บทคัดย่อ
การสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ: บริบทของวิชาชีพและสถานบริการสุขภาพ เป็นการศึกษาบทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์ การพยาบาล เภสัชกรรม และทันตกรรม ในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยสังเคราะห์จากกรณีศึกษา 8 เรื่อง ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นระบบบริการสุขภาพขั้นต้นที่ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสภาพแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชนอย่างเป็นองค์รวม ต่อเนื่อง รวมถึงการเยี่ยมบ้าน เป็นสถานบริการสุขภาพที่ตั้งอยู่ใกล้บ้าน เข้าถึงบริการได้ง่าย มีบริการพื้นฐานที่ต้องการ และให้บริการโดยบุคลากรวิชาชีพ มีการทำงานเป็นทีมและประสานกับองค์กรในชุมชน มีเครือข่ายบริการ และการมีระบบส่งต่อผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนไปยังสถานบริการระดับที่สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั้งนี้ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ทางสุขภาพและส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการสร้างสุขภาพ การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิพบโครงสร้าง 5 ลักษณะ คือ 1. การจัดให้มีศูนย์สุขภาพชุมชนในอาคารหรือบริเวณโรงพยาบาลหรือในเขตเมืองโดยทำเป็นหน่วยเวชปฏิบัติ (extended OPD) มีบุคลากรประจำหรือหมุนเวียนบุคลากรโรงพยาบาลไปปฏิบัติงาน 2. การสร้างศูนย์สุขภาพชุมชนในโรงพยาบาลหรือในเขตเมืองเพื่อเป็นต้นแบบ PCU โดยมีบุคลากรประจำปฏิบัติงาน 3. การปรับหรือจัดให้มีหน่วยเวชปฏิบัติครอบครัวหรือทีมเยี่ยมบ้านที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพโดยไปเยี่ยมทั้งผู้ป่วยที่จำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยเรื้อรัง และประชาชนทั่วไปที่บ้าน 4. การพัฒนาสถานีอนามัยที่มีศักยภาพ ศูนย์สาธารณสุข หรือศูนย์สุขภาพชุมชนเดิมให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน โดย (ปรับแนวคิดและวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่เดิม (เน้นบริการการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมากขึ้น (จัดบริการเยี่ยมบ้านอย่างเป็นระบบ) จัดบุคลากรวิชาชีพจากโรงพยาบาลคู่สัญญาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ (CUP) ไปปฏิบัติงานถาวรหรือเป็นครั้งคราว 5. การเป็นร้านขายยาโดยให้ความรู้เรื่องการใช้ยาและการสร้างเสริมสุขภาพ บุคลากรหลักที่ให้บริการในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข บางแห่งมีแพทย์หรือเภสัชกรประจำทุกวันหรือบางวัน และมีทันตแพทย์มาเป็นบางวัน ในศูนย์สุขภาพชุมชนนอกเมือง บางแห่งยังมีทันตาภิบาล พนักงานสุขาภิบาล ร่วมในทีมด้วย การทำงานมุ่งการทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพ โดยแต่ละวิชาชีพมีบทบาทหน้าที่ในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ดังนี้ แพทย์ ตรวจวินิจฉัยให้การรักษาโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง แก่ประชาชนทุกกลุ่ม ให้การสอน ให้คำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพ เยี่ยมบ้าน บริหารจัดการหน่วยบริการ พยาบาล ตรวจสุขภาพเด็ก ให้ภูมิคุ้มกันโรค ตรวจครรภ์ ให้การสอน ให้คำแนะนำเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเอง ตรวจและให้การรักษาโรคเบื้องต้น บริการเยี่ยมบ้าน สำรวจข้อมูลทำแฟ้มประวัติครอบครัว เฝ้าระวังโรคระบาดต่างๆ สร้างความร่วมมือกับชุมชน บริหารจัดการหน่วยบริการ (เมื่อไม่มีแพทย์) เภสัชกร บริบาลทางเภสัชกรรมใน PCU บริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้าน บริหารยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ใน PCU การจ่ายยา การให้คำแนะนำและคำปรึกษาเรื่องการใช้ยา เยี่ยมบ้าน ทันตแพทย์ ให้การรักษาฟัน ได้แก่ การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การให้ยาระงับความเจ็บปวด ส่งเสริมและป้องกันปัญหาของสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำทางทันตกรรม การใช้ฟลูออไรด์ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การเคลือบหลุมร่องฟัน การเคลือบฟลูออไรด์ การให้คำแนะนำให้ประชาชนดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองเงื่อนไขของการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 1. ความเข้าใจและประสบการณ์ของผู้บริหารโรงพยาบาลหรือผู้ปฏิบัติที่เคยทำโครงการในลักษณะใกล้เคียง 2. ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติร่วมกันกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติงาน 3. การสร้างความแตกต่าง การเพิ่มคุณค่าบริการ 4. การปรับแนวคิดและวิธีการทำงานของบุคลากร 5. การเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็นให้กับบุคลากร เช่น แนวคิดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ การทำงานในชุมชน และการดูแลสุขภาพครอบครัวและชุมชน เป็นต้น 6. การสร้างความเข้าใจและความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของบุคลากรกลุ่มต่างๆ การสร้างขวัญและกำลังใจ 7. บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นทีม และเคารพในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน 8. การมีบุคลากรในจำนวนที่เพียงพอและมีภาระงานที่เหมาะสม 9. การมีบุคลากรวิชาชีพตามประเภทและจำนวนที่กำหนด 10. ความเข้าใจแนวคิดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและความตั้งใจจริงของผู้บริหาร 11. การสนับสนุนที่เข้มแข็งขององค์กรในชุมชน 12. รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงานตามนโยบาย 13. การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในมิติต่างๆ ผ่านกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ
A Synthesis of the Role and Structure of Primary Care Service System: in the Context of Health Professional and Health Services A Primary Care Service System (PCSS) is believed to be the system that can enhance people’s health. However due to the unclear policy and concepts of PCSS and the policy announcement on univeral health care coverage, each health care setting creates its own management. This synthesis was made in order to find out the role and structure of PCSS and roles of health professional personnel including physicians, nurses, pharmacists and dentists in the transition period. The data were synthesized from 8 case studies. The findings were as follows : PCSS is defined as the fundamental care service aiming to provide health promotion, disease prevention, therapeutics and rehabilitation services to individual, family and community through the holistic approach and continuation. Home health service is also included. It is the health service place which is near, is easy to access, has needed services and the service is provided by professional persons who work as a team and coordinate with a community organization. There is a network of service and an effective referral system. PCSS is aimed to empower people to be health self-reliant and promote family and community participation in health building.PCU structures 1. Establishment of a PCU as on an extended OPD. It is located in the hospital building or hospital area or in an urban area. It has permanent staff or hospital staff taking turns to work in the PCU. 2. Establishing the PCU in a hospital or in an urban area to be a PCU model. Permanent staff are hired to work in the PCU. 3. Adjusting or extending the activities of social medicine or home visit teams to be multidisciplinary teams and visit both discharged patients, chronically ill patients and general people at home. 4. Development of a potential health center, public health center or community health center to become a PCU by changing personnel’s way of thinking and working, emphasizing health promotion and disease prevention , providing systematic home visit and assigning health personnel from contracted units of primary care service (CUP) to work temporarily or permanently at PCU. 5. A drug store serves as a PCU by providing knowledge on drug use and health promotion. The main persons who work in PCUs are nurses and public health personnel. Some PCSS, physicians or pharmacists may work every day or a few days per week and dentist may come occasionally. In some PCUs there are dental health worker and sanitation worker in the team. Each profession has roles as follows: Physicians : perform physical examination, make diagnosis, give treatment, teach and advice, do home visit and administer the PCU. Nurses : perform child health examinations, give vaccinations, do ANC care, teach and advise, do physical examinations and primary medical care, make home visits, do data surveys and family folders, do surveillance, build community collaboration, and administer PCUs (when there is no physician). Pharmacists: provide pharmaceutical care at PCUs and home, do drug administration, give prescribed drugs, provide suggestions or counseling on drug use. Dentists: do dental treatment including pulling teeth, filing, polishing the enamel surface, giving pain control medicine; provide oral health promotion and prevention including dental advice, advise use of fluoride in those who risk tooth decay and provide advice for oral care.Conditions for the success of PCU include: 1. Understanding and experience of administrators and personnel in doing similar projects. 2. Participation of administrators and personnel in policy identification and guidelines development. 3. Building difference and creating value to the service. 4. Paradigm shift and change of working style among personnel. 5. Provision of essential knowledge and skill for personnel. 6. Building understanding and clarity in role and responsibility of each personnel building morale. 7. Good attitude toward teamwork and respect for others. 8. Adequate manpower and appropriate workload. 9. Having professional people as required. 10. Understanding primary case concepts and commitment of administrators. 11. Strong support from community organization. 12. Provision of appropriate budget by the government. 13. Building more knowledge on primary care through continuous research.