• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การจัดทำรายการยาเพื่อการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดค่ายา

รุ่งเพ็ชร เจริญวิสุทธิวงศ์; Rungpetch Charoenwisutiwong;
วันที่: 2541
บทคัดย่อ
การจัดทำรายการยาเพื่อการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดค่ายาดัชนีผู้บริโภคหมวดค่ายาเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีราคาผู้บริโภค ในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคยา กองดัชนีราคา กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้อาศัยรายการยาจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือน (สศส.) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตะกร้ายาที่กำหนดไว้ในแบบสำรวจของ สศส.มีความจำเป็นต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับแบบแผนการบริโภคยาของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์สำรวจภาวะการบริโภคยาของประชาชนในปัจจุบัน เพื่อกำหนดกลุ่มยาที่มีปริมาณการบริโภคบ่อยที่ครัวเรือนไทยซื้อใช้เองจากร้านยาแผนปัจจุบัน และเพื่อกำหนดชื่อยาที่เป็นตัวแทนในแต่ละกลุ่มยา เพื่อใช้ในการสอบราคายาสำหรับการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลชื่อทางการค้า ของยาที่มีการจำหน่ายเป็นมูลค่าสูงที่สุดในร้านยา 20 รายการแรก ทำการสุ่มตัวอย่างร้านยาโดยวิธี Multistage cluster sampling จาก4 ภาค ๆ ละ 2 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครปละปริมณฑลทุกจังหวัดเก็บข้อมูลตามเขตการปกครอง 3 เขต ได้แก่ เขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล และเขตเทศบาลบริเวณใกล้ที่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย ระยะเวลาในการสำรวจอยู่ในช่วง 1-15 ตุลาคม 2540 จากการเก็บข้อมูล ได้ข้อมูลจากร้านยาตัวอย่าง 179 ร้านใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นร้านยาในเขตเทศบาลร้อยละ 53.6 เขตสุขาภิบาลร้อยละ 21.2 และใกล้บริเวณที่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยร้อยละ 25.1 แบ่งเป็นร้านยาประเภท ขย.1 ร้อยละ 80.3 และร้านประเภท ขย.2 ร้อยละ 19.7 ผลการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า โดยรวมยาที่มีรายงานความถี่การจำหน่ายเป็นมูลค่าสูงในร้านยาตัวอย่าง 5 อันดับแรก ได้แก่ ยาในกลุ่ม Respiratory, Alimentary, Neuro-muscular, Dermatology และ Antibiotic ตามลำดับจากมากไปน้อย ซึ่งทางการค้าของยา ที่มีรายงานความถี่สูง 10 อันดับแรก ได้แก่ Tiffy, Hirudoid, paracetamol (รายงานเป็นชื่อสามัญ), Counterpain, Decolgen, Bisolvon, Diane, Hirudoid, ยาแก้ไอน้ำดำตราเสือดาว และ Actifed เมื่อพิจารณาแยกตามเขตการปกครองและประเภทของร้านขายยา ขย.1 และ ขย.2 พบว่า ยา 5 กลุ่มแรกที่มีรายงานความถี่สูงของเตเทศบาลและเขตสุขาภิบาลจะแตกต่างกันที่ใน เขตสุขาภิบาลจะมีการจำหน่ายยาแผนโบราณมากกว่ายากลุ่ม Antobiotic เช่นเดียวกันกับร้านยาประเภท ขย.2 ซึ่งโดยทั่วไปมีแบบแผนการจำหน่ายยาคล้ายคลึงกับร้านยาในเขตสุขาภิบาล ชื่อทางการค้าของยาที่มีรายงานความถี่สูงที่สุดในยากลุ่มต่าง ๆ มีดังนี้ กลุ่มยา Respiratory ได้แก่ Tiffy กลุ่มยา Alimentary ได้แก่ Antacil กลุ่มยา Meuro-muscular ได้แก่ paracetamol (มีรายงานเป็นชื่อสามัญเป็นส่วนใหญ่) กลุ่มยา Dermatology ได้แก่ Counterpain กลุ่มยา Antibiotic ได้แก่ amoxicillin (มีรายงานเป็นชื่อสามัญเป็นส่วนใหญ่) กลุ่มยา Contraceptive ได้แก่ Diane กลุ่มยาแผนโบราณ ได้แก่ ยาสตรีเพ็ญภาค กลุ่มยา Mouth/Throat ได้แก่ Mybacin
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0302.pdf
ขนาด: 2.350Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 120
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV