกิจ จากทัศนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้แสดงความคิดเห็นถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจ มองว่า “กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นแกนนำทางความคิดในการประสานความร่วมมือในการสร้างสังคมไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี” ส่วนพันธกิจในอนาคตเห็นพ้องกับกรอบพันธกิจที่มุ่งไปสู่ Health Stewardship ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค และเน้นการส่งเสริมสุขภาพประการที่สาม บทบาทหน้าที่และโครงสร้างที่เหมาะสม บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในทัศนะของผู้บริหาร ได้แก่ เสริมสร้างสุขภาพ พัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองหรือป้องกันตนเองด้านสุขภาพได้ ประสานและยกระดับเครือข่ายประชาสังคมที่เข้มแข็ง รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการด้านงานบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และการส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องประการที่สี่ แนวทางพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และทิศทางกำลังคนด้านสุขภาพ ให้ความสำคัญเรื่องแนวคิดในการจัดทำแผนกำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขให้มีความเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และต้องมีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ การพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการปรับบทบาทภารกิจจากบริการมาสู่การกำกับดูแลตรวจสอบ มีการพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพภายใต้สภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1233.pdf
ขนาด: 1.947Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 170
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV