บทคัดย่อ
ปัญหาโรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย และยังมีปัญหาในการวินิจฉัยและรักษาอยู่มากโรคไซนัสอักเสบมีผลต่อเศรษฐกิจสังคม เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตรวจและรักษาอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง นอกจากโรคนี้จะทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงทางสมองและตาได้ แล้วยังทําให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยแย่ลงด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจกลับเป็นซ้ำหรือเป็นโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังได้ ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ในประเทศไทยมีค่อนข้างจํากัด เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่เป็นระบบและระเบียบแบบแผน วัตถุประสงค์เพื่อสํารวจคุณลักษณะตามธรรมชาติของโรค อาการและอาการแสดง การใช้เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัย ปัจจัยที่ทําให้เกิดโรค ค่าใช้จ่ายในการวินิจฉัยและรักษาโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการให้ยาต้านจุลชีพภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบในประเทศไทย วิธีดําเนินการในระหว่าง 1 เมษายน 2546 ถึง 31 พฤษภาคม 2547 คณะผู้วิจัยได้ทําการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันจํานวน 735 ราย จากโรงพยาบาลของคณะแพทย์ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 7 แห่ง แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (acute rhinosinusitis) 569 ราย (ร้อยละ 77.7), ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบชนิดรองเฉียบพลัน (subacute rhinosinusitis) 43 ราย (ร้อยละ 5.9), ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลันที่กลับเป็นซ้ำ (recurrent acute rhinosinusitis) 73 ราย (ร้อยละ 10) และผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรังและมีการกําเริบเป็นชนิดเฉียบพลัน (acute exacerbation of chronicrhinosinusitis) 47 ราย (ร้อยละ 6.4) โดยผู้ป่วยดังกล่าวจะได้รับการนัดและติดตามเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ผลการศึกษาผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบทั้งหมด 735 ราย มีอายุเฉลี่ย 34.1 ปี ส่วนใหญ่มีช่วงอายุตั้งแต่ 20-50 ปี เป็นเพศชาย 275 ราย (ร้อยละ 37.4), เพศหญิง 460 ราย (ร้อยละ 62.6) ผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อทําการรักษาโดยเฉลี่ย 3 ครั้ง อาการสําคัญที่นําผู้ป่วยมาพบแพทย์ในครั้งแรกที่พบบ่อยที่สุดคือ มีน้ำมูก (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ คัดแน่นจมูก (ร้อยละ 38.6), น้ำมูกและ/หรือเสมหะลงคอ (ร้อยละ 32.3) และปวดตื้อบริเวณใบหน้าและจมูก (ร้อยละ 32.2) แพทย์หู คอ จมูก มีการใช้ nasal speculum และ nasopharyngealmirror ในการตรวจวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาโรคไซนัสอักเสบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 91 และ 88 ตามลําดับ รองลงมาคือใช้ otoscope (ร้อยละ 25) และ endoscope (ร้อยละ 11) แพทย์ได้ส่งตรวจถ่ายภาพรังสี โพรงอากาศข้างจมูกชนิด plain radiography (plain film PNS) ร้อยละ 17, ชนิด high resolution computerized tomography (CT Nose & PNS) ร้อยละ 1.6, มีการส่งหนองหรือเนื้อเยื่อหลังผ่าตัด เพื่อทําการเพาะเชื้อ ร้อยละ 30 precipitating factor ที่พบบ่อยที่สุด ในการทําให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ คือ acute viral upper respiratory tract infection (ร้อยละ 62) ส่วนใหญ่ของผู้ป่วย (ร้อยละ 98.6) ที่ลงทะเบียนได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยใช้ยา มีการผ่าตัดเพียงร้อยละ 4 ยาต้านจุลชีพชนิดที่มีการใช้ มากที่สุดคือ amoxicillin + clavulanic acid (ร้อยละ 31.5) รองลงมาคือ amoxicillin (ร้อยละ 21.6) ผลการรักษาโรคไซนัสอักเสบ พบว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยหายหรือมีอาการดีขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 11 ค่าใช้จ่ายหลักในการรักษาคือค่ายาต้านจุลชีพ คิดเป็นร้อยละ 74 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด สรุปและข้อเสนอแนะโรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยและรักษาค่อนข้างสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลดค่าใช้จ่ายดังกล่าว ซึ่งการนำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ (Clinical Practice Guideline) มาใช้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการส่งการสืบค้นเพิ่มเติมที่แพงและไม่จำเป็นลง และช่วยให้แพทย์สั่งการรักษาได้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่ามีการใช้ CPG กันมากน้อยเพียงใด มีความคุ้มค่า (cost effectiveness) หรือไม่ในการใช้ และมีคําถามวิจัยอีกมากที่รอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริงของการตรวจวินิจฉัยและรักษา และเป็นแนวทางในการหาวิธีที่จะลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษาโรคไซนัสอักเสบต่อไป
บทคัดย่อ
Problems Rhinosinusitis (RS) is a common disease in Thailand and still has problems in the diagnosis and treatment. It is one of the most expensive diseases since a lot of investigations and antibiotics have been prescribed to treat this disease. It has also been shown to impair patients’ quality of life and, if not treated properly, may lead to orbital and/ or intracranial complication or development of chronic sinusitis. The data of this disease is quite limited in Thailand since it has not been studied systematically before. Objectives To investigate the natural history, clinical manifestations, practice variation of use of various instrument in the diagnosis, precipitating factors, the expense of investigation and treatment especially antibiotic, and complication of RS in Thailand. Methodology During April 2003 to May 2004, we performed a prospective study on 735 patients with acute (n=569) and subacute RS (n=43), recurrent acute RS (n=73), and acute exacerbation of chronic RS (n=47) recruited from Ear, Nose, and Throat (ENT) Department of 7 medical schools in Thailand. Results Seven hundred and thirty-five patients with RS were recruited in this study with the mean age of 34.1 years. The majority of patients’ age ranged from 20 to 50 years. There were 275 male (37.4%) and 460 female (62.6%). The average follow-up visits were 3 times. The most common clinical manifestations of RS are rhinorrhea (42.1%), followed by nasal congestion (38.6%), postnasal drip (32.3%), and facial pain (32.2%). ENT physicians used nasal speculum (91%), nasopharyngeal mirror (88%), otoscope (25%), and nasal endoscopy (11%) in the diagnosis of RS. Plain film paranasal sinus (PNS) and CT PNS were ordered in 17% and 1.6% of cases, respectively. Pus and/ or sinus tissues were sent for microbiological culture and sensitivity test in 30% of cases. The most common precipitating factors of RS is acute viral upper respiratory tract infection (62%). The majority of patients (98.6%) received medical treatment. Four percents of cases required surgical intervention. Complication was found in 11% of cases. Amoxicillin plus clavulanic acid is the most common antibiotic prescribed (31.5%), followed by amoxicillin (21.6%). Ninety-five percent of patients had favorable outcomes. Antibiotics account for the majority of the expense (74%) in the treatment of RS. Conclusion and recommendation Sinusitis is a costly disease, which needs more attention to reduce the cost of diagnosis and treatment. The Clinical Practice Guidelines (CPG) of diagnosis and treatment of RS have been developed recently. This CPG aimed to optimize the use of expensive and unnecessary investigation and to help physician in prescribing the proper treatment, either medical or surgical. The cost effectiveness of the practice according to these guidelines should be thoroughly studied before being implemented for nationwide use.