บทคัดย่อ
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์สถานการณ์ระบบบริการส่งเสริมสุขภาพทางเลือกสำหรับสตรีวัยกลางคนในด้านแนวคิด วิธีการจัดการ การรับรู้ และความสำเร็จของระบบบริการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก สถานที่ศึกษาคือ สถานบริการในชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในจังหวัดขอนแก่น มีผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นสตรีอายุ 40-59 ปี จำนวน 85 คน และผู้ให้บริการที่ถูกอ้างถึงอีก 19 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มในช่วงเดือนมีนาคม – ธันวาคม 2542 ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาได้ข้อค้นพบหลัก ดังนี้ แนวคิดสุขภาพทางเลือกอยู่บนพื้นฐานความเชื่อเรื่องธาตุทั้ง 4 และหลักปฏิบัติทางศาสนาร่วมกับข้อมูลความรู้ทางสุขภาพที่ได้รับจากสื่อต่างๆ และวิถีการดำเนินชีวิตของสตรี วิธีการปฏิบัติการแบบสุขภาพทางเลือกประกอบด้วย 4 กลุ่มวิธี คือ การบริโภคอาหาร การประสานจิตและกาย การใช้สารชีวภาพ/สารเคมี และกลุ่มการฟื้นฟูพลังชีวิต และออกกำลังกาย โดยมีกิจกรรมกว่า 30 กิจกรรม ที่ระบุว่าเป็นการปฏิบัติแบบสุขภาพทางเลือก ความหมายของสุขภาพครอบคลุมทั้งความสุขทางกาย ทางจิตใจ ทางจิตวิญญาณและการอยู่ร่วมกันในสังคม ความสำเร็จของบริการสุขภาพทางเลือกเกี่ยวข้องกับความศรัทธาของผู้ใช้บริการ การพึ่งพาตนเองของผู้ให้บริการและการมีส่วนร่วมของชุมชน ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ การยกระดับความสำคัญของระบบสุขภาพทางเลือก การกำหนดมาตรฐานบริการและการสร้างเครือข่ายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในระบบบริการส่งเสริมสุขภาพ
บทคัดย่อ
This qualitative study aims to explore a situation of health systems for middle-aged women especially about concepts, treatment modalities, perceptions, and success. The study sites were in both rural and urban areas of Khon Kaen province. Eighty five women age 40-59 and nineteen healers participated in this study. Data was collected by using participatory and nonparticipatory observation, interviewing, and focus group discussions during March-December 1999. Triangulation and content analysis were used for validation and analysis. Major findings were as follows. Humoral theory, religion, health information, and women’s life styles are guidelines for alternative health concepts of practice. There are 30 activities that are regarded as alternative health practices to promote the well-being of the middle-aged women. They were grouped into 4 categories and energetic therapies and exercise. The meaning of health given by women are included in the well-being of physical, mental, spiritual, and social life. The success of alternative health services is related to consumers’ beliefs, providers’ self-reliance, and community participation. It is suggested that highlighting alternative health systems by setting standards of services, and establishing networking between the community and the system is needed. Keywords: alternative health, middle-aged women, folk sector, lay sector, Isaan