dc.contributor.author | อุไร หัถกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Urai Hatakit | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:56Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:38:45Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:56Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:38:45Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0989 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2014 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในบริบทภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่ที่ศึกษาคือชุมชน ในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาและอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาโดยการวิเคราะห์ สถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในภาคใต้ สำรวจความคิดเห็น ประชุมกลุ่มและจัดเวทีระดมความคิดเห็นในกลุ่มประชาชน ผู้นำชุมชน/องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการสุขภาพและผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้สถานการณ์ด้านสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนภาคใต้พบว่าประชาชนในพื้นที่ที่ศึกษามีปัญหาสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของภาคใต้โดยรวม คือ การเจ็บป่วยด้วย โรคติดเชื้อ โรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ระบบสุขภาพที่ ประชาชนภาคใต้ต้องการประกอบด้วย บุคคลสุขภาพดี ชุมชนเข้มแข็ง สังคมที่เกื้อกูล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และบริการสุขภาพของรัฐที่เท่าเทียม เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความคิดเห็นว่าระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้ โดยเฉพาะบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิในชนบทที่จัดโดยรัฐ เช่น ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนและสถานีอนามัย เพราะบริการไม่ครอบคลุมความต้องการของชุมชน อุปกรณ์การแพทย์ไม่ เพียงพอ ขาดแคลนงบประมาณ ขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ สมรรถนะของผู้ให้บริการมีความจำกัด ขาดการประสานงานที่ดี ประชาชนขาดความศรัทธาในบริการ ทำให้มีการข้ามขั้นไปใช้บริการในโรงพยาบาล 2. รูปแบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ประชาชนภาคใต้ต้องการ ควรเป็นบริการใกล้บ้านและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้จัดให้มีครอบคลุมทุกชุมชนตามสัดส่วนของประชาชนบริการโดย หน่วยงานอิสระบริหารงานโดยคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบเป็นพหุภาคี ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดบริการสุขภาพ ร่วมเป็นเจ้าของกิจการบริการสุขภาพ โดยมีกองทุนสุขภาพชุมชนเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญ ให้บริการครอบคลุมบริการพื้นฐานในทุกมิติ โดยเน้นงาน สร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษาการเจ็บป่วย ผู้ให้บริการประกอบด้วย สหวิชาชีพ โดยมีพยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและแพทย์แผนไทยเป็นบุคลากรหลัก ส่วนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและนักโภชนาการจะหมุนเวียนมาให้บริการที่ศูนย์ดูแลสุขภาพระดับต้น ตามความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน 3. ข้อเสนอรูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สอดคล้องกับบริบทภาคใต้ในอนาคต 4. บทบาทและสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติงานระดับปฐมภูมิ 5. ข้อเสนอต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ 5.1 รัฐต้องจัดให้มีมาตรการด้านกฎหมายเพื่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิที่พึง 5.2 สภาการพยาบาล กำหนดขอบเขตบทบาทและสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพทุกระดับ (ตรี โท และเอก) เพื่อปฏิบัติภารกิจในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิอย่างชัดเจน 5.3 สถาบันการศึกษาต้องผลิตพยาบาลให้มีทักษะในการปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิได้ สอดคล้องกับความต้องการบริการสุขภาพในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 4049848 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.subject | Health Services Research | en_US |
dc.subject | Health Services | en_US |
dc.subject | การปฏิรูประบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | บริการสุขภาพ, การวิจัย | en_US |
dc.subject | อนามัย, บริการ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การวิจัยและพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคใต้ | en_US |
dc.title.alternative | Primary health care unit: case study in Southern area | en_US |
dc.identifier.callno | W84.6 อ857ก 2544 | en_US |
dc.subject.keyword | Primary Care Units | en_US |
dc.subject.keyword | บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ | en_US |
.custom.citation | อุไร หัถกิจ and Urai Hatakit. "การวิจัยและพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคใต้." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2014">http://hdl.handle.net/11228/2014</a>. | |
.custom.total_download | 568 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 16 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |