• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การติดตามประเมินผลโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ต และภาพรวมการข้ามเขตกับ คุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544-2545 (ครึ่งปี)

วิโรจน์ ณ ระนอง; Viroj Na Ranong;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
การศึกษาและติดตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ปทุมธานี สระบุรี ภูเก็ตและภาพรวมการข้ามเขตกับคุณภาพบริการของ 21 จังหวัดนำร่อง ปี 2544 - 2545 (ครึ่งปี) โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนจากการทดลองนำร่องเริ่มในจังหวัดต่างๆ แตกต่างกัน เช่น ปทุมธานี นำร่องตั้งแต่ เมษายน 2544 เชียงใหม่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สระบุรี และภูเก็ต เริ่มมิถุนายน 2544 ส่วนพิษณุโลกเริ่มพร้อมกับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2544 การติดตามประเมินผลในรายงานฉบับนี้ เน้นที่ระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อการประเมินผลโครงการ โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่บันทึกในระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ทั้งข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลการเงิน เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ในการประเมินผล พบว่า จังหวัดส่วนใหญ่ มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบมาก่อนโครงการ จังหวัดที่เลือกวิธีบริหารจัดการงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แยกส่วนระหว่างผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีแนวโน้มที่จะได้ข้อมูลการใช้บริการ (โดยเฉพาะบริการผู้ป่วยใน) ที่ครบถ้วนทั้งจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มีการพัฒนาการรับข้อมูลจากทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างชัดเจน โรงพยาบาลสระบุรีพัฒนาระบบข้อมูลในโรงพยาบาลและพยายามเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด รวมทั้งศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิษณุโลก สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารในระดับศูนย์สุขภาพชุมชน โดยทั้งหมด มีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาประเมินภาพรวมของโครงการได้ แต่ยังไม่รวดเร็วนัก การใช้ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับจังหวัด ยังเป็นไปเพื่อสนับสนุนการจ่ายเงิน จังหวัดที่บริหารจัดการงบประมาณแยกผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน จึงมีข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคลอย่างครบถ้วน (เฉพาะที่ใช้บริการภายในจังหวัด) แต่จังหวัดที่บริหารจัดการงบประมาณรวมผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน ให้ความสำคัญกับข้อมูลเฉพาะกรณีส่งต่อผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงขาดภาพรวมการใช้บริการสุขภาพของประชาชนทั้งจังหวัด โดยรวมแล้วจังหวัดต่างๆ ยังไม่ได้ใช้ข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินคุณภาพของบริการที่ให้กับประชาชน ข้อมูลการเงินของโครงการ มีเพียงโรงพยาบาลสระบุรีและโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ที่จัดทำรายงานการเงินในระบบพึงรับพึงจ่าย แต่ยังไม่สามารถแสดงอัตราคืนทุนที่ได้จากแต่ละหลักประกันสุขภาพได้อย่างชัดเจน เมื่อข้อมูลจากจังหวัดในเป้าหมายของการประเมินมีไม่ครบถ้วนนัก จึงใช้ฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น คือ การรับบริการผู้ป่วยในตามแฟ้มข้อมูลมาตรฐานของการประกันสุขภาพ จาก 21 จังหวัด เพื่อประเมินผลกระทบด้านคุณภาพบริการที่เกิดกับผู้ป่วย การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การข้ามเขตรับบริการของประชาชนมีมาก จังหวัดบริหารงบประมาณแยกผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน มีสัดส่วนการส่งต่อผู้ป่วยสูงขึ้นทั้งกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ส่วนภาพรวมของจังหวัดที่บริหารงบประมาณรวมผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน มีสัดส่วนการส่งต่อลดลง ผลกระทบที่เห็นชัดที่สุดคือกรณีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จังหวัดบริหารงบประมาณรวมมีแนวโน้มทำให้สัดส่วนผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลมีมากขึ้น ข้อเสนอแนะจากการประเมินผลครั้งนี้ ได้แก่ การให้หน่วยงานซื้อบริการสุขภาพแทนประชาชน เห็นความสำคัญของระบบข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และคำนึงถึงการประเมินเป้าหมายเชิงคุณภาพของระบบบริการ การพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0927.pdf
ขนาด: 2.273Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 150
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV