• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ต่อการพัฒนางานสาธารณสุข ระดับตำบล จังหวัดลพบุรี

วันที่: 2540
บทคัดย่อ
การศึกษาบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ต่อการพัฒนางานสาธารณสุข ระดับตำบล จังหวัดลพบุรีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ระดับตำบล รวมทั้งงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปี 2539 จังหวัดลพบุรี มี อบต. รวม 48 แห่งใน 7 อำเภอ เพื่อนำร่องให้ได้ข้อมูลสำหรับการวางแผนในการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง อบต. กับสถานีอนามัย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ศักยภาพ และข้อจำกัดของ อบต.ที่มีผลต่อการดำเนินงานสาธารณสุข โดยศึกษาในอบต. 7 แห่ง ในอำเภอเมือง และพัฒนานิคม ซึ่งเลือกอย่างเจาะจงโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview) ตามกรอบประเด็นที่ผู้วิจัยกำหนดในกลุ่มแหล่งข้อมูล 4 กลุ่ม คือ (1)กลุ่มสมาชิก อบต. (2)ตัวแทนประชาชนในหมู่บ้านละ 10 คน (3)กรรมการในคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติงานการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) และ (4)เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณาและเชื่อมโยงข้อมูลเชิงคุณภาพ บทบาทและการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของ อบต.ทั้ง 7 แห่ง พบว่า อบต.ที่ตั้งในเขตที่เจริญจะมีรายรับสูงกว่า อบต.ในเขตชนบทอย่างชัดเจน อบต.ท่าศาลา อำเภอเมือง เป็น อบต.ระดับ 4 เพียงแห่งเดียวในจังหวัดลพบุรี และมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสูงกว่าอีก 6 อบต. เนื่องจากศักยภาพของสมาชิก อบต. และปลัด อบต.สูงกว่า มีโครงสร้างด้านสาธารณสุขรองรับอย่างชัดเจนและมีงบประมาณเพียงพอ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน ความคาดหวังของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องการให้ อบต.แสดงบทบาทด้านสาธารณสุขใน 2 ลักษณะ คือ บทบาทร่วมดำเนินการแก้ปัญหาสาธารณสุขกับสถานีอนามัย และบทบาทในการสนับสนุนทรัพยากรแก่สถานีอนามัย ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขโดยมีกิจกรรมรูปแบบการประสานงานที่หลากหลายตาม สภาพพื้นที่ ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของ อบต. คือ (1)การขยายบทบาทกลุ่ม อสม. ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนด้านสาธารณสุขให้ประสานกับ อบต. เพื่อพัฒนากลไกการจัดการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข(2)ดำเนินการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยีการจัดการ และการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขแก่สมาชิก และ ปลัด อบต.(3)สร้างความร่วมมือในการสำรวจปัญหาสาธารณสุขของชุมชนประจำปีระหว่าง อบต. กับสถานีอนามัยเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0183.pdf
ขนาด: 5.060Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 88
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV