แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมโดยตรง (Direct stake holders) ต่อรูปแบบต้นสังกัดของสถานีอนามัยในเขตอำเภอบ้านแพ้วภายหลังการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

dc.contributor.authorศิริวรรณ ศิริบุญth_TH
dc.contributor.authorSiriwan Siriboonen_US
dc.contributor.authorศิริพันธุ์ สาสัตย์th_TH
dc.contributor.authorบุศริน บางแก้วth_TH
dc.contributor.authorสุทธิชัย จิตะพันธ์กุลth_TH
dc.contributor.authorSiriphan Sasatryen_US
dc.contributor.authorBusarin Bangkaewen_US
dc.contributor.authorSutthichai Jitapunkulen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:48Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:42Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:48Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:42Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1997en_US
dc.description.abstractโรงพยาบาลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลของรัฐเพียงโรงพยาบาลเดียวที่ออกนอกระบบราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นองค์กรที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว แต่เนื่องจากหน่วยบริการปฐมภูมิในระดับพื้นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับโดยตรงของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จึงส่งผลต่อความเป็นเอกภาพในการจัดการด้านสุขภาพในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้รัฐกระจายอำนาจการปกครองไปสู่องค์กรส่วนท้องถิ่น ทำให้มีแนวความคิดที่จะถ่ายโอนหน่วยราชการในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงสถานีอนามัยให้ไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ เทศบาล ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า สถานีอนามัยซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิควรสังกัดอยู่กับองค์กรใด ระหว่างหน่วยราชการ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กระทรวงสาธารณสุข) โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มหาชน ภายใต้การกำกับของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล) และรูปแบบการดำเนินการหรือความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยบริการต่างๆ ในระบบสุขภาพระดับอำเภอควรเป็นอย่างไร รวมทั้งระบบการกำกับดูแลระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอควรมีรูปแบบเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสังกัดที่เหมาะสมของหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐภายใต้รูปแบบ “ระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ” ที่สอดคล้องกับ “ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า” และ “แนวโน้มการกระจายอำนาจ” 2. ศึกษารูปแบบการดำเนินการและความสัมพันธ์ภายในของหน่วยบริการทางสุขภาพของรัฐในเขตอำเภอบ้านแพ้ว เพื่อให้ระบบสุขภาพระดับอำเภอมีการดำเนินการที่มีคุณภาพ 3. ศึกษาระบบการกำกับดูแลระบบบริการสุขภาพของอำเภอบ้านแพ้ว วิธีการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 2 แบบคือ การสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (indepth interview) และการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) พื้นที่ที่ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 12 ตำบลของอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งประกอบด้วยตำบลบ้านแพ้ว ตำบลคลองตัน ตำบลหลักสอง ตำบลหลักสาม ตำบลเจ็ดริ้ว ตำบลสวนส้ม ตำบลอำแพง ตำบลเกษตรพัฒนา ตำบลหนองสองห้อง ตำบลหนองบัว ตำบลยกกระบัตร และตำบลโรงเข้ โดยศึกษาจากประชากร 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศมนตรี และประธานองค์การบริหารส่วนตำบล) รวม 53 ราย กลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้บริหารของรัฐและสถานีอนามัย รวม 6 ราย กลุ่มผู้บริหารของรัฐและหัวหน้าสถานีอนามัยรวม 21 ราย ผลการศึกษาต้นสังกัดที่เหมาะสมของสถานีอนามัยในประเด็นที่เกี่ยวกับทางเลือกของต้นสังกัดของสถานีอนามัยมี 3 ทางคือ สังกัดหน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มหาชน นอกระบบราชการซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่ควรคำนึงถึง ส่วนรูปแบบการดำเนินงานและความสัมพันธ์ภายในของหน่วยบริการในระบบสุขภาพ ผลการศึกษาความคิดเห็นมีต่อรูปแบบการดำเนินงานและความสัมพันธ์ภายในของหน่วยบริการต่างๆ ในระบบสุขภาพระดับอำเภอชี้แนะว่า การแบ่งงานระหว่างโรงพยาบาลบ้านแพ้วและสถานอนามัยควรมีความชัดเจน โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้วควรมุ่งเน้นด้านการรักษา ส่วนสถานีอนามัยควรรับผิดชอบด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อน การจัดสรรงบประมาณควรอยู่ในรูปของเบี้ยเลี้ยงเพื่อการปฏิบัติงานภาคสนาม รวมทั้งสนับสนุนยานพาหนะและค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำมันเชื่อเพลิงเพื่อการปฏิบัติงานด้วย สำหรับประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานนั้น โดยเฉพาะสัมพันธภาพของคณะบุคคลที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการ ที่ยังคงพบว่ามีความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหลายองค์กรที่รับผิดชอบงานด้านบริการสุขภาพของอำเภอบ้านแพ้ว นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแนะให้องค์กรที่ความพร้อมด้านงบประมาณและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างโรงพยาาบาลบ้านแพ้ว มีส่วนช่วยในการสนับสนุนด้านยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่องค์กรอื่นๆ โดยเฉพาะสถานีอนามัย การกำกับดูแลระบบบริการสุขภาพของอำเภอบ้านแพ้ว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความไม่สอดคล้องกันระหว่างผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ทั้งนี้เพราะในการสัมภาษณ์เชิงลึกมีผู้นำชุมชนเป็นจำนวนมากที่มีความเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลระบบบริการสุขภาพของอำเภอบ้านแพ้วเป็นการเฉพาะ ในขณะที่ในการสนทนากลุ่ม 3 กลุ่มนั้น มีกลุ่มของการสนทนาเพียงกลุ่มเดียวที่มีความเห็นสอดคล้องกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้โดยเหตุผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและจากการสนทนากลุ่มกล่าวเป็นเหตุผลที่ใกล้เคียงกันth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectHealth Decentralizeen_US
dc.subjectHealth Planningen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectอนามัย, บริการen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมโดยตรง (Direct stake holders) ต่อรูปแบบต้นสังกัดของสถานีอนามัยในเขตอำเภอบ้านแพ้วภายหลังการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้วth_TH
dc.title.alternativeVision and opinion of direct stake holders on administration structure of the community health post in Banpaew distric after privatisation of the Banpaew hospitalen_US
dc.identifier.callnoWX153 ศ486ก 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค011en_US
dc.subject.keywordHealth Administrationen_US
dc.subject.keywordPrivatisationen_US
dc.subject.keywordBaan Paew Hospitalen_US
dc.subject.keywordรูปแบบต้นสังกัดของสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordการออกนอกระบบราชการen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลบ้านแพ้วen_US
.custom.citationศิริวรรณ ศิริบุญ, Siriwan Siriboon, ศิริพันธุ์ สาสัตย์, บุศริน บางแก้ว, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, Siriphan Sasatry, Busarin Bangkaew and Sutthichai Jitapunkul. "การศึกษาข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมโดยตรง (Direct stake holders) ต่อรูปแบบต้นสังกัดของสถานีอนามัยในเขตอำเภอบ้านแพ้วภายหลังการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1997">http://hdl.handle.net/11228/1997</a>.
.custom.total_download112
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1144.pdf
ขนาด: 3.695Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย