บทคัดย่อ
รายงานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอบทสังเคราะห์แนวคิดและอุดมการณ์ว่าด้วยเรื่องชุมชนที่ปรากฏอยู่ในแนวทางการทำงานเพื่อจัดการกับปัญหาและผลกระทบของโรคเอดส์ในประเทศไทย นับตั้งแต่พบการระบาด ข้อมูลหลักที่ใช้ในการสังเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิประเภทงานวิจัย บทความวิชาการ บทสรุปการสัมมนา ตลอดจนแผนงานและนโยบายที่เกี่ยวกับ HIV/AIDS ที่มีการเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่อง “ชุมชน” โดยเอกสารทั้งหมดเขียนขึ้นหลังจากที่รัฐบาลไทยได้เริ่มรับเอาแนวคิดการส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของครอบครัวและชุมชนเข้ามาไว้ในแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ (ฉบับ พ.ศ. 2535-2539) วัตถุประสงค์ทั่วไปของงานวิจัยชิ้นนี้คือ เพื่อศึกษาว่าแนวคิดว่าด้วยเรื่อง “ชุมชน” ถูกสร้าง ถูกให้ความหมาย ถูกเข้าใจ ตลอดจนถูกนำไปใช้อย่างไรบ้างในตลอดช่วงระยะเวลาของการเผชิญและจัดการกับปัญหาเอดส์ของสังคมไทย ไม่ว่าจะถูกใช้ในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติโดยรัฐบาล คนในวงการแพทย์และสาธารสุข นักวิชาการในมหาวิทยาลัย คนทำงาน NGOs นักกิจกรรมสังคม หรือแม้กระทั่งผู้ติดเชื้อ HIV เองก็ตาม ส่วนวัตถุประสงค์เฉพาะของงานวิจัยนี้ คือต้องการตรวจสอบแนวคิดเรื่องชุมชนที่ดำรงอยู่ในภาควาทกรรมและภาคปฏิบัติการของกลยุทธ์การใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นหน่วยพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ (Home and Community-Based Care Approach) ของสังคมไทย ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าวาทกรรมและชุดความหมายของชุมชนชุดต่างๆ ที่พบว่านำไปใช้กันอยู่ในแนวทางการทำงานแก้ปัญหาเอดส์แต่ละยุค ซึ่งเริ่มตั้งแต่ยุคที่มีการนำกระบวนทัศน์ระบาดวิทยา-พฤติกรรมศาสตร์มาใช้ มาจนกระทั่งถึงยุคที่ใช้กระบวนทัศน์ธรรมรัฐและประชาสังคมนั้น มักเต็มไปด้วยความสับสน กล่าวคือไม่ได้ถูกตีความหมายไปในทิศทางเดียว และยังถูกสร้างและรื้อสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับการตีความของรัฐและผู้ปฏิบัติงานในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ผลการวิจัยได้ชี้ว่าในการเผชิญกับปัญหาเอดส์ในสังคมไทยนั้น มีการใช้แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนอยู่ 2 แนวคิดหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ แนวคิดที่ชุมชนถูกนำเสนอเชิงโครงสร้างสังคมและสถาบัน กับแนวคิดที่ฉายภาพชุมชนเชิงกระบวนการ การต่อสู้ของปัจเจกและกลุ่มเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเรียกร้องสิทธิบางอย่างบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และสุดท้ายงานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าการตีความและการใช้แนวคิดเรื่องชุมชนที่หลากหลายและสับสนเช่นนี้ มีผลอย่างมากต่อข้อจำกัดและประสิทธิภาพของกลยุทธ์การแก้ปัญหาเอดส์ที่นำเอาครอบครัวและชุมชนมาเป็นหน่วยพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ของสังคมไทย
บทคัดย่อ
This paper concerns the conceptualization, the ideology and the practice regarding the community in the HIV/AIDS responses in Thailand. It reviews the community-related HIV/AIDS research, articles, seminar proceedings as well as documents regarding national plans and policies that have been made available since in the early 1990s. Its main aim is to see how the community was conceptualized, understood and utilized by the Thai government, medical community, academic, NGOs, social activists and people living with HIV and AIDS to fight against the impacts of AIDS both at the national and community levels. In particular, it also investigates the community concepts in discourses regarding the home and community-based care’s policy and practice which were recommended for Thailand in the early 1990s in response to the changing AIDS situation.The paper primarily argues that the sets of concept and discourse concerning the community in the HIV/AIDS responses are problematic and are made and remade over times. It reveals that in the course of AIDS responses, Thailand had utilized several approaches ranging from epidemiological-behavioral approach to good governance and civil society approaches in order to alleviate the negative consequences of the epidemic. Throughout this course, two major community concepts were conceptualized and imposed. The first concept necessarily sees community as the social unit encompassing geographical, administrative and social structures such as formal community leaders, informal leaders, temples, schools and other interest groups at a local level. The latter concept understands the community as the process in which individuals voluntarily come together, and through collective actions they resist the oppressions of others and the external forces that affect their lives negatively. Finally, the paper points out that the application of the community concepts at any stage of the HIV/AIDS responses necessarily contributed to the constraints and effectiveness of the home and community-based care approach which has been robustly encouraged by the Thai government since in 1997.