dc.contributor.author | วิเชียร เกิดสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Vichiar Kerdsuk | en_US |
dc.contributor.author | สุพัตรา ชาติบัญชาชัย | th_TH |
dc.contributor.author | นาถธิดา วีระปรียางกูร | th_TH |
dc.contributor.author | นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | สุภาณี พิมพ์สมาน | th_TH |
dc.contributor.author | สง่า ไฝเจริญมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | สุปรีดา อดุลยานนท์ | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:09Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:47:57Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:09Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:47:57Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs1035 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1919 | en_US |
dc.description.abstract | การทบทวนวรรณกรรมจากการทำเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ โดยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารวิชาการ บทความและรายงาน ในหัวข้อเกี่ยวกับนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม สภาพนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม การใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีทางการเกษตร สถานการณ์ด้านสุขภาพของเกษตรกร ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลย้อนหลังไปตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2503 จากการทบทวนวรรณกรรม ทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดเนื่องจากนโยบายของรัฐซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก อาทิเช่น อัตราตายในทารกและหญิงตั้งครรภ์ลดลงจนเป็นที่น่าพอใจ โรคที่เกิดจากการป้องกันโดยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันถูกขจัดไปเกือบหมด หลังจากที่มีระบบบริการสาธารณสุขเข้ามา แต่กลับถูกแทนที่ด้วยอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ระบบกล้ามเนื้อ โรคเครียด ภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเอดส์และการขาดสารอาหารบางประเภท ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการประกอบอาชีพและการบริโภคเป็นสำคัญ วิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตที่อยู่ด้วย “การทำมาหากิน เปลี่ยนเป็นการหารายได้” โดยมีเงินเป็นตัวกลางของความสำคัญ ป่าถูกทำลายเพื่อการประกอบอาชีพ และเป็นการทำการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้พอเพียงกับการบริโภค มีรายงานว่า การเพิ่มผลผลิตกระทำโดยการเพิ่มพื้นที่การผลิตมากกว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การขาดแรงงานภาคเกษตรทำให้เกิดการจ้างงานด้วยราคาที่สูง ประกอบกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ยังน้อยอยู่ การผลิตที่ต้องจ้างแรงงานโดยเกษตรกรรายย่อยจึงไม่คุ้มค่า เกิดรูปแบบของการเกษตรแบบพันธะสัญญาซึ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้สารเคมีในระบบการผลิตดังกล่าวมักมีการใช้ค่อนข้างสูง สารเคมีและปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยหนึ่งที่รัฐเป็นผู้กำหนดทิศทางและให้ความสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและป้องกันความเสียหายจากศัตรูพืช ซึ่งเป็นการมองแต่ประโยชน์ที่จะได้รับในระยะสั้น ขาดการประเมินถึงศักยภาพของประชาชน ศักยภาพหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแล และวัฒนธรรมที่ไม่ค่อยตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อม ตลอดทั้งต่อสุขภาพในระยะยาว อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาเป็นการเชื่อมต่อของเหตุการณ์ในเวลาที่สอดคล้องกัน ยังไม่พบการศึกษาด้านผลกระทบต่อสุขภาพที่เป็นรูปธรรม ข้อมูลที่พบส่วนใหญ่เป็นรายงานโรค อาการที่เกิดผลโดยตรงต่อสุขภาพ เช่น รายงานความเป็นพิษ การเสียชีวิตเนื่องจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งมีทั้งเหตุการณ์ที่เกิดกับต่างบุคคล ต่างสถานที่ ต่างเวลา และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะจากผู้ทำการศึกษาคือ ก่อนการกำหนดนโยบายที่เป็นแผนระดับชาติ ควรมีการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาทำการวิเคราะห์ร่วมกับการประเมินเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลสืบเนื่องในอนาคต เพื่อคาดการณ์ว่าจะเกิดผลดีและเสียอย่างไร โดยเป้าหมายอยู่ที่สุขภาพของประชาชนในอนาคตเป็นหลัก โดยคำนึงถึงสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ และความสุขร่วมกันในสังคม และมีการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อเป็นตัวอย่างถึงผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2935185 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | en_US |
dc.subject | Environmental Health | en_US |
dc.subject | Agricltural Policy | en_US |
dc.subject | อนามัยสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | โรคเกิดจากอาชีพเกษตรกรรม | en_US |
dc.subject | การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำการเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การทบทวนวรรณกรรม | th_TH |
dc.title.alternative | Health impact assessment from organic and iorganic farming in the Northeast Thailand : Scoping and methodology | en_US |
dc.description.abstractalternative | This is a literature review of chemical and organic agriculture form secondary data: academic materials, articles and reports. These consisted of government policies related to the agricultural sector; ecological and environmental situation, pesticide and chemical usage in agriculture and agriculturists’ health. The study refers back to before the year 1960, From the above literature review, it revealed that incidents occurred from government policies which were tremendously related to environmental changes and life-style of the N.E. people. The death rate of infants and pregnant women decreased to a satisfactory level. Almost all diseases that occurred from improving immunity were eliminated after public health had been in service, but these diseases were replaced with accidents, cancer, gastroenteritis diseases, skin diseases, muscle system, stress, allergies, obesity, diabetes, high blood pressure, AIDS, and lack of some nutritious substance. These diseases are conducting one’s life which was “earn a living’ became ‘make money’. Money was of main importance, forests were destroyed to make a living and to do the farm to increase income to meet the end needs. From a report, production increased by expanding land was don more than increasing production effectiveness. Lack of agricultural labour caused high wages; also not that much technology was used. So Small Scale agriculture was not worth it. Contracted farming was augmented gradually; and in this production system the usage of chemicals was rather high. Chemicals and non-organic fertilizer is one of the factors that the government must give directions and see the importance of production increase and prevent damages from pests. This is because agriculturists do not have far vision, lack potentiality assessment, do not realize the effect toward food sources, habitations environment, and health in the long term. However, this study is a literature review. All data were from each period but there was no concrete evidence that affected health. There were likely to be reports about diseases symptoms such as poison, loss of life from poisons or toxins, etc. in various places, times and conditions. Suggestions were as follows: Data should be analysed before determining national policy including effects that might happen in the future by focussing on the public health both mentally and physically as a main issue, and collective happiness in the society. And effects toward health, which may be created as examples of effecting health so they, can be solved promptly. | en_US |
dc.identifier.callno | WA754 ว559ก 2546 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค034 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Impact Assessment | en_US |
dc.subject.keyword | Organic Agriculture | en_US |
dc.subject.keyword | Chemical Agriculture | en_US |
dc.subject.keyword | การทำเกษตรเคมี | en_US |
dc.subject.keyword | การทำเกษตรอินทรีย์ | en_US |
.custom.citation | วิเชียร เกิดสุข, Vichiar Kerdsuk, สุพัตรา ชาติบัญชาชัย, นาถธิดา วีระปรียางกูร, นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์, สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์, สุภาณี พิมพ์สมาน, สง่า ไฝเจริญมงคล and สุปรีดา อดุลยานนท์. "การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำการเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การทบทวนวรรณกรรม." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1919">http://hdl.handle.net/11228/1919</a>. | |
.custom.total_download | 520 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 18 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |