แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง : การสังเคราะห์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา

dc.contributor.authorสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.contributor.authorโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorKomatra Chuengsatiansupen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:18Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:19:05Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:18Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:19:05Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2064en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้ต้องการประเมินศักยภาพที่ดำรงอยู่ของอสม.ในประเทศไทยที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและสถานการณ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ความรู้จากการทบทวนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งจากเอกสารและการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพ มีการทบทวนสถานการณ์และแนวคิดสำคัญโดยนักวิจัยที่มีศักยภาพในประเด็นต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับสุขภาพชุมชน วงศาวิทยา และการเมืองวัฒนธรรมของอาสาสมัครในประเทศไทย อาสาสมัครกับโรคอุบัติใหม่ และกลไกสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งใช้การศึกษาเชิงปริมาณเพื่อประเมินศักยภาพ ระบบสวัสดิการ และปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการทำงานของ อสม. ด้วย นอกจากนี้ ยังจัดทำกรณีศึกษางานอาสาสมัครสาธารณสุขที่น่าสนใจ 15 กรณีศึกษา เพื่อมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนางานอาสาสมัครสาธารณสุข ทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่การสังเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่น่าจะ เป็นทิศทางในอนาคตได้ข้อค้นพบจากการศึกษานี้มี 8 ประการ ได้แก่ (1) จากการที่แนวคิดและตัวแบบของปฏิบัติการเกี่ยวกับอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผลผลิตจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์การเมืองและสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและตัวแบบของปฏิบัติการเกี่ยวกับอาสาสมัครสาธารณสุขใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (2) อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่จำนวน 800,000 คน นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง แม้ว่า อสม.บางส่วนอาจมีปัญหาในการเข้ามาเป็นอาสาสมัครเพราะระบบพวกพ้องหรือต้องการสิทธิประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ แต่อาสาสมัครส่วนใหญ่ที่ได้รับเลือกมักเป็นผู้ที่ชุมชนเชื่อถือและไว้วางใจว่าจะอุทิศตนให้กับการทำงานเพื่อชุมชน (3) อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตอยู่ และมีผู้หญิงเข้ามาเป็นอาสาสมัครมากขึ้นถึงร้อยละ 70 ในขณะที่มากกว่าร้อยละ 35 ของอาสาสมัครเป็นคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเป็นอาสาสมัครได้ไม่เกิน 5 ปี (4) อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่มีความสามารถในการทำงานซึ่งเสร็จสิ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น การสำรวจรวบรวมข้อมูล การรณรงค์ป้องกันโรค แต่มีข้อจำกัดในการทำงานที่ต้องใช้เวลาต่อเนื่องยาวนานเช่น การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (5) อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่ส่วนใหญ่มาจากผู้ที่มีการศึกษาและมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่สูงนัก ซึ่งทำให้มีคำถามว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อให้สามารถระดมกลุ่มบุคคลที่มีคุณภาพและฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงกว่านี้เข้าสู่กระบวนการอาสาสมัครสาธารณสุขได้มากขึ้น (6) ระบบการสนับสนุนที่เปลี่ยนแปลงไปจากนโยบายการกระจายอำนาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้บริหารท้องถิ่น และบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข แม้ว่าจะมีพัฒนาการของกลไกการประสานงานในระดับต่างๆ เกิดขึ้น แต่อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนมีส่วนร่วมในกลไกการประสานงานในระดับที่สูงกว่าจังหวัดค่อนข้างน้อย (8) กรณีศึกษาต่างๆ ได้ชี้ให้เห็นนวัตกรรมและรูปแบบของอาสาสมัครในการพัฒนาสุขภาพที่หลากหลาย นับตั้งแต่ การเป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาลจนถึงการเป็นอาสาสมัครบรรเทาพิบัติภัย รูปธรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัครในสังคมไทยได้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง : การสังเคราะห์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาth_TH
dc.title.alternativeHealth Volunteers in the Context of Changes : Potentials and Development Strategiesen_US
dc.title.alternativeกรณีศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุข 16 กรณีth_TH
dc.title.alternativeรายงานผลการศึกษา เรื่อง การประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)กับบทบาทที่กำลังเปลี่ยนแปลง ในโครงการประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กับยุทธศาสตร์การพัฒนาth_TH
dc.title.alternativeเครื่องมือการวิจัย โครงการประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กับยุทธศาสตร์การพัฒนาth_TH
dc.title.alternativeบทความวิชาการในโครงการประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กับยุทธศาสตร์การพัฒนาth_TH
dc.title.alternativeผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการประเมินศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและยุทธศาสตร์การพัฒนา วันที่ 7 มีนาคม 2549 ณ กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeผลสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสังเคราะห์งานวิจัย วันที่ 5-6 กรกฏาคม 2549 กรุงเทพมหานครth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aims to assess the existing potentials of village health volunteers in Thailand in the context of changes. The research process involved the review of related situation both from relevant documents and from a technical workshop with experienced health workers. Commissioned papers were assigned to potential researchers in various areas of inquiry such as the changing situation in community health, the historical evolution of the concept of health volunteers in Thailand, community volunteer in the context of emerging diseases, as well as the review of supporting system for village heatlh volunteers. A quantitative study was also undertaken to identify existing performance, incentives, and obstacles of village health volunteers. In addition, in order to identify future potential of health volunteers, interesting volunteer works in related health fields were identified. 15 case studies were documented and used as input for the final synthesis of developmental strategies. Findings of the study can be summarized in an eight-point synopsis. (1) Concept and operational model of village health volunteer was the product of historical development. As health situation and political landscape has changed in the past few decades, there was a need to reconceptualize the idea of health volunteer; (2) Village health volunteers in Thailand numbered almost a total of 800,000. It was an extremely valuable health resource. Village health volunteers were mostly selected by local communities. Although the recruitment of a number of them was relatively problematic, village health volunteers were mostly well respected by local villagers. Volunteers were generally selected because local people knew them as ones who devoted to collective affair and people trusted them. (3) Existing system of village health volunteer in Thailand was still very much alive and has become increasingly famininized. More than 35% of existing volunteers were recruited in less than five years, while the number of female volunteers rosed to almost 70%. (4) Existing village health volunteers performed comparatively well on short-termed task such as ad hoc health survey, periodic collecting data, or disease prevention campaign. They did not fare well in the area of work that need long-term, continuing devotion, such as caring of chronically ill patients. (5) Existing volunteer workforce was recruited from comparatively low educational and economic background. This poses the question, how could higher quality of volunteer workforce with an economic status more prepared to dedicate be recruited? (6) The changing supporting system and decentralization has greatly affected the relationship between health volunteers, local administration, and the role of Ministry of Health. Although a coordination mechanism was recently created at various levels, local health volunteers have little participation above the district level. (7) Village health volunteer has been apparently politicized and become instrumental in local and national politics. (8) A number of case studies suggested an increasing innovative roles and forms of volunteers in health development, ranging from volunteers in hospital settings to diaster relief volunteers. This strongly indicated that the idea of volunteer has been progressively more accepted in Thai society. The followings are recommendation for future development of health volunteers. (1) The Ministry of Public Health needs to shift its role from being the possessor of health volunteers to the role of promoting the idea of health volunteers in various appearances. (2) Support the formation of health volunteers in every field of health activities. Each and every organization in public health should be encouraged to create and organize its own network of volunteer workforce, rather than depending solely on village health volunteers as the only form of people participation. (3) Creat more spaces for volunteer work in various public health offices by promoting health organizations to open up more opportunity for volunteer work in the organizations (4) Pluralize forms of health volunteers in local communities. The standard operational model of village health volunteers, while contributed greatly to last few decades’ health accomplishment, has reached its limit. (5) Encourage public health officers to work as volunteer themselves as a way to promote volunteer spirit in public health organization. (6) Develop self-governing mechanism to make health volunteer a nonpartisan organization.en_US
dc.identifier.callnoW21.5 ส691กป 2549en_US
dc.identifier.contactno49ค006en_US
dc.subject.keywordการประเมินen_US
dc.subject.keywordศักยภาพen_US
.custom.citationสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ and Komatra Chuengsatiansup. "ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง : การสังเคราะห์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2064">http://hdl.handle.net/11228/2064</a>.
.custom.total_download643
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1326.pdf
ขนาด: 4.721Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย