• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการให้แพทย์เกษียณอายุราชการมาปฏิบัติงานรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ

ซำแก้ว หวานวารี; Samkaew Wanvaree; วิชัย เอกพลากร; บุศรา เกิดพึ่งประชา;
วันที่: 2539
บทคัดย่อ
ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการให้แพทย์ เกษียณอายุราชการมาปฏิบัติงานรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐจากการศึกษา ความเป็นไปได้ ในโครงการจ้างแพทย์เกษียณอายุ มาทำงานให้รัฐโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นแพทย์ทางโทรศัพท์ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ แพทย์ที่เกษียณอายุแล้ว ทั้งที่ทำงานให้รัฐและไม่ทำงานให้รัฐ แพทย์ใกล้เกษียณ แพทย์ผู้บริหาร และแพทย์ผู้ร่วมงานกับแพทย์เกษียณจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 600 คน ผลการศึกษาสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้แพทย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 82.3) เห็นว่ายังขาดแคลนแพทย์ในหน่วยงานของตน โดยเฉพาะต่างจังหวัดซึ่งขาดทั้งแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางแผนกที่ขาดในกรุงเทพฯ คือแผนกผู้ป่วยนอก ในขณะที่ในต่างจังหวัดขาดแพทย์ทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แพทย์เกือบทั้งหมด (ร้อยละ 97) เห็นด้วยกับการที่จะให้จ้างแพทย์เกษียณอายุมาทำงาน โดยเหตุผลสำคัญคือแพทย์เกษียณยังมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ (ร้อยละ 34.3) สามารถทดแทนการขาดแคลน (ร้อยละ 30.8)ร้อยละ 44.2 ของแพทย์ที่ให้สัมภาษณ์ยังประสงค์จะมาทำงานหลังเกษียณอายุ (เฉพาะแพทย์ใกล้เกษียณอายุ 55-59 ปีประสงค์จะทำงานร้อยละ 55.7) และร้อยละ 24.9 ยังไม่ตัดสินใจ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างแพทย์ในกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด แต่แพทย์ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีความประสงค์ที่จะทำงานมากกว่าแพทย์สังกัดนอกกระทรวงฯ (ร้อยละ 48.6 และ 37.0 ตามลำดับ)ในจำนวนผู้ที่ประสงค์จะทำงานหลังเกษียณ ร้อยละ 44.23 คิดว่าจะทำงานในต่างจังหวัด และร้อยละ 32.5 จะทำงานในกรุงเทพฯ ลักษณะการจ้าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 ให้เกษียณอายุเหมือนเดิมแต่จ่ายเป็นค่าตอบแทน ในขณะที่ร้อยละ 24.3 ให้ต่ออายุราชการถึง 65 ปี แต่ให้ทำด้านรักษาพยาบาลด้านเดียว ส่วนระยะเวลาที่ให้ทำหลังเกษียณจะดูสุขภาพเป็นหลัก ประมาณกึ่งหนึ่ง ของผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องการค่าตอบแทน เป็นรายชั่วโมงตามอัตราที่ทางราชการกำหนด โดยให้อยู่ระหว่างอัตราของรัฐและเอกชน ส่วนสวัสดิการอื่นๆ เห็นว่าไม่จำเป็น หากรัฐจะช่วยเหลือน่าจะเป็นเรื่องรถรับส่งที่พักอาศัย และช่องทางด่วนในการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ความคิดเห็นของแพทย์ผู้บริหารและผู้ร่วมงานในเรื่องประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเกษียณนั้น ร้อยละ 50.3 คิดว่ายังคงเดิม แต่ไม่อาจเปรียบเทียบกับแพทย์ประจำ เนื่องจากเป็นเรื่องของตัวบุคคลมากกว่า ปัจจัยที่จะเป็นแรงจูงใจให้มาทำงาน ได้แก่ การที่คิดว่าตนเองยังเป็นประโยชน์ต่อสังคม สุขภาพอำนวย และความสบายใจในการทำงาน ส่วนค่าตอบแทนมิได้เป็นประเด็นหลัก เวชปฏิบัติที่ต้องการทำ ขึ้นอยู่กับเวชปฏิบัติเดิม ที่ทำอยู่ก่อนเกษียณ ประมาณกึ่งหนึ่งเป็นด้านเฉพาะทางแแพทย์เกือบทั้งหมดสามารถทำในแผนกผู้ป่วยนอก (ร้อยละ 92.3) เป็นที่ปรึกษาได้รัอยละ 43.6 ช่วงเวลาที่สนใจจะทำคือ ครึ่งวันเช้า (ร้อยละ 77.7) สัปดาห์ละ 3-4 วัน สถานที่ที่จะทำขึ้นอยู่กับที่อยู่และที่ทำงานก่อนเกษียณเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างแพทย์ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ร้อยละ 75.6 เห็นว่าควรมีการอบรมฟื้นฟูวิชาการระยะสั้น หากต้องการทำงานหลังเกษียณอายุ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0205.pdf
ขนาด: 1.007Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 68
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV