แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการโรงพยาบาลแม่สะเรียง ปีงบประมาณ 2546 และ 2547

dc.contributor.authorสุเมธ องค์วรรณดีen_US
dc.contributor.authorSumet Ongwandeeen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2008-09-29T08:57:42Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:23:14Z
dc.date.available2008-09-29T08:57:42Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:23:14Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) : 66-75en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/201en_US
dc.description.abstractต้นทุนต่อหน่วยบริการ ได้ถูกใช้ประเมินประสิทธิภาพของหน่วยบริการ และเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรและวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณต้นทุนต่อหน่วยบริการต่างๆ ภายในโรงพยาบาลแม่สะเรียง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิของปีงบประมาณ 2546 และ 2547 และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของต้นทุนต่อหน่วย รูปแบบการศึกษาเป็นเชิงพรรณนา ใช้หลักทฤษฎีการวิเคราะห์ต้นทุนและใช้คู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลชุมชนของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล การบันทึก และคำนวณ ต้นทุนในการศึกษาครั้งนี้หมายถึงต้นทุนทางบัญชีและใช้มุมมองของผู้ให้บริการ การศึกษาพบว่าในปีงบประมาณ 2546 และ 2547 สัดส่วนค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน เท่ากับ 57.73 : 27.59 : 14.68 และ 61.61 : 31.61 : 6.78 ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยของผู้ป่วยนอกรวมทุกแผนกเท่ากับ 257.01 และ 256.33 บาท ตามลำดับ; ผู้ป่วยในรวมทุกหอผู้ป่วยเท่ากับ 4,579.31 และ 4,944.22 บาท ต่อรายตามลำดับและต้นทุนของผู้ป่วยในต่อหนึ่งค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้วเท่ากับ 6,575.79 และ 7,177.76 บาท ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยของผู้ป่วยนอกแยกรายแผนกพบว่าแผนกทันตกรรมมีต้นทุนสูงสุด 679.28 บาทต่อครั้งการให้บริการในปี 2546 และคลินิกเพื่อนใจมีต้นทุนสูงสุด 684.39 บาทต่อครั้งการให้บริการในปี 2547 ส่วนผู้ป่วยในพบว่าหอผู้ป่วยหนักมีต้นทุนสูงสุดทั้ง 2 ปี (14,327.40 และ 12,338.29 บาทต่อรายผู้ป่วยใน) การเปลี่ยนแปลงของแต่ละหน่วยบริการมีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นทุกแผนก ยกเว้นแพทย์แผนไทยและคลินิกเพื่อนใจ รวมถึงจำนวนวันนอนที่เพิ่มขึ้นทุกหอผู้ป่วยยกว้นหอผู้ป่วยชาย และเกือบทุกหอผู้ป่วยยกเว้นหอผู้ป่วยหนัก และครึ่งหนึ่งของหน่วยบริการผู้ป่วยนอกจะมีต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มสูงขึ้น แต่ในทางกลับกัน เกือบทุกหอผู้ป่วยในยกเว้นหอผู้ป่วยชาย มีต้นทุนต่อวันนอนลดลง คู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลชุมชนที่ใช้เป็นแนวทางการศึกษาครั้งนี้ ให้ความสะดวกและง่ายต่อการวิเคราะห์ต้นทุน โรงพยาบาลแม่สะเรียงก็เช่นเดียวกับโรงพยาบาลอื่นที่มีสัดส่วนค่าแรงสูงสุด ซึ่งมีต้นทุนต่อหน่วยของผู้ป่วยนอกใกล้เคียงกับโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียงอื่น แต่ต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยในจะมีค่าสูงกว่า เนื่องจากโรงพยาบาลมีแพทย์เฉพาะทางและเปิดบริการหอผู้ป่วยหนักและเด็กคลอดก่อนกำหนด ด้านประสิทธิภาพเชิงต้นทุนพบว่าในบางหน่วยบริการจำนวนผู้รับบริการที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับค่าใช้ง่ายที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้นด้วย แต่บางหน่วยบริการกลับมีต้นทุนต่อหน่วยลดลงเช่นเดียวกับต้นทุนต่อวันนอนที่ลดลงเช่นกัน อาจบ่งถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งนี้อาจต้องนำคุณภาพของหน่วยบริการ รวมถึงการนำน้ำหนักสัมพัทธ์ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาพิจารณาประกอบth_TH
dc.format.extent253297 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการโรงพยาบาลแม่สะเรียง ปีงบประมาณ 2546 และ 2547en_US
dc.title.alternativeUnit Cost of Health Services in Mae Sariang Hospital, Fiscal Years 2003 and 2004en_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeUnit cost analysis has often been used as a tool to determine the efficiency of a health-care facility. Policy makers employ the unit cost of health services in order to make decisions on resource allocation and for efficiency improvement. This descriptive study was aimed at calculating the unit cost for each cost center in Mae Sariang District Hospital by collecting financial and accounting secondary data during fiscal years (FY) 2003 and 2004. The study then evaluated a change in the unit costs of the health services in each cost center for the two-year period. This study applied the principle of cost analysis and the manual of unit cost analysis for district hospitals affiliated with the International Health Policy Program (IHPP). Costs in the study were defined as accounting costs with a provider’s perspective. The results showed the following proportion of labor costs, material costs, and capital costs in FY 2003 and 2004: 57.73; 27.59; 14.68 and 61.61; 31.61; 6.78, respectively. Average unit costs of all outpatient departments were Baht 257.01 and 256.33 respectively. Those of all in-patient departments were 4,579.31 and 4,944.22 Baht per case admission, respectively, and the unit costs per adjusted relative weights were 6,575.79 and 7,177.76 Baht, respectively. Compared with the out-patient departments, the unit cost of dental services was the highest (679.28 baht per visit) in FY 2003 and the counseling service department had the highest cost (684.39 baht per visit) in FY 2004. Among in-patient wards, the intensive care unit (ICU) had the highest cost in both years (14,327.40 and 12,338.29 baht respectively per case admission). A comparison between both years revealed an increase in the number of ambulatory visits and in-patientdays in most departments. Compared with unit costs in FY 2003, half of the out-patient service centers had a higher unit cost, but most of the in-patient departments, except for the male ward, could operate at a cheaper in-patient-day. The data collection methods and the unit cost calculations as described in the Manual of Unit Cost Analysis for District Hospitals, which were used in the study, were practical and easy. The proportion of the labor costs to total costs of Mae Sariang Hospital was similar to that of other district hospitals. The average unit cost of out-patient services was not very different from that of other 90-bed hospitals, but the average unit cost per in-patient case was higher. Specialists practicing in the hospital and the provision of ICU services and preterm baby care may explain the more expensive unit cost for in-patient care. In terms of cost efficiency, an increasing number of patients and the total expenditure in some service centers actually resulted in an increase in the unit cost; thus, several service centers surprisingly turned out a cheaper unit cost for visits as well as unit cost of in-patient-days. The findings may indicate greater efficiency of resource utilization. However, the quality of health services and relative weight of diagnosis-related groups should be taken into account.en_EN
dc.subject.keywordต้นทุนต่อหน่วยen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลชุมชนen_US
dc.subject.keywordประสิทธิภาพen_US
dc.subject.keywordค่าน้ำหนักสัมพัทธ์en_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลแม่สะเรียงen_US
dc.subject.keywordUnit Costen_US
dc.subject.keywordDistrict Hospitalen_US
dc.subject.keywordEfficiencyen_US
dc.subject.keywordRelative Weighten_US
.custom.citationสุเมธ องค์วรรณดี and Sumet Ongwandee. "ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการโรงพยาบาลแม่สะเรียง ปีงบประมาณ 2546 และ 2547." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/201">http://hdl.handle.net/11228/201</a>.
.custom.total_download1226
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month26
.custom.downloaded_this_year305
.custom.downloaded_fiscal_year70

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 253.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย